แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน (พ.ศ.2545 - 2547) ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ เพื่อให้ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานในบริเวณพื้นที่ชายแดน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งมีสาระสำคัญ 4 ส่วนคือ
1. ความสำคัญของพื้นที่ชายแดน สภาพปัญหาในบริเวณพื้นที่ชายแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งจุดอ่อนของบริเวณพื้นที่ชายแดนของไทย ที่มีทั้งการขาดความเอาใจใส่ดูแลอย่างจริงจังมาตั้งแต่ในอดีตและปัญหาในด้านการบริหารจัดการที่ขาดความเป็นเอกภาพ ส่งผลให้ปัญหาต่าง ๆ บริเวณชายแดนขยายความรุนแรงออกไป และเป็นช่องทางให้ปัญหาจากประเทศเพื่อนบ้านกระจายลึกเข้ามาภายในประเทศ ทำให้การแก้ไขปัญหายากยิ่งขึ้นและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไข
2. กรอบความคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ มีเอกภาพ ประสิทธิภาพ และมีดุลยภาพ
3. วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการพัฒนาในบริเวณพื้นที่ชายแดนสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เอกภาพ และมีความสมดุลในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของทุกด้าน 2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนและชุมชนชายแดนให้มีความเข้มแข็ง มีจิตสำนึกด้านความมั่นคง และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และ 3) เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความเข้มแข็ง และการพัฒนาร่วมกันในพื้นที่บริเวณชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
4. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน และพื้นที่เป้าหมายชายแดน 2) ยุทธศาสตร์การผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และ 4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
1. ความสำคัญของพื้นที่ชายแดน สภาพปัญหาในบริเวณพื้นที่ชายแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งจุดอ่อนของบริเวณพื้นที่ชายแดนของไทย ที่มีทั้งการขาดความเอาใจใส่ดูแลอย่างจริงจังมาตั้งแต่ในอดีตและปัญหาในด้านการบริหารจัดการที่ขาดความเป็นเอกภาพ ส่งผลให้ปัญหาต่าง ๆ บริเวณชายแดนขยายความรุนแรงออกไป และเป็นช่องทางให้ปัญหาจากประเทศเพื่อนบ้านกระจายลึกเข้ามาภายในประเทศ ทำให้การแก้ไขปัญหายากยิ่งขึ้นและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไข
2. กรอบความคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ มีเอกภาพ ประสิทธิภาพ และมีดุลยภาพ
3. วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการพัฒนาในบริเวณพื้นที่ชายแดนสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เอกภาพ และมีความสมดุลในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของทุกด้าน 2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนและชุมชนชายแดนให้มีความเข้มแข็ง มีจิตสำนึกด้านความมั่นคง และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และ 3) เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความเข้มแข็ง และการพัฒนาร่วมกันในพื้นที่บริเวณชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
4. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน และพื้นที่เป้าหมายชายแดน 2) ยุทธศาสตร์การผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และ 4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-