ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ประกอบด้วยวงเงินกู้ไม่เกิน 105,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามอัตราตลาดและอายุตราสารไม่เกิน 20 ปี
2. ในการกู้เงินแต่ละครั้ง ให้กระทรวงการคลังกำหนดวิธีการกู้ วงเงินกู้ และตราสารเงินกู้ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเงื่อนไขรายละเอียดของตราสารเงินกู้ภายใต้หลักการตามข้อ 1. ได้ตามความจำเป็น โดยไม่ต้องขออนุมัติอีก ทั้งนี้เมื่อกระทรวงการคลังดำเนินการเสร็จแล้วให้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยมีวงเงินงบประมาณจำนวน 910,000 ล้านบาท ประมาณการรายได้จำนวน 805,000 ล้านบาท และกำหนดแผนการกู้เงินจำนวน 105,000 ล้านบาท นั้น ตามาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดว่า "เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้ว หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วไปพลางก่อน ตามมาตรา 16 ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม การกู้เงินตามมาตรานี้ในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน
1. ร้อยละยี่สิบของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แล้วแต่กรณีกับอีก
2. ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้
การกู้เงินตามวรรคหนึ่งจะใช้วิธีการออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น ๆ หรือทำสัญญากู้ก็ได้
การออกตั๋วเงินคลังให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินคลัง แต่การออกพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารอื่นหรือการทำสัญญากู้เงิน ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน…… ฯลฯ" ซึ่งวงเงินกู้สูงสุดที่กระทรวงการคลังจะกู้ได้ตามขอบเขตของกฎหมายเป็นวงเงินทั้งสิ้น 191,708.2 ล้านบาท
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากคาดว่าฐานะการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จะขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยรายรับจากเงินกู้เพื่อช่วยพยุงฐานะเงินคงคลัง นับตั้งแต่ต้นไตรมาส 1 เป็นต้นไป กระทรวงการคลังจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการกู้เงินภายใต้กรอบของงบประมาณขาดดุลโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ประกอบด้วยวงเงินกู้ไม่เกิน 105,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามอัตราตลาดและอายุตราสารไม่เกิน 20 ปี
2. ในการกู้เงินแต่ละครั้ง ให้กระทรวงการคลังกำหนดวิธีการกู้ วงเงินกู้ และตราสารเงินกู้ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเงื่อนไขรายละเอียดของตราสารเงินกู้ภายใต้หลักการตามข้อ 1. ได้ตามความจำเป็น โดยไม่ต้องขออนุมัติอีก ทั้งนี้เมื่อกระทรวงการคลังดำเนินการเสร็จแล้วให้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยมีวงเงินงบประมาณจำนวน 910,000 ล้านบาท ประมาณการรายได้จำนวน 805,000 ล้านบาท และกำหนดแผนการกู้เงินจำนวน 105,000 ล้านบาท นั้น ตามาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดว่า "เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้ว หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วไปพลางก่อน ตามมาตรา 16 ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม การกู้เงินตามมาตรานี้ในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน
1. ร้อยละยี่สิบของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แล้วแต่กรณีกับอีก
2. ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้
การกู้เงินตามวรรคหนึ่งจะใช้วิธีการออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น ๆ หรือทำสัญญากู้ก็ได้
การออกตั๋วเงินคลังให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินคลัง แต่การออกพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารอื่นหรือการทำสัญญากู้เงิน ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน…… ฯลฯ" ซึ่งวงเงินกู้สูงสุดที่กระทรวงการคลังจะกู้ได้ตามขอบเขตของกฎหมายเป็นวงเงินทั้งสิ้น 191,708.2 ล้านบาท
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากคาดว่าฐานะการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จะขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยรายรับจากเงินกู้เพื่อช่วยพยุงฐานะเงินคงคลัง นับตั้งแต่ต้นไตรมาส 1 เป็นต้นไป กระทรวงการคลังจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการกู้เงินภายใต้กรอบของงบประมาณขาดดุลโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-