คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เรื่องร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากการประชุมครั้งที่ 10/2544 วันที่ 20 มิถุนายน 2544 และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังแจ้งว่าได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และเห็นสมควรให้มีการออกพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการจัดตั้งตลาดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ระบบการเงินมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นตลาดที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการผันผวนของราคาและต้นทุนของตราสารการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และราคาหุ้นฯลฯ เมื่อมีการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าขึ้นแล้วจะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมสินค้าในตลาดทุนซึ่งเป็นสินค้าอ้างอิงและเป็นการทำให้ตลาดทุนโดยรวมมีความน่าจูงใจและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดนิยามความหมายของ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบการ ธุรกรรมที่มีในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นธุรกิจใหม่จึงต้องมีการกำหนดนิยามความหมายที่เกี่ยวข้อง
1.2 กำหนดหน้าที่ อำนาจการกำกับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยให้คณะกรรมการ กลต. เป็นผู้มีอำนาจในการวางนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงการส่งเสริมและการพัฒนา
1.3 กำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการมีสิทธิยื่นขอใบอนุญาตและการปฏิบัติหลังจากได้ใบอนุญาต
1.4 กำหนดวิธีการปฏิบัติ เก็บรักษา ดำเนินการโอนทรัพย์สิน การจัดจำหน่ายเพื่อการทำธุรกิจ การคุ้มครองในกรณีผู้ประกอบการล้มละลาย ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ
1.5 การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ กำหนดเงื่อนไขให้ลูกค้าสามารถร้องขอให้มีการพิจารณาข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยให้ถือว่าผู้ประกอบการให้ความยินยอมในการให้มีอนุญาโตตุลาการพิจารณาข้อพิพาท เพื่อเป็นประโยชน์ต่อลูกค้ารายย่อยข้อพิพาทนั้น จะต้องมีทุนทรัพย์ไม่เกินที่คณะกรรมการ กลต. กำหนด
1.6 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การกำกับควบคุมศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า กำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขในการปฏิบัติดำเนินกิจการของศูนย์ซื้อขาย
1.7 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การกำกับควบคุมสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขในการปฏิบัติดำเนินกิจการ การดูแลทรัพย์สินของสมาชิกของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1.8 กำหนดข้อห้ามการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กำหนดข้อห้ามการกระทำพฤติการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น การแพร่ข้อความอันก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งอาจมีผลทำให้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปลี่ยนแปลงไปได้ รวมถึงการห้ามใช้ข้อมูลภายในอันยังไม่เปิดเผยต่อประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1.9 กำหนดอำนาจ หน้าที่ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตรวจสอบ เข้าไปในสถานที่ของผู้ประกอบการ เพื่อการรวบรวมหรือตรวจสอบข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
1.10 บทกำหนดโทษและอายุความ เป็นการกำหนดโทษทางปกครองและโทษทางอาญา โดยให้มีคณะกรรมการสำหรับพิจารณาโทษทางปกครองที่ตั้งโดยคณะกรรมการ กลต. เป็นผู้ดูแลในกรณีโทษทางปกครอง และให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดเป็นผู้ดูแลในกรณีปรับตามโทษอาญา
2. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังแจ้งว่าได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และเห็นสมควรให้มีการออกพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการจัดตั้งตลาดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ระบบการเงินมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นตลาดที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการผันผวนของราคาและต้นทุนของตราสารการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และราคาหุ้นฯลฯ เมื่อมีการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าขึ้นแล้วจะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมสินค้าในตลาดทุนซึ่งเป็นสินค้าอ้างอิงและเป็นการทำให้ตลาดทุนโดยรวมมีความน่าจูงใจและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดนิยามความหมายของ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบการ ธุรกรรมที่มีในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นธุรกิจใหม่จึงต้องมีการกำหนดนิยามความหมายที่เกี่ยวข้อง
1.2 กำหนดหน้าที่ อำนาจการกำกับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยให้คณะกรรมการ กลต. เป็นผู้มีอำนาจในการวางนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงการส่งเสริมและการพัฒนา
1.3 กำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในการมีสิทธิยื่นขอใบอนุญาตและการปฏิบัติหลังจากได้ใบอนุญาต
1.4 กำหนดวิธีการปฏิบัติ เก็บรักษา ดำเนินการโอนทรัพย์สิน การจัดจำหน่ายเพื่อการทำธุรกิจ การคุ้มครองในกรณีผู้ประกอบการล้มละลาย ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ
1.5 การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ กำหนดเงื่อนไขให้ลูกค้าสามารถร้องขอให้มีการพิจารณาข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยให้ถือว่าผู้ประกอบการให้ความยินยอมในการให้มีอนุญาโตตุลาการพิจารณาข้อพิพาท เพื่อเป็นประโยชน์ต่อลูกค้ารายย่อยข้อพิพาทนั้น จะต้องมีทุนทรัพย์ไม่เกินที่คณะกรรมการ กลต. กำหนด
1.6 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การกำกับควบคุมศูนย์ซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า กำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขในการปฏิบัติดำเนินกิจการของศูนย์ซื้อขาย
1.7 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การกำกับควบคุมสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขในการปฏิบัติดำเนินกิจการ การดูแลทรัพย์สินของสมาชิกของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1.8 กำหนดข้อห้ามการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กำหนดข้อห้ามการกระทำพฤติการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น การแพร่ข้อความอันก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งอาจมีผลทำให้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปลี่ยนแปลงไปได้ รวมถึงการห้ามใช้ข้อมูลภายในอันยังไม่เปิดเผยต่อประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
1.9 กำหนดอำนาจ หน้าที่ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตรวจสอบ เข้าไปในสถานที่ของผู้ประกอบการ เพื่อการรวบรวมหรือตรวจสอบข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
1.10 บทกำหนดโทษและอายุความ เป็นการกำหนดโทษทางปกครองและโทษทางอาญา โดยให้มีคณะกรรมการสำหรับพิจารณาโทษทางปกครองที่ตั้งโดยคณะกรรมการ กลต. เป็นผู้ดูแลในกรณีโทษทางปกครอง และให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดเป็นผู้ดูแลในกรณีปรับตามโทษอาญา
2. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-