ทำเนียบรัฐบาล--11 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์การเก็บค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าซึ่งเป็นหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้เช่า ดังนี้
1. ระยะเวลาการให้เช่า กรณีที่หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า ซึ่งแต่เดิมทำสัญญาเช่าระยะสั้นปีต่อปีหรือระยะเวลาสามปี ให้กำหนดระยะเวลาการให้เช่าใหม่ เป็นสัญญาเช่าระยะยาวสูงสุดตามที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งในปัจจุบันคือ 30 ปี เพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าที่จะได้สิทธิในการใช้ที่ดินตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าสามารถวางแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินในระยะยาวให้สอดคล้องกับแผนงานของหน่วยงาน ส่วนการให้เช่าที่ดินแก่เอกชนนั้นระยะเวลาการให้เช่าจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และผู้เช่าเป็นราย ๆ ไป และในกรณีที่หน่วยงานผู้เช่าไม่สามารถเช่าตลอดสัญญาได้ ก็สามารถกำหนดในสัญญาให้หน่วยงานอื่นเข้ามาใช้สถานที่ต่อจนครบตามสัญญาได้
2. กำหนดค่าเช่ารายปีให้สัมพันธ์กับมูลค่าของที่ดินที่ให้เช่า โดยอิงราคาประเมินที่ดินของทางราชการเป็นฐานและกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้
2.1 กรณีหน่วยราชการเป็นผู้เช่า เดิมสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ขอกำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินทางราชการ แต่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า หากดำเนินการปรับค่าเช่าในคราวเดียวกันเช่นนั้น ก็จะเป็นภาระแก่เงินงบประมาณของประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้พิจารณาทบทวนการปรับปรุงค่าเช่าใหม่ โดยให้เริ่มต้นที่ร้อยละ 0.2 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไปทุกปีเป็นร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5 จนถึงร้อยละ 2.0 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 อย่างไรก็ดี ราคาประเมินของทางราชการที่นำมาคำนวณดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นราคาประเมินก่อนที่กรมที่ดินจะมีการปรับปรุงราคาประเมินใหม่ที่ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2543 เมื่อมีการปรับราคาประเมินที่ดินลงแล้ว โดยภาพรวมของประเทศเฉลี่ยแล้วจะลดลงจากเดิมประมาณร้อยละ 15 - 20 ภาระค่าเช่าก็จะลดลงอีก
2.2 กรณีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 3 ของราคาประเมินทางราชการ
2.3 กรณีเอกชนเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 4 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. การชำระค่าเช่า ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จ่ายค่าเช่าให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ล่วงหน้าทุกปีตลอดสัญญาเช่า
4. ให้ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างหน่วยราชการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปัจจุบันทั้งหมดทุกรายสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 30 กันยายน 2543 และจะทำสัญญาเช่ากันใหม่เมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 คือวันที่ 1 ตุลาคม 2543
5. หากส่วนราชการใดมีความประสงค์จะซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้มีการเจรจาภายหลังการทำสัญญาตามข้อ 4 ซึ่งเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2543 ไปแล้ว
6. การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หมายความถึง การเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าอาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าที่ดินและ/หรืออาคารในส่วนภูมิภาค แต่เกณฑ์การปรับปรุงค่าเช่าดังกล่าวจะใช้กับการเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อน และจะทำการปรับส่วนอื่น ๆ ในลำดับต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์การเก็บค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าซึ่งเป็นหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้เช่า ดังนี้
1. ระยะเวลาการให้เช่า กรณีที่หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า ซึ่งแต่เดิมทำสัญญาเช่าระยะสั้นปีต่อปีหรือระยะเวลาสามปี ให้กำหนดระยะเวลาการให้เช่าใหม่ เป็นสัญญาเช่าระยะยาวสูงสุดตามที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งในปัจจุบันคือ 30 ปี เพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าที่จะได้สิทธิในการใช้ที่ดินตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าสามารถวางแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินในระยะยาวให้สอดคล้องกับแผนงานของหน่วยงาน ส่วนการให้เช่าที่ดินแก่เอกชนนั้นระยะเวลาการให้เช่าจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และผู้เช่าเป็นราย ๆ ไป และในกรณีที่หน่วยงานผู้เช่าไม่สามารถเช่าตลอดสัญญาได้ ก็สามารถกำหนดในสัญญาให้หน่วยงานอื่นเข้ามาใช้สถานที่ต่อจนครบตามสัญญาได้
2. กำหนดค่าเช่ารายปีให้สัมพันธ์กับมูลค่าของที่ดินที่ให้เช่า โดยอิงราคาประเมินที่ดินของทางราชการเป็นฐานและกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้
2.1 กรณีหน่วยราชการเป็นผู้เช่า เดิมสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ขอกำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินทางราชการ แต่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า หากดำเนินการปรับค่าเช่าในคราวเดียวกันเช่นนั้น ก็จะเป็นภาระแก่เงินงบประมาณของประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้พิจารณาทบทวนการปรับปรุงค่าเช่าใหม่ โดยให้เริ่มต้นที่ร้อยละ 0.2 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไปทุกปีเป็นร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5 จนถึงร้อยละ 2.0 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 อย่างไรก็ดี ราคาประเมินของทางราชการที่นำมาคำนวณดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นราคาประเมินก่อนที่กรมที่ดินจะมีการปรับปรุงราคาประเมินใหม่ที่ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2543 เมื่อมีการปรับราคาประเมินที่ดินลงแล้ว โดยภาพรวมของประเทศเฉลี่ยแล้วจะลดลงจากเดิมประมาณร้อยละ 15 - 20 ภาระค่าเช่าก็จะลดลงอีก
2.2 กรณีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 3 ของราคาประเมินทางราชการ
2.3 กรณีเอกชนเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 4 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. การชำระค่าเช่า ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จ่ายค่าเช่าให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ล่วงหน้าทุกปีตลอดสัญญาเช่า
4. ให้ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างหน่วยราชการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปัจจุบันทั้งหมดทุกรายสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 30 กันยายน 2543 และจะทำสัญญาเช่ากันใหม่เมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 คือวันที่ 1 ตุลาคม 2543
5. หากส่วนราชการใดมีความประสงค์จะซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้มีการเจรจาภายหลังการทำสัญญาตามข้อ 4 ซึ่งเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2543 ไปแล้ว
6. การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หมายความถึง การเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าอาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าที่ดินและ/หรืออาคารในส่วนภูมิภาค แต่เกณฑ์การปรับปรุงค่าเช่าดังกล่าวจะใช้กับการเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อน และจะทำการปรับส่วนอื่น ๆ ในลำดับต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--