ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 และรายงานผลการตรวจสอบเงินกู้ตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 ครั้งที่ 3 สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542
1.1 การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน หัวหน้าส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้รับการจัดสรรเงินกู้ตามมาตรการต้องให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพราะการใช้จ่ายเงินตามมาตรการนี้ไม่เพียงแต่จะต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบเท่านั้น ยังจะต้องคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญของมาตรการนี้คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจและการลดผลกระทบทางสังคมด้วย
1.2 ข้อร้องเรียนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส
- หน่วยงานระดับปฏิบัติที่มีข้อร้องเรียนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ และพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส ต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร่งด่วน
- หัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่รับผิดชอบงาน/โครงการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส ต้องติดตามและเร่งรัดให้หน่วยงานระดับปฏิบัติให้รีบดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร่งด่วน พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการให้ทราบด้วย
1.3 ผลการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ
1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่สามารถเรียกคืนได้
- กรณีที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้จ่ายค่าสินค้าและบริการซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ออกใบรับรองภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0 จะต้องเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
- กรณีที่ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าสินค้าและบริการ หน่วยงานต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลังที่ได้แจ้งให้ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทราบแล้วอย่างเคร่งครัด
- กรมสรรพากรควรประสานกับทุกหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินกู้ตามมาตรการนี้ เพื่อขอทราบข้อมูลการจ่ายเงินกู้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามผู้รับจ้างให้มายื่นชำระภาษีให้ถูกต้องต่อไป
2) การจ้างแรงงานผู้มีการศึกษาตามมาตรการนี้
- กระทรวงการคลังควรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการว่างงาน เพื่อเตรียมมาตรการรองรับผู้มีการศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นผู้ว่างงานภายหลังระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2543
- กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใดมีการลาออกของลูกจ้างตามมาตรการนี้ ให้รีบพิจารณาว่าจำเป็นต้องจ้างทดแทนหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องจ้างทดแทน ควรรีบดำเนินการจ้างเพื่อให้ผู้ว่างงานได้มีโอกาสได้ทำงาน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานและเร่งใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย
2. รายงานผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตามโครงการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 3 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
2.1 ความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงิน เพียงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 มีความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงิน สรุปได้ดังนี้
- สำนักงบประมาณได้อนุมัติวงเงินไปแล้วทั้งสิ้น 48,289.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.81 ของวงเงินทั้งหมด
- หน่วยงานต่าง ๆ เบิกเงินจากกรมบัญชีกลางและคลังจังหวัดไปแล้ว 36,850.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.77 ของเงินกู้ทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 76.31 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- หน่วยงานต่าง ๆ ได้ใช้จ่ายเงินออกไปถึงมือประชาชนจริงเพียงร้อยละ 66.08 ของวงเงินที่สำนักงบประมาณอนุมัติ และร้อยละ 95.12 ของวงเงินที่เบิกจากกรมบัญชีกลาง
- งาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้วแต่ยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินมีจำนวน 20 โครงการ วงเงิน944.59 ล้านบาท 2.2 ข้อร้องเรียนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส
เพียง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2542 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้รับข้อร้องเรียน จำนวน 194 เรื่อง และได้ดำเนินการตรวจสอบในรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว 87 เรื่อง พบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินงานไม่โปร่งใส 51 เรื่อง และยุติเรื่อง 36 เรื่อง โดยข้อร้องเรียนส่วนใหญ่เกิดขึ้นทางส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับปัญหาความไม่โปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุด รองลงมาเป็นปัญหาเกี่ยวกับการจ้างแรงงานที่ไม่ถูกต้อง การดำเนินงานที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นไปตามแบบหรือกิจกรรมที่กำหนด การซื้อสินค้าและบริการที่แพงกว่าราคาตลาดในท้องถิ่น เป็นต้น
ในจำนวน 51 เรื่องที่มีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินงานไม่โปร่งใสดังกล่าว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจเสร็จแล้ว 29 เรื่อง และเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด 282,147 บาท จำแนกกรณีความผิดได้ ดังนี้
- กรณีทุจริต จำนวน 3 เรื่อง เป็นเงิน 7,800 บาท ซึ่งได้แจ้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมายแล้ว
- กรณีเรียกเงินคืน จำนวน 10 เรื่อง เป็นเงิน 274,347 บาท
- กรณีปฏิบัติผิดระเบียบและอื่น ๆ จำนวน 16 เรื่อง
2.3 ผลการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ
1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 มีสัญญาหรือข้อตกลงที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้จ่ายเงินไปเต็มทั้งจำนวนโดยไม่ได้หักภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จำนวน 20,659 สัญญา หรือข้อตกลง คิดเป็นเงิน 228.47 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการคลังแจ้งเวียนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 สำหรับการใช้จ่ายเงินกู้ภายหลังที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว รวมทั้งได้มีการจ่ายเงินไปแล้วบางส่วน
2) ผลการจ้างแรงงานผู้มีการศึกษาตามมาตรการนี้ เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 มีการจ้างงานผู้มีการศึกษาไปแล้ว 69,892 คน คิดเป็นร้อยละ 89.98 ของเป้าหมายจำนวนคนที่กำหนดไว้ 77,677 คน แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับเป้าหมายจำนวนคน - เดือน (man - month) จะพบว่าจ้างงานไปได้เพียง 187,659 คน - เดือน คิดเป็นร้อยละ 27.05 ของเป้าหมาย 693,861 คน - เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 และรายงานผลการตรวจสอบเงินกู้ตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 ครั้งที่ 3 สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542
1.1 การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน หัวหน้าส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้รับการจัดสรรเงินกู้ตามมาตรการต้องให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพราะการใช้จ่ายเงินตามมาตรการนี้ไม่เพียงแต่จะต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบเท่านั้น ยังจะต้องคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญของมาตรการนี้คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจและการลดผลกระทบทางสังคมด้วย
1.2 ข้อร้องเรียนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส
- หน่วยงานระดับปฏิบัติที่มีข้อร้องเรียนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ และพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส ต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร่งด่วน
- หัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่รับผิดชอบงาน/โครงการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส ต้องติดตามและเร่งรัดให้หน่วยงานระดับปฏิบัติให้รีบดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร่งด่วน พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการให้ทราบด้วย
1.3 ผลการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ
1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่สามารถเรียกคืนได้
- กรณีที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้จ่ายค่าสินค้าและบริการซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ออกใบรับรองภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0 จะต้องเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
- กรณีที่ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าสินค้าและบริการ หน่วยงานต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลังที่ได้แจ้งให้ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทราบแล้วอย่างเคร่งครัด
- กรมสรรพากรควรประสานกับทุกหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินกู้ตามมาตรการนี้ เพื่อขอทราบข้อมูลการจ่ายเงินกู้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามผู้รับจ้างให้มายื่นชำระภาษีให้ถูกต้องต่อไป
2) การจ้างแรงงานผู้มีการศึกษาตามมาตรการนี้
- กระทรวงการคลังควรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการว่างงาน เพื่อเตรียมมาตรการรองรับผู้มีการศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นผู้ว่างงานภายหลังระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2543
- กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใดมีการลาออกของลูกจ้างตามมาตรการนี้ ให้รีบพิจารณาว่าจำเป็นต้องจ้างทดแทนหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องจ้างทดแทน ควรรีบดำเนินการจ้างเพื่อให้ผู้ว่างงานได้มีโอกาสได้ทำงาน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานและเร่งใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย
2. รายงานผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตามโครงการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 3 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
2.1 ความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงิน เพียงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 มีความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงิน สรุปได้ดังนี้
- สำนักงบประมาณได้อนุมัติวงเงินไปแล้วทั้งสิ้น 48,289.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.81 ของวงเงินทั้งหมด
- หน่วยงานต่าง ๆ เบิกเงินจากกรมบัญชีกลางและคลังจังหวัดไปแล้ว 36,850.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.77 ของเงินกู้ทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 76.31 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- หน่วยงานต่าง ๆ ได้ใช้จ่ายเงินออกไปถึงมือประชาชนจริงเพียงร้อยละ 66.08 ของวงเงินที่สำนักงบประมาณอนุมัติ และร้อยละ 95.12 ของวงเงินที่เบิกจากกรมบัญชีกลาง
- งาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้วแต่ยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินมีจำนวน 20 โครงการ วงเงิน944.59 ล้านบาท 2.2 ข้อร้องเรียนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินการไม่โปร่งใส
เพียง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2542 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้รับข้อร้องเรียน จำนวน 194 เรื่อง และได้ดำเนินการตรวจสอบในรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว 87 เรื่อง พบว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินงานไม่โปร่งใส 51 เรื่อง และยุติเรื่อง 36 เรื่อง โดยข้อร้องเรียนส่วนใหญ่เกิดขึ้นทางส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับปัญหาความไม่โปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุด รองลงมาเป็นปัญหาเกี่ยวกับการจ้างแรงงานที่ไม่ถูกต้อง การดำเนินงานที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นไปตามแบบหรือกิจกรรมที่กำหนด การซื้อสินค้าและบริการที่แพงกว่าราคาตลาดในท้องถิ่น เป็นต้น
ในจำนวน 51 เรื่องที่มีเหตุอันน่าเชื่อว่าการดำเนินงานไม่โปร่งใสดังกล่าว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจเสร็จแล้ว 29 เรื่อง และเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด 282,147 บาท จำแนกกรณีความผิดได้ ดังนี้
- กรณีทุจริต จำนวน 3 เรื่อง เป็นเงิน 7,800 บาท ซึ่งได้แจ้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมายแล้ว
- กรณีเรียกเงินคืน จำนวน 10 เรื่อง เป็นเงิน 274,347 บาท
- กรณีปฏิบัติผิดระเบียบและอื่น ๆ จำนวน 16 เรื่อง
2.3 ผลการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ
1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 มีสัญญาหรือข้อตกลงที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้จ่ายเงินไปเต็มทั้งจำนวนโดยไม่ได้หักภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จำนวน 20,659 สัญญา หรือข้อตกลง คิดเป็นเงิน 228.47 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการคลังแจ้งเวียนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 สำหรับการใช้จ่ายเงินกู้ภายหลังที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว รวมทั้งได้มีการจ่ายเงินไปแล้วบางส่วน
2) ผลการจ้างแรงงานผู้มีการศึกษาตามมาตรการนี้ เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 มีการจ้างงานผู้มีการศึกษาไปแล้ว 69,892 คน คิดเป็นร้อยละ 89.98 ของเป้าหมายจำนวนคนที่กำหนดไว้ 77,677 คน แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับเป้าหมายจำนวนคน - เดือน (man - month) จะพบว่าจ้างงานไปได้เพียง 187,659 คน - เดือน คิดเป็นร้อยละ 27.05 ของเป้าหมาย 693,861 คน - เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--