คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในสหรัฐอเมริกาต่อภาคการเกษตรของไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้ว โดยมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามวิเคราะห์สถานการณ์และรายงานให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การขยายตัวการส่งออกของไทยในปี 2544 คาดว่าจะลดลงในอัตราร้อยละ 4 - 5 จากปีที่ผ่านมาส่งผลให้ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมลดลงเหรือประมาณร้อยละ 1.5 - 2.0 ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 1.5 และ -3.5 ตามลำดับ จากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันอังคารที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมา คาดกันว่าจะส่งผลกระทบทำให้โอกาสการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกายากมากขึ้น และจะส่งผลกระทบลูกโซ่ต่อโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักของสินค้าส่งออกจากไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอข้อเท็จจริงและผลการวิเคราะห์ผลกระทบภายใต้วิกฤตการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาดังกล่าวต่อภาคเกษตรไทยโดยเน้นผลกระทบต่อการส่งออก
2. สถานการณ์การค้าและภาพรวมการส่งออก - นำเข้าสินค้าเกษตรไทยในสหรัฐอเมริกา
2.1 การส่งออก
1) สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักอันดับ 1 ของสินค้าเกษตรส่งออกจากไทย มูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น127,842 ล้านบาท ในปี 2543 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.6 ของมูลค่าส่งออกรวมสินค้าเกษตรของไทย
2) สินค้าเกษตรและอาหารส่งออกที่สำคัญและมีส่วนแบ่งการตลาดสูงในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ข้าว กุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งปรุงแต่ง สับปะรดกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ ซึ่งในช่วงระหว่างปี2540 - 2543 มูลค่าส่งออกรวมขยายตัวในอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 15.65 ต่อปี
2.2 การนำเข้า
1) มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรไทยจากสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากประมาณ 35,865 ล้านบาท ในปี 2542 เป็น 41,638 ล้านบาท ในปี 2543 และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 (มกราคม - กรกฎาคม) มีมูลค่านำเข้ารวมประมาณ 26,914 ล้านบาท
2) สินค้าเกษตรที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา มูลค่าสูง 5 อันดับแรก ในปี 2544 ได้แก่ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง ฝ้าย ข้าวเมสลิน หนังโคดิบ และอาหารใช้ในการเลี้ยงสัตว์
2.3 ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าเกษตรไทย
สินค้าเกษตรส่งออกของไทยหลายชนิดมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ข้าว(ข้าวเจ้าขาว 100% และข้าวเหนียว 10%) มีส่วนแบ่งการตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.5 ในปี 2542 กุ้งปรุงแต่งร้อยละ 70 น้ำสับปะรดบรรจุภาชนะอัดลม ร้อยละ 41.9 ปลาทูน่าบรรจุภาชนะอัดลมร้อยละ 50 และยางพาราร้อยละ 20
3. ผลกระทบต่อภาคการเกษตรไทย
การวิเคราะห์ผลกระทบพิจารณาจากปัจจัย 3 เรื่อง คือ ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มการส่งออก - นำเข้า ดังนี้
3.1 การส่งออกสินค้าเกษตร
ผลการวิเคราะห์พบว่า แม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาลดลงจากร้อยละ 4.2ในปี 2542 เป็นร้อยละ 3.3 ในปี 2543 แต่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐยังเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 2,764 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นประมาณ 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 (มกราคม - กรกฎาคม) ที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังคงชะลอตัว แต่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยยังคงสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปี 2543 ร้อยละ 13.68 จึงคาดการณ์ได้ว่าการเกิดวิกฤตวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกานี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบทางลบโดยรวมต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปสหรัฐอเมริกาเพราะสินค้าเกษตรที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารจำเป็นแก่การบริโภคของคนอเมริกัน และมีส่วนแบ่งการตลาดสูง
ผลการวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรไทยเป็นรายสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางบวกและทางลบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว สรุปดังนี้
1) กลุ่มสินค้าเกษตรสำคัญที่คาดว่าส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
(1) ข้าว เนื่องจากคาดว่าสหรัฐอเมริกายังคงมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเพราะเป็นสินค้าประเภทจำเป็นต่อการบริโภคอุปโภคและราคาไม่สูง
(2) ยางและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นที่ต้องใช้ในยุทธปัจจัย และเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น
(3) ปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากคาดว่าสหรัฐอเมริกาจะมีการบริโภคและสำรองเพื่อใช้เป็นอาหารในประเทศเพิ่มขึ้น
2) กลุ่มสินค้าเกษตรสำคัญที่คาดว่าส่งออกลดลง ส่วนใหญ่น่าจะเป็นสินค้าอาหารประเภทกลุ่มที่มีราคาสูง ซึ่งภายใต้วิกฤตการณ์ก่อวินาศกรรม ประกอบกับภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาส่งผลต่อการลดลงของรายได้และการจ้างงานของคนอเมริกัน คาดว่าจะส่งผลให้การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูงบางรายการลดลง เช่นกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และกุ้งปรุงแต่ง และสับปะรดกระป๋อง
3.2 ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร
1) สินค้านำเข้าที่สำคัญจากสหรัฐอเมริกา เช่น ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง อาหารปรุงแต่งที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืชจะมีมูลค่านำเข้าในรูปเงินบาทลดลง เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าถูกลง เป็นผลมาจากการแข็งตัวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท อย่างไรก็ตามการนำเข้าวัตถุดิบและเคมีภัณฑ์เกษตรจากสหรัฐอเมริกาอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากภาวะวิกฤตการณ์ดังกล่าวหากเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน
2) ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรบางชนิดอาจเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบนำเข้าที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้น้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตจำนวนมาก
หากราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นร้อยละ 5 (จาก 14.00 บาท/ลิตร เป็น 14.70 บาท/ลิตร) จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตการเกษตรโดยเฉลี่ย (พืชและสัตว์) ประมาณร้อยละ 0.50 - 0.65
- ข้าว ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.49 มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน
- พืชไร่ ต้นทุนเพิ่มร้อยละ 0.49 มีครัวเรือนประมาณ 0.74 ล้านครัวเรือน
- กุ้งกุลาดำ (เพาะเลี้ยง) ต้นทุนเพิ่มร้อยละ 0.64 มีครัวเรือนประมาณ 0.023 ล้านครัวเรือน
- สำหรับกิจการทำประมงทะเล ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นค่าน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ก็จะเป็นต้นทุนเกือบทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-
1. การขยายตัวการส่งออกของไทยในปี 2544 คาดว่าจะลดลงในอัตราร้อยละ 4 - 5 จากปีที่ผ่านมาส่งผลให้ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมลดลงเหรือประมาณร้อยละ 1.5 - 2.0 ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 1.5 และ -3.5 ตามลำดับ จากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันอังคารที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมา คาดกันว่าจะส่งผลกระทบทำให้โอกาสการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกายากมากขึ้น และจะส่งผลกระทบลูกโซ่ต่อโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักของสินค้าส่งออกจากไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอข้อเท็จจริงและผลการวิเคราะห์ผลกระทบภายใต้วิกฤตการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาดังกล่าวต่อภาคเกษตรไทยโดยเน้นผลกระทบต่อการส่งออก
2. สถานการณ์การค้าและภาพรวมการส่งออก - นำเข้าสินค้าเกษตรไทยในสหรัฐอเมริกา
2.1 การส่งออก
1) สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักอันดับ 1 ของสินค้าเกษตรส่งออกจากไทย มูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น127,842 ล้านบาท ในปี 2543 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.6 ของมูลค่าส่งออกรวมสินค้าเกษตรของไทย
2) สินค้าเกษตรและอาหารส่งออกที่สำคัญและมีส่วนแบ่งการตลาดสูงในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ข้าว กุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งปรุงแต่ง สับปะรดกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ ซึ่งในช่วงระหว่างปี2540 - 2543 มูลค่าส่งออกรวมขยายตัวในอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 15.65 ต่อปี
2.2 การนำเข้า
1) มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรไทยจากสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากประมาณ 35,865 ล้านบาท ในปี 2542 เป็น 41,638 ล้านบาท ในปี 2543 และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 (มกราคม - กรกฎาคม) มีมูลค่านำเข้ารวมประมาณ 26,914 ล้านบาท
2) สินค้าเกษตรที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา มูลค่าสูง 5 อันดับแรก ในปี 2544 ได้แก่ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง ฝ้าย ข้าวเมสลิน หนังโคดิบ และอาหารใช้ในการเลี้ยงสัตว์
2.3 ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าเกษตรไทย
สินค้าเกษตรส่งออกของไทยหลายชนิดมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ข้าว(ข้าวเจ้าขาว 100% และข้าวเหนียว 10%) มีส่วนแบ่งการตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.5 ในปี 2542 กุ้งปรุงแต่งร้อยละ 70 น้ำสับปะรดบรรจุภาชนะอัดลม ร้อยละ 41.9 ปลาทูน่าบรรจุภาชนะอัดลมร้อยละ 50 และยางพาราร้อยละ 20
3. ผลกระทบต่อภาคการเกษตรไทย
การวิเคราะห์ผลกระทบพิจารณาจากปัจจัย 3 เรื่อง คือ ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มการส่งออก - นำเข้า ดังนี้
3.1 การส่งออกสินค้าเกษตร
ผลการวิเคราะห์พบว่า แม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาลดลงจากร้อยละ 4.2ในปี 2542 เป็นร้อยละ 3.3 ในปี 2543 แต่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐยังเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 2,764 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นประมาณ 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 (มกราคม - กรกฎาคม) ที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังคงชะลอตัว แต่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยยังคงสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปี 2543 ร้อยละ 13.68 จึงคาดการณ์ได้ว่าการเกิดวิกฤตวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกานี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบทางลบโดยรวมต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปสหรัฐอเมริกาเพราะสินค้าเกษตรที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารจำเป็นแก่การบริโภคของคนอเมริกัน และมีส่วนแบ่งการตลาดสูง
ผลการวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรไทยเป็นรายสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางบวกและทางลบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว สรุปดังนี้
1) กลุ่มสินค้าเกษตรสำคัญที่คาดว่าส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
(1) ข้าว เนื่องจากคาดว่าสหรัฐอเมริกายังคงมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเพราะเป็นสินค้าประเภทจำเป็นต่อการบริโภคอุปโภคและราคาไม่สูง
(2) ยางและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นที่ต้องใช้ในยุทธปัจจัย และเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น
(3) ปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากคาดว่าสหรัฐอเมริกาจะมีการบริโภคและสำรองเพื่อใช้เป็นอาหารในประเทศเพิ่มขึ้น
2) กลุ่มสินค้าเกษตรสำคัญที่คาดว่าส่งออกลดลง ส่วนใหญ่น่าจะเป็นสินค้าอาหารประเภทกลุ่มที่มีราคาสูง ซึ่งภายใต้วิกฤตการณ์ก่อวินาศกรรม ประกอบกับภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาส่งผลต่อการลดลงของรายได้และการจ้างงานของคนอเมริกัน คาดว่าจะส่งผลให้การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูงบางรายการลดลง เช่นกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และกุ้งปรุงแต่ง และสับปะรดกระป๋อง
3.2 ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร
1) สินค้านำเข้าที่สำคัญจากสหรัฐอเมริกา เช่น ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง อาหารปรุงแต่งที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืชจะมีมูลค่านำเข้าในรูปเงินบาทลดลง เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าถูกลง เป็นผลมาจากการแข็งตัวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท อย่างไรก็ตามการนำเข้าวัตถุดิบและเคมีภัณฑ์เกษตรจากสหรัฐอเมริกาอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากภาวะวิกฤตการณ์ดังกล่าวหากเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน
2) ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรบางชนิดอาจเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบนำเข้าที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้น้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตจำนวนมาก
หากราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นร้อยละ 5 (จาก 14.00 บาท/ลิตร เป็น 14.70 บาท/ลิตร) จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตการเกษตรโดยเฉลี่ย (พืชและสัตว์) ประมาณร้อยละ 0.50 - 0.65
- ข้าว ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.49 มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน
- พืชไร่ ต้นทุนเพิ่มร้อยละ 0.49 มีครัวเรือนประมาณ 0.74 ล้านครัวเรือน
- กุ้งกุลาดำ (เพาะเลี้ยง) ต้นทุนเพิ่มร้อยละ 0.64 มีครัวเรือนประมาณ 0.023 ล้านครัวเรือน
- สำหรับกิจการทำประมงทะเล ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นค่าน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ก็จะเป็นต้นทุนเกือบทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-