แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงคมนาคม
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ได้มีประเด็นอภิปรายว่า เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและสถาบันการบินนานาชาติเห็นว่าประเทศไทยมียางพารา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องบินได้หลายชนิด แต่การผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของอากาศยาน และต้องมีการตรวจสอบควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนก่อนได้รับใบสำคัญสมควรเดินอากาศ และขั้นตอนหลังจากได้รับใบสำคัญสมควรเดินอากาศ และได้เร่งรัดให้ประเทศไทยดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็ว ซึ่งการจะดำเนินการดังกล่าวได้ต้องมีกฎหมายรองรับ จึงต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศให้เหมาะสม และหากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วจะเป็นการขยายโอกาสด้านอุตสาหกรรมการบิน เช่น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยาน รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรโดยเฉพาะยางพารา ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเกษตร
ร่างพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตราต่าง ๆ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบสำคัญต้นแบบ ใบรับรองการผลิต ใบอนุญาตผลิต และใบรับรองความสมควรเดินอากาศ และแก้ไขการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบสำคัญสมควรเดินอากาศให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
2. กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกข้อกำหนดหรือคำสั่งความสมควรเดินอากาศ ออกใบสำคัญต้นแบบ ใบรับรองการผลิต ใบอนุญาตผลิต และการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของผู้ได้รับใบรับรองการผลิตหรือใบอนุญาตผลิตให้มีอำนาจออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศหรือใบรับรองความสมควรเดินอากาศที่ผลิต
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบสำคัญต้นแบบของอากาศยาน เครื่องยนต์ ใบพัดและบริภัณฑ์
4. กำหนดให้ผู้รับใบสำคัญต้นแบบสามารถโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้ตามวิธีการที่กำหนด
5. กำหนดให้ผู้ขอใบรับรองการผลิตอากาศยาน เครื่องยนต์และใบพัดต้องมีคุณสมบัติแลไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
6. กำหนดให้ผู้ขอใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
7. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบรับรองการผลิตและใบอนุญาตผลิตอากาศยาน เครื่องยนต์ ใบพัดและบริภัณฑ์
8. กำหนดให้อากาศยานที่ใช้ในการเดินอากาศต้องมีใบสำคัญสมควรเดินอากาศ และเพื่อกำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตให้ทำการบินเป็นการเฉพาะรายสำหรับอากาศยานที่ไม่สามารถออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศได้
9. กำหนดให้การขอและการออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศครอบคลุมยิ่งขึ้น รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบรับรองความสมควรเดินอากาศ
10. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของผู้ได้รับใบรับรองการผลิตหรือใบอนุญาตผลิตให้มีอำนาจออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศหรือใบรับรองความสมควรเดินอากาศที่ผลิต
11. กำหนดหลักเกณฑ์ในการคงความสมควรเดินอากาศของอากาศยานซึ่งมีใบสำคัญสมควรเดินอากาศแล้ว
12. กำหนดวิธีการจัดเก็บและนำส่งเงินค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินเพื่อเดินทางภายในประเทศและเดินทางไปต่างประเทศ
13. เพิ่มเติมบทกำหนดโทษเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เพิ่มเติมมีประสิทธิภาพ และมีผลในทางปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ได้มีประเด็นอภิปรายว่า เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและสถาบันการบินนานาชาติเห็นว่าประเทศไทยมียางพารา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องบินได้หลายชนิด แต่การผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของอากาศยาน และต้องมีการตรวจสอบควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนก่อนได้รับใบสำคัญสมควรเดินอากาศ และขั้นตอนหลังจากได้รับใบสำคัญสมควรเดินอากาศ และได้เร่งรัดให้ประเทศไทยดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็ว ซึ่งการจะดำเนินการดังกล่าวได้ต้องมีกฎหมายรองรับ จึงต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศให้เหมาะสม และหากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วจะเป็นการขยายโอกาสด้านอุตสาหกรรมการบิน เช่น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยาน รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรโดยเฉพาะยางพารา ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเกษตร
ร่างพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตราต่าง ๆ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบสำคัญต้นแบบ ใบรับรองการผลิต ใบอนุญาตผลิต และใบรับรองความสมควรเดินอากาศ และแก้ไขการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบสำคัญสมควรเดินอากาศให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
2. กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกข้อกำหนดหรือคำสั่งความสมควรเดินอากาศ ออกใบสำคัญต้นแบบ ใบรับรองการผลิต ใบอนุญาตผลิต และการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของผู้ได้รับใบรับรองการผลิตหรือใบอนุญาตผลิตให้มีอำนาจออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศหรือใบรับรองความสมควรเดินอากาศที่ผลิต
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบสำคัญต้นแบบของอากาศยาน เครื่องยนต์ ใบพัดและบริภัณฑ์
4. กำหนดให้ผู้รับใบสำคัญต้นแบบสามารถโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้ตามวิธีการที่กำหนด
5. กำหนดให้ผู้ขอใบรับรองการผลิตอากาศยาน เครื่องยนต์และใบพัดต้องมีคุณสมบัติแลไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
6. กำหนดให้ผู้ขอใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
7. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบรับรองการผลิตและใบอนุญาตผลิตอากาศยาน เครื่องยนต์ ใบพัดและบริภัณฑ์
8. กำหนดให้อากาศยานที่ใช้ในการเดินอากาศต้องมีใบสำคัญสมควรเดินอากาศ และเพื่อกำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตให้ทำการบินเป็นการเฉพาะรายสำหรับอากาศยานที่ไม่สามารถออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศได้
9. กำหนดให้การขอและการออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศครอบคลุมยิ่งขึ้น รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบรับรองความสมควรเดินอากาศ
10. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของผู้ได้รับใบรับรองการผลิตหรือใบอนุญาตผลิตให้มีอำนาจออกใบสำคัญสมควรเดินอากาศหรือใบรับรองความสมควรเดินอากาศที่ผลิต
11. กำหนดหลักเกณฑ์ในการคงความสมควรเดินอากาศของอากาศยานซึ่งมีใบสำคัญสมควรเดินอากาศแล้ว
12. กำหนดวิธีการจัดเก็บและนำส่งเงินค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินเพื่อเดินทางภายในประเทศและเดินทางไปต่างประเทศ
13. เพิ่มเติมบทกำหนดโทษเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เพิ่มเติมมีประสิทธิภาพ และมีผลในทางปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-