ทำเนียบรัฐบาล--7 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาโครงการและสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการและสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2543 - 2547 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.4088 ล้านบาท
2. เห็นชอบวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2543 วงเงินรวมทั้งสิ้น 8,100 ล้านบาท
3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ดังกล่าว ในข้อ 1 และ 2
ทั้งนี้ โครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ภายใต้ข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการซึ่งสอดคล้องกับแผนงานหลักในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 8 แผนงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว สำหรับโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในระยะที่ 2 จำนวน 55 โครงการ วงเงิน 2,770.8188 ล้านบาท ได้ผ่านหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ และให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดสรรเงิน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ต่อไป
โครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 จำนวนอีก 4 โครงการ คือ 1) โครงการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ Penaus Monodon Fab เพื่อผลิตลูกกุ้งพันธุ์ดีและการตรวจรับรองคุณภาพพันธุ์กุ้ง 2) โครงการฝึกอบรมเกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 3) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และ 4) โครงการพัฒนาการออกแบบในระบบคอมพิวเตอร์ วงเงินรวม 228.59 ล้านบาท และมีกิจกรรมในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับโครงการนำร่องภายใต้แผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิตของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง และ 2) โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย วงเงินรวม 1,289.6 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 ให้ความเห็นชอบแล้ว และคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปหารือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ในเรื่องเป้าหมาย วิธีการดำเนินงานผู้รับผิดชอบหลัก
สำหรับวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2543 จำนวน 8,100 ล้านบาท นั้น แยกออกเป็น บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) จำนวน 5,000 ล้านบาท บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) จำนวน 2,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จำนวน 1,100 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 อนุมัติแผนปฏิบัติการเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2541 - 2545) วงเงิน 1,192 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2541 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถ (กปพ.) ครั้งที่ 4/2541 ให้ใช้เงินกู้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ วงเงิน 122.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดำเนินโครงการระยะเร่งด่วน 24 โครงการ โดยเป็นเงินอุดหนุนการดำเนินงานของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ จำนวน 666.67 ล้านบาท และเป็นสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการผ่านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม จำนวนร้อยละ 85 หรือประมาณ 3,768 ล้านบาท ปัจจุบันการดำเนินโครงการได้คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 70 และเพื่อให้การดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นไปโดยต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,998.4088 ล้านบาท ซึ่งได้รับความเห็นชอบคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543
สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 มีดังนี้
1. แนวทางการวิเคราะห์ความสัมฤทธิ์ผลโครงการ
การวิเคราะห์ความสัมฤทธิผลของโครงการที่มีต่อแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจะพิจารณาถึงความสามารถในการแก้ปัญหาอุปสรรคของอุตสาหกรรมแต่ละสาขา ในประเด็นหลัก ๆ ซึ่งโครงการจะต้องแก้ปัญหาหรือเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลาย ๆ ข้อ ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
1) เป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม
2) โครงสร้างทางสถาบัน กฎหมาย กฎระเบียบ และประเพณีแนวทางปฏิบัติ
3) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
4) ปัจจัยการผลิตเรื่องการลงทุนและสินเชื่อ
5) ปัจจัยการผลิตเรื่องบุคลากรและแรงงาน
6) ปัจจัยการผลิตเรื่องวัตถุดิบ
7) เทคโนโลยีและเครื่องจักร
8) การจัดการและบริหาร
9) การกำจัดมลภาวะ
10) ผลิตภัณฑ์และการตลาด
11) การกระจายผลประโยชน์สู่ระบบเศรษฐกิจ
2. ผลการวิเคราะห์โครงการที่เสนอสามารถแก้ไขปัญหาในสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) สาขาอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์
2) สาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
3) สาขาอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
4) สาขาอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
5) สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว
6) สาขาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
7) สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
8) สาขาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
9) สาขาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
10) สาขาอุตสาหกรรมพลาสติก และปิโตรเคมี
11) อุตสาหกรรมที่มีโครงการครอบคลุมหลายสาขา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาโครงการและสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการและสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2543 - 2547 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.4088 ล้านบาท
2. เห็นชอบวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2543 วงเงินรวมทั้งสิ้น 8,100 ล้านบาท
3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ดังกล่าว ในข้อ 1 และ 2
ทั้งนี้ โครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ภายใต้ข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการซึ่งสอดคล้องกับแผนงานหลักในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 8 แผนงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว สำหรับโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในระยะที่ 2 จำนวน 55 โครงการ วงเงิน 2,770.8188 ล้านบาท ได้ผ่านหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ และให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดสรรเงิน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 ต่อไป
โครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 จำนวนอีก 4 โครงการ คือ 1) โครงการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ Penaus Monodon Fab เพื่อผลิตลูกกุ้งพันธุ์ดีและการตรวจรับรองคุณภาพพันธุ์กุ้ง 2) โครงการฝึกอบรมเกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 3) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และ 4) โครงการพัฒนาการออกแบบในระบบคอมพิวเตอร์ วงเงินรวม 228.59 ล้านบาท และมีกิจกรรมในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับโครงการนำร่องภายใต้แผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิตของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง และ 2) โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย วงเงินรวม 1,289.6 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 ให้ความเห็นชอบแล้ว และคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปหารือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ในเรื่องเป้าหมาย วิธีการดำเนินงานผู้รับผิดชอบหลัก
สำหรับวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2543 จำนวน 8,100 ล้านบาท นั้น แยกออกเป็น บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) จำนวน 5,000 ล้านบาท บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) จำนวน 2,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จำนวน 1,100 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 อนุมัติแผนปฏิบัติการเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2541 - 2545) วงเงิน 1,192 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2541 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถ (กปพ.) ครั้งที่ 4/2541 ให้ใช้เงินกู้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ วงเงิน 122.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดำเนินโครงการระยะเร่งด่วน 24 โครงการ โดยเป็นเงินอุดหนุนการดำเนินงานของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ จำนวน 666.67 ล้านบาท และเป็นสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการผ่านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม จำนวนร้อยละ 85 หรือประมาณ 3,768 ล้านบาท ปัจจุบันการดำเนินโครงการได้คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 70 และเพื่อให้การดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นไปโดยต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,998.4088 ล้านบาท ซึ่งได้รับความเห็นชอบคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543
สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 มีดังนี้
1. แนวทางการวิเคราะห์ความสัมฤทธิ์ผลโครงการ
การวิเคราะห์ความสัมฤทธิผลของโครงการที่มีต่อแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจะพิจารณาถึงความสามารถในการแก้ปัญหาอุปสรรคของอุตสาหกรรมแต่ละสาขา ในประเด็นหลัก ๆ ซึ่งโครงการจะต้องแก้ปัญหาหรือเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลาย ๆ ข้อ ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
1) เป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม
2) โครงสร้างทางสถาบัน กฎหมาย กฎระเบียบ และประเพณีแนวทางปฏิบัติ
3) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
4) ปัจจัยการผลิตเรื่องการลงทุนและสินเชื่อ
5) ปัจจัยการผลิตเรื่องบุคลากรและแรงงาน
6) ปัจจัยการผลิตเรื่องวัตถุดิบ
7) เทคโนโลยีและเครื่องจักร
8) การจัดการและบริหาร
9) การกำจัดมลภาวะ
10) ผลิตภัณฑ์และการตลาด
11) การกระจายผลประโยชน์สู่ระบบเศรษฐกิจ
2. ผลการวิเคราะห์โครงการที่เสนอสามารถแก้ไขปัญหาในสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) สาขาอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์
2) สาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
3) สาขาอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
4) สาขาอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
5) สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว
6) สาขาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
7) สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
8) สาขาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
9) สาขาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
10) สาขาอุตสาหกรรมพลาสติก และปิโตรเคมี
11) อุตสาหกรรมที่มีโครงการครอบคลุมหลายสาขา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 มีนาคม 2543--