ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยโดยการเผาและผลิตกระแสไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร บริเวณอ่อนนุช 1 โรงงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง มติ ความเห็น และข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมไปดำเนินการด้วย
1. สนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยโดยการเผาและผลิตกระแสไฟฟ้า บริเวณอ่อนนุช 1 โรงงาน โดยการใช้เทคโนโลยีการจัดการมูลฝอยระบบผสมผสานเพื่อให้เกิดการนำมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ และลดปัญหาข้อจำกัดการจัดหาที่ดิน โดยให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับภาระการลงทุนโครงการฯ เองทั้งหมด ในวงเงินลงทุนรวม 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ต่างประเทศร้อยละ 75 หรือเท่ากับ 5,250 ล้านบาท และเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครสมทบอีกร้อยละ 25 หรือเท่ากับ 1,750 ล้านบาท สำหรับแหล่งเงินกู้นั้น ให้กรุงเทพมหานครประสานงานกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาแหล่งเงินกู้ตามความเหมาะสมต่อไป
2. ให้กรุงเทพมหานครนำหลักการผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายมาใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังในการดำเนินงานตามโครงการนี้ โดยรวมถึงการพิจารณานำหลักการดังกล่าวมาใช้กับโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย เช่น โครงการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นนโยบายพื้นฐานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องตามหลักการสากล ซึ่งจะสะท้อนให้เกิดผลโดยตรงต่อจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
3. เนื่องจากกรุงเทพมหานครยังมีแผนที่จะต้องมีศูนย์กำจัดมูลฝอยอีกหลายแห่ง กรุงเทพมหานครจึงควรเร่งศึกษาเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมไว้รองรับ โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างว่างเปล่าขนาดใหญ่ และการพิจารณาจัดหาพื้นที่ควรพิจารณาถึงพื้นที่ในปริมณฑลของกรุงเทพมหานครด้วย เนื่องจากหากมีการร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลแล้วอาจทำให้ได้สถานที่จัดตั้งศูนย์กำจัดมูลฝอยที่เหมาะสม มีต้นทุนในการกำจัดมูลฝอยต่อหน่วยต่ำลงและสามารถให้บริการครอบคลุมชุมชนในพื้นที่ปริมณฑลนั้น ๆ ด้วย
4. เพื่อให้โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ ให้กรุงเทพมหานครเร่งรัดดำเนินการตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
4.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่องและจริงจังในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนตระหนักยอมรับ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการมีส่วนร่วมตามหลักการผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนร่วมมือในการคัดแยกทิ้งขยะมูลฝอยให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งจัดทำโครงการปลูกฝังความรู้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการคัดแยกมูลฝอยแก่นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพ-มหานครและกระทรวงศึกษาธิการ
4.2 เนื่องจากโครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยและผลิตกระแสไฟฟ้าฯ ตามที่เสนอเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กรุงเทพมหานครจึงควรพิจารณาศึกษาทางเลือกในการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยพิจารณาความเหมาะสมที่จะให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการบริหารจัดการในอนาคต
4.3 เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงตลอดจนพิจารณาแนวทางและรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดการมูลฝอยจากผู้ผลิตสินค้า ซึ่งเป็นแหล่งต้นทางที่ก่อให้เกิดมูลฝอย เพื่อให้ผู้ผลิตมีส่วนร่วมรับภาระตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ จากสภาพข้อเท็จจริงประชาชนต้องจ่ายค่าจัดเก็บมูลฝอยสูงกว่าอัตราที่กำหนดตามกฎหมาย กรุงเทพมหานครจึงควรปรับปรุงระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
4.4 การจัดทำประชาพิจารณ์ที่กรุงเทพมหานครได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2542 เป็นการรับฟังความเห็นที่มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยยังมิได้นำเสนอถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ประชาชนจะต้องรับภาระมากขึ้นตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของโครงการ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว กรุงเทพมหานครจึงควรพิจารณาดำเนินการขยายผลอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับและพร้อมให้ความร่วมมือในการมีส่วนร่วมตามหลักการดังกล่าวอย่างเต็มที่
4.5 กรุงเทพมหานครต้องดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการฝังกลบมูลฝอยให้ถูกหลักสุขาภิบาล และเป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ และให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ฝังกลบให้ดีขึ้น
โครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณมูลฝอยที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ซึ่งระบบการกำจัดมูลฝอยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่อาจตอบสนองหรือรองรับกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ดินที่จะใช้ในการกำจัดมูลฝอยโดยการฝังกลบ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะหาได้ยากยิ่งขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครเนื่องจากที่ดินมีราคาแพง รวมทั้งใช้ผลประโยชน์จากผลพลอยได้ที่เกิดจากการกำจัดมูลฝอยในรูปของพลังงานทดแทนและลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากมลพิษของมูลฝอย
นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเป้าหมายจะก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยแบบผสมผสานขนาด 2,000 ตัน/วันประกอบด้วย 1) ระบบคัดแยกมูลฝอยขนาด 2,000 ตัน/วัน 2) ระบบเตามูลฝอยขนาด 1,350 ตัน/วัน พร้อมระบบผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 22.5 MW และ 3) ระบบหมักปุ๋ยอินทรีย์ขนาด 800 ตัน/วัน โดยมีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาทกรุงเทพมหานครรับภาระการลงทุนทั้งหมด โดยจะใช้จากแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) จำนวน 5,250 ล้านบาท หรือร้อยละ 75 ของวงเงินลงทุนและจะใช้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร1,750 ล้านบาท หรือร้อยละ 25 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2543 - 2547) ประกอบด้วยระบบเตาเผามูลฝอย 5,035 ล้านบาท ระบบคัดแยกและหมักมูลฝอย 1,300 ล้านบาท ค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 461 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 204 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยโดยการเผาและผลิตกระแสไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร บริเวณอ่อนนุช 1 โรงงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง มติ ความเห็น และข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมไปดำเนินการด้วย
1. สนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยโดยการเผาและผลิตกระแสไฟฟ้า บริเวณอ่อนนุช 1 โรงงาน โดยการใช้เทคโนโลยีการจัดการมูลฝอยระบบผสมผสานเพื่อให้เกิดการนำมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ และลดปัญหาข้อจำกัดการจัดหาที่ดิน โดยให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับภาระการลงทุนโครงการฯ เองทั้งหมด ในวงเงินลงทุนรวม 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ต่างประเทศร้อยละ 75 หรือเท่ากับ 5,250 ล้านบาท และเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครสมทบอีกร้อยละ 25 หรือเท่ากับ 1,750 ล้านบาท สำหรับแหล่งเงินกู้นั้น ให้กรุงเทพมหานครประสานงานกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาแหล่งเงินกู้ตามความเหมาะสมต่อไป
2. ให้กรุงเทพมหานครนำหลักการผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายมาใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังในการดำเนินงานตามโครงการนี้ โดยรวมถึงการพิจารณานำหลักการดังกล่าวมาใช้กับโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย เช่น โครงการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นนโยบายพื้นฐานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องตามหลักการสากล ซึ่งจะสะท้อนให้เกิดผลโดยตรงต่อจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
3. เนื่องจากกรุงเทพมหานครยังมีแผนที่จะต้องมีศูนย์กำจัดมูลฝอยอีกหลายแห่ง กรุงเทพมหานครจึงควรเร่งศึกษาเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมไว้รองรับ โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างว่างเปล่าขนาดใหญ่ และการพิจารณาจัดหาพื้นที่ควรพิจารณาถึงพื้นที่ในปริมณฑลของกรุงเทพมหานครด้วย เนื่องจากหากมีการร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลแล้วอาจทำให้ได้สถานที่จัดตั้งศูนย์กำจัดมูลฝอยที่เหมาะสม มีต้นทุนในการกำจัดมูลฝอยต่อหน่วยต่ำลงและสามารถให้บริการครอบคลุมชุมชนในพื้นที่ปริมณฑลนั้น ๆ ด้วย
4. เพื่อให้โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ ให้กรุงเทพมหานครเร่งรัดดำเนินการตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
4.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่องและจริงจังในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนตระหนักยอมรับ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการมีส่วนร่วมตามหลักการผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนร่วมมือในการคัดแยกทิ้งขยะมูลฝอยให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งจัดทำโครงการปลูกฝังความรู้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการคัดแยกมูลฝอยแก่นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพ-มหานครและกระทรวงศึกษาธิการ
4.2 เนื่องจากโครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยและผลิตกระแสไฟฟ้าฯ ตามที่เสนอเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กรุงเทพมหานครจึงควรพิจารณาศึกษาทางเลือกในการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยพิจารณาความเหมาะสมที่จะให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการบริหารจัดการในอนาคต
4.3 เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงตลอดจนพิจารณาแนวทางและรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดการมูลฝอยจากผู้ผลิตสินค้า ซึ่งเป็นแหล่งต้นทางที่ก่อให้เกิดมูลฝอย เพื่อให้ผู้ผลิตมีส่วนร่วมรับภาระตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ จากสภาพข้อเท็จจริงประชาชนต้องจ่ายค่าจัดเก็บมูลฝอยสูงกว่าอัตราที่กำหนดตามกฎหมาย กรุงเทพมหานครจึงควรปรับปรุงระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
4.4 การจัดทำประชาพิจารณ์ที่กรุงเทพมหานครได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2542 เป็นการรับฟังความเห็นที่มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยยังมิได้นำเสนอถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ประชาชนจะต้องรับภาระมากขึ้นตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของโครงการ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว กรุงเทพมหานครจึงควรพิจารณาดำเนินการขยายผลอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับและพร้อมให้ความร่วมมือในการมีส่วนร่วมตามหลักการดังกล่าวอย่างเต็มที่
4.5 กรุงเทพมหานครต้องดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการฝังกลบมูลฝอยให้ถูกหลักสุขาภิบาล และเป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ และให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ฝังกลบให้ดีขึ้น
โครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณมูลฝอยที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ซึ่งระบบการกำจัดมูลฝอยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่อาจตอบสนองหรือรองรับกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ดินที่จะใช้ในการกำจัดมูลฝอยโดยการฝังกลบ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะหาได้ยากยิ่งขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครเนื่องจากที่ดินมีราคาแพง รวมทั้งใช้ผลประโยชน์จากผลพลอยได้ที่เกิดจากการกำจัดมูลฝอยในรูปของพลังงานทดแทนและลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากมลพิษของมูลฝอย
นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเป้าหมายจะก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยแบบผสมผสานขนาด 2,000 ตัน/วันประกอบด้วย 1) ระบบคัดแยกมูลฝอยขนาด 2,000 ตัน/วัน 2) ระบบเตามูลฝอยขนาด 1,350 ตัน/วัน พร้อมระบบผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 22.5 MW และ 3) ระบบหมักปุ๋ยอินทรีย์ขนาด 800 ตัน/วัน โดยมีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาทกรุงเทพมหานครรับภาระการลงทุนทั้งหมด โดยจะใช้จากแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) จำนวน 5,250 ล้านบาท หรือร้อยละ 75 ของวงเงินลงทุนและจะใช้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร1,750 ล้านบาท หรือร้อยละ 25 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2543 - 2547) ประกอบด้วยระบบเตาเผามูลฝอย 5,035 ล้านบาท ระบบคัดแยกและหมักมูลฝอย 1,300 ล้านบาท ค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 461 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 204 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-