คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีการประชุมครั้งที่ 9/2544 เมื่อวันที่
24 กันยายน 2544 และได้พิจารณาแผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา
สำหรับมาตรการที่รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมี ดังนี้
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
1. น้ำมัน - เพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามกฎหมาย โดยน้ำมันดิบเพิ่มจากร้อยละ
3 เป็นร้อยละ 5 น้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5
และน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้าจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10
- รณรงค์ขอความร่วมมือจากหน่วยราชการและประชาชนให้ประหยัดน้ำมันและ
ไฟฟ้า
- ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
- สร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงาน
- เร่งรัดการหาแหล่งพลังงานทดแทน
2. การหาเงินตราต่างประเทศ
2.1 การส่งออก - ส่งเสริมการค้าในตลาดภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ออสเตรเลีย และตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น
- สนับสนุนและเร่งรัดการทำงานของคณะผู้แทนทางการค้าระหว่างประเทศ
- ใช้การตลาดเชิงรุกนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศโดยตรงผ่านโครงการ Thailand Plaza
- เร่งรัดระบบวิธีการชำระบัญชีของ Account Trade กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย
- เร่งจัดระบบบริหารจัดการของสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะการตัดราคาระหว่างผู้ส่งออก
ด้วยกันเอง การเจาะตลาด และเข้มงวดกับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการ
ขายสินค้าไปยังประเทศที่มีกฎระเบียบด้านสุขอนามัยเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป โดยเฉพาะสิ่ง
ปลอมปนในสินค้า ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพพจน์ของการส่งออกสินค้าไทย
- เร่งรัดโครงการนิยมสินค้าไทยที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง
2.2 การท่องเที่ยว ความปลอดภัย
- เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นเมืองพุทธ เป็นประเทศ
ที่มีความปลอดภัย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวให้ทั่วทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว
ว่าไทยเป็น Safety Destination
ผลิตภัณฑ์
- เร่งพัฒนากิจกรรมต่อเนื่องและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
- เน้นการท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่าง
(Differentiation) จากการท่องเที่ยวในสังคมทันสมัย
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มาตรการ
การตลาด
- เร่งทำการตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค (Regional Tour) ประเทศไทย และจัดระบบ
แหล่งท่องเที่ยวตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างแหล่งท่องเที่ยว
หลัก และแหล่งท่องเที่ยวรองในลักษณะที่เป็นวงจรการท่องเที่ยว (Loop) หรือเป็น
กลุ่มของแหล่งท่องเที่ยว (Cluster)
- เร่งทำการตลาดเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสูงอายุที่คาดว่าจะต้องการพำนัก
อยู่ในประเทศที่มีความปลอดภัยในระยะเวลาที่นานขึ้น (Long Stay)
3. การเงินการคลัง - เร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนงานและโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ 2545
ใน 4 ส่วนดังนี้ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ
2) งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 3) โครงการเงินกู้ต่างประเทศ 4) ค่าใช้จ่ายสำรอง
เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท
- ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพเพื่อรักษาความสามารถในการส่งออกและเอื้อ
อำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
4. กิจกรรมการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน - เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาคการผลิตรวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐาน
รากควบคู่กันไปภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่าง
มีคุณภาพและยั่งยืน
- เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า
- เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและก่อให้เกิดกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจโดยเร็ว ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน และ
ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ของ SMEs
- เร่งรัดโครงการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน (Retraining Program)
- ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้สูง และหาตลาดใหม่ ๆ ที่ไทยสามารถ
ส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เช่น จีน เป็นต้น
5. ราคาสินค้าเกษตร - กำหนดนโยบายราคาสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบในลักษณะบูรณาการ เพื่อให้มีความ
เป็นธรรมกับผู้ผลิต
- ร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทเดียวกันในการกำหนดราคาส่งออกที่
ให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ผลิตทุกประเทศ
6. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ - เร่งรัดการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ
ให้มีความพร้อมก่อนการกระจายหุ้นสู่สาธารณะ
7. การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับ ประชาชน - สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนถึงความพร้อมรับสถานการณ์ของรัฐบาล และการแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- สนับสนุนการทำงานด้านการข่าวให้มีประสิทธิภาพ
- เน้นการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีการประชุมครั้งที่ 9/2544 เมื่อวันที่
24 กันยายน 2544 และได้พิจารณาแผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา
สำหรับมาตรการที่รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมี ดังนี้
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
1. น้ำมัน - เพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามกฎหมาย โดยน้ำมันดิบเพิ่มจากร้อยละ
3 เป็นร้อยละ 5 น้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5
และน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้าจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10
- รณรงค์ขอความร่วมมือจากหน่วยราชการและประชาชนให้ประหยัดน้ำมันและ
ไฟฟ้า
- ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
- สร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงาน
- เร่งรัดการหาแหล่งพลังงานทดแทน
2. การหาเงินตราต่างประเทศ
2.1 การส่งออก - ส่งเสริมการค้าในตลาดภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ออสเตรเลีย และตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น
- สนับสนุนและเร่งรัดการทำงานของคณะผู้แทนทางการค้าระหว่างประเทศ
- ใช้การตลาดเชิงรุกนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศโดยตรงผ่านโครงการ Thailand Plaza
- เร่งรัดระบบวิธีการชำระบัญชีของ Account Trade กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย
- เร่งจัดระบบบริหารจัดการของสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะการตัดราคาระหว่างผู้ส่งออก
ด้วยกันเอง การเจาะตลาด และเข้มงวดกับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการ
ขายสินค้าไปยังประเทศที่มีกฎระเบียบด้านสุขอนามัยเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป โดยเฉพาะสิ่ง
ปลอมปนในสินค้า ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพพจน์ของการส่งออกสินค้าไทย
- เร่งรัดโครงการนิยมสินค้าไทยที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง
2.2 การท่องเที่ยว ความปลอดภัย
- เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นเมืองพุทธ เป็นประเทศ
ที่มีความปลอดภัย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวให้ทั่วทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว
ว่าไทยเป็น Safety Destination
ผลิตภัณฑ์
- เร่งพัฒนากิจกรรมต่อเนื่องและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
- เน้นการท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่าง
(Differentiation) จากการท่องเที่ยวในสังคมทันสมัย
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มาตรการ
การตลาด
- เร่งทำการตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค (Regional Tour) ประเทศไทย และจัดระบบ
แหล่งท่องเที่ยวตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างแหล่งท่องเที่ยว
หลัก และแหล่งท่องเที่ยวรองในลักษณะที่เป็นวงจรการท่องเที่ยว (Loop) หรือเป็น
กลุ่มของแหล่งท่องเที่ยว (Cluster)
- เร่งทำการตลาดเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสูงอายุที่คาดว่าจะต้องการพำนัก
อยู่ในประเทศที่มีความปลอดภัยในระยะเวลาที่นานขึ้น (Long Stay)
3. การเงินการคลัง - เร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนงานและโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ 2545
ใน 4 ส่วนดังนี้ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ
2) งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 3) โครงการเงินกู้ต่างประเทศ 4) ค่าใช้จ่ายสำรอง
เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท
- ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพเพื่อรักษาความสามารถในการส่งออกและเอื้อ
อำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
4. กิจกรรมการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน - เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาคการผลิตรวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐาน
รากควบคู่กันไปภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่าง
มีคุณภาพและยั่งยืน
- เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า
- เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและก่อให้เกิดกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจโดยเร็ว ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน และ
ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ของ SMEs
- เร่งรัดโครงการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน (Retraining Program)
- ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้สูง และหาตลาดใหม่ ๆ ที่ไทยสามารถ
ส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เช่น จีน เป็นต้น
5. ราคาสินค้าเกษตร - กำหนดนโยบายราคาสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบในลักษณะบูรณาการ เพื่อให้มีความ
เป็นธรรมกับผู้ผลิต
- ร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทเดียวกันในการกำหนดราคาส่งออกที่
ให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ผลิตทุกประเทศ
6. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ - เร่งรัดการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ
ให้มีความพร้อมก่อนการกระจายหุ้นสู่สาธารณะ
7. การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับ ประชาชน - สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนถึงความพร้อมรับสถานการณ์ของรัฐบาล และการแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- สนับสนุนการทำงานด้านการข่าวให้มีประสิทธิภาพ
- เน้นการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-