ทำเนียบรัฐบาล--12 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย ตามที่สถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
โครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย เป็นโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี" โดยสถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยประกอบด้วยโครงการศึกษาวิจัย 5 โครงการย่อย ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1. โครงการวิจัย เรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจของประเทศไทย"
2. โครงการวิจัย เรื่อง "มาตรการทางกฎหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาสังคมในประเทศไทย"
3. โครงการวิจัย เรื่อง "การปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายของไทย"
4. โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง "การปฏิรูปการศึกษาอบรมและการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพด้านกฎหมาย"
5. โครงการ "เวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย"
โครงการศึกษาวิจัยนี้มีกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานระหว่างเดือนมกราคม 2542 - กรกฎาคม 2543
รายละเอียดความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัย มีดังนี้
1. โครงการวิจัยเรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจของประเทศไทย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) ศึกษาและวิเคราะห์เจตนารมณ์ หลักการ แนวคิดและวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ และเปรียบเทียบกฎหมายนั้น ๆ ทั้งในเชิงสาระและเชิงการบังคับใช้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อชี้ถึงข้อบกพร่องหรือประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของกฎหมายดังกล่าว
2) เพื่อเสนอแนะแนวทางและทิศทางในการบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ พร้อมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันที่เป็นธรรม มีการรักษาประโยชน์ของสังคมส่วนรวม และมีประสิทธิภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในลักษณะที่สอดคล้องกับระบบและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ระยะเวลาโครงการ 10 เดือน (มกราคม 2543 - ตุลาคม 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน ได้ส่งรายงานการดำเนินการของโครงการฯ (inception report) แล้ว ขณะนี้กำลังจัดทำร่างรายงานการวิจัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการ (progress report)
2. โครงการวิจัยเรื่อง "มาตรการทางกฎหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาสังคมในประเทศไทย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาทบทวนแนวคิดเรื่องประชาสังคมที่มีการนำเสนอทั้งในแนวคิดของต่างประเทศและสังคมไทย
2) เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาสังคม อันจะนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
3) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่ามีผลเป็นการส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการกิจการสาธารณะ รวมทั้งศึกษาปรากฏการณ์การรวมตัวของภาคประชาชนจากกรณีตัวอย่าง เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางและกระบวนการทางกฎหมายที่จะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการกิจการดังกล่าว
ระยะเวลาโครงการ 10 เดือน (ธันวาคม 2542 - กันยายน 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน ได้ส่งรายงานการดำเนินงานของโครงการฯ (inception report) แล้ว ขณะนี้กำลังจัดทำร่างรายงานการวิจัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการฯ (progress report)
3. โครงการวิจัยเรื่อง "การปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายของไทย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่ในกระบวนการร่างและกระบวนการจัดทำกฎหมายของไทย
2) ศึกษาเปรียบเทียบจากกรณีของต่างประเทศเกี่ยวกับกระบวนการร่างและกระบวนการจัดทำกฎหมายว่ามีขั้นตอนอย่างไร และมีประสิทธิภาพเพียงใด
3) ปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายของไทยให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน (เมษายน 2542 - มีนาคม 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
4. โครงการวิจัยเรื่อง "การปฏิรูปการศึกษาอบรมและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพด้านกฎหมาย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) สร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับคุณลักษณะของนักกฎหมายที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน
2) สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาของการศึกษานิติศาสตร์ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตนักกฎหมายที่มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ รวมทั้งสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาของกระบวนการต่อเนื่องในการพัฒนาบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
3) เพื่อเสนอแนะทางเลือกและกลไกของการพัฒนาระบบการศึกษา อบรมและพัฒนาบุคลากรด้านกฎหมาย
ระยะเวลาโครงการ 8 เดือน (เมษายน 2543 - ธันวาคม 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน กำลังจัดทำรายงานการดำเนินการของโครงการฯ (inception report)
5. โครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เป็นเวทีระดมความคิดเพื่อประเมินสถานภาพปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนากระบวนยุติธรรมไทย
2) เป็นเวทีให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้รับทราบถึงปัญหาและมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
3) เป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาในหมู่นักวิชาการ และสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายและนโยบายเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ระยะเวลาโครงการ 2 ปี (สิงหาคม 2541 - สิงหาคม 2543)
สถานภาพการดำเนินการในปัจจุบัน โครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการไปแล้ว 11 เรื่อง
สำหรับกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย
วัตถุประสงค์
1) ประชาสัมพันธ์โคงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย
2) เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในโครงการฯ โดยรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ
3) ให้เกิดกระแสผลักดันจากภาคประชาชนที่จะนำไปสู่การปฏิรูประบบกฎหมายที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
แนวทางการดำเนินการ
1) กิจกรรมทางสื่อมวลชน อาทิเช่น โทรทัศน์และวิทยุ เพื่อเปิดโอกาสให้คณะผู้วิจัยและผู้ดำเนินการในทั้งห้าโครงการข้างต้นได้แถลงรายงานความคืบหน้าของงานวิจัย ผลงานอื่น ๆ
2) กิจกรรมการประชุมสัมมนาการประชุมเชิงปฏิบัติการในเนื้อหาของโครงการวิจัยแต่ละโครงการ และโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทยโดยรวม
ระยะเวลาโครงการ 9 เดือน (เมษายน 2543 - ธันวาคม 2543)
สถานภาพการดำเนินการในปัจจุบัน
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมทางวิชาการ โดยถ่ายทอดเสียงการสัมมนาทางวิชาการผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อนำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ภายใต้ชื่อ รายการ "เวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย" ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับกรมประชาสัมพันธ์เพื่อปรับปรุงรายการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ความพยายามในการปฏิรูประบบกฎหมาย
สำหรับกิจกรรมด้านการประชุมสัมมนาทางวิชาการนั้น นอกจากโครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทยที่ได้จัดการสัมมนาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ได้จัดการสัมมนาเพื่อเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทยภายใต้ชื่อ การประชุมทางวิชาการเพื่อแนะนำชุดโครงการวิจัยเรื่อง การปฏิรูปกฎหมายเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เมื่อวันที่ 11 และ 16 สิงหาคม 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2543--
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย ตามที่สถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
โครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย เป็นโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี" โดยสถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยประกอบด้วยโครงการศึกษาวิจัย 5 โครงการย่อย ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1. โครงการวิจัย เรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจของประเทศไทย"
2. โครงการวิจัย เรื่อง "มาตรการทางกฎหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาสังคมในประเทศไทย"
3. โครงการวิจัย เรื่อง "การปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายของไทย"
4. โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง "การปฏิรูปการศึกษาอบรมและการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพด้านกฎหมาย"
5. โครงการ "เวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย"
โครงการศึกษาวิจัยนี้มีกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานระหว่างเดือนมกราคม 2542 - กรกฎาคม 2543
รายละเอียดความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัย มีดังนี้
1. โครงการวิจัยเรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจของประเทศไทย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) ศึกษาและวิเคราะห์เจตนารมณ์ หลักการ แนวคิดและวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ และเปรียบเทียบกฎหมายนั้น ๆ ทั้งในเชิงสาระและเชิงการบังคับใช้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อชี้ถึงข้อบกพร่องหรือประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของกฎหมายดังกล่าว
2) เพื่อเสนอแนะแนวทางและทิศทางในการบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ พร้อมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันที่เป็นธรรม มีการรักษาประโยชน์ของสังคมส่วนรวม และมีประสิทธิภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในลักษณะที่สอดคล้องกับระบบและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ระยะเวลาโครงการ 10 เดือน (มกราคม 2543 - ตุลาคม 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน ได้ส่งรายงานการดำเนินการของโครงการฯ (inception report) แล้ว ขณะนี้กำลังจัดทำร่างรายงานการวิจัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการ (progress report)
2. โครงการวิจัยเรื่อง "มาตรการทางกฎหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาสังคมในประเทศไทย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาทบทวนแนวคิดเรื่องประชาสังคมที่มีการนำเสนอทั้งในแนวคิดของต่างประเทศและสังคมไทย
2) เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาสังคม อันจะนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
3) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่ามีผลเป็นการส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการกิจการสาธารณะ รวมทั้งศึกษาปรากฏการณ์การรวมตัวของภาคประชาชนจากกรณีตัวอย่าง เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางและกระบวนการทางกฎหมายที่จะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการกิจการดังกล่าว
ระยะเวลาโครงการ 10 เดือน (ธันวาคม 2542 - กันยายน 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน ได้ส่งรายงานการดำเนินงานของโครงการฯ (inception report) แล้ว ขณะนี้กำลังจัดทำร่างรายงานการวิจัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการฯ (progress report)
3. โครงการวิจัยเรื่อง "การปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายของไทย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่ในกระบวนการร่างและกระบวนการจัดทำกฎหมายของไทย
2) ศึกษาเปรียบเทียบจากกรณีของต่างประเทศเกี่ยวกับกระบวนการร่างและกระบวนการจัดทำกฎหมายว่ามีขั้นตอนอย่างไร และมีประสิทธิภาพเพียงใด
3) ปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายของไทยให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน (เมษายน 2542 - มีนาคม 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
4. โครงการวิจัยเรื่อง "การปฏิรูปการศึกษาอบรมและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพด้านกฎหมาย"
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) สร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับคุณลักษณะของนักกฎหมายที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน
2) สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาของการศึกษานิติศาสตร์ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตนักกฎหมายที่มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ รวมทั้งสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาของกระบวนการต่อเนื่องในการพัฒนาบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
3) เพื่อเสนอแนะทางเลือกและกลไกของการพัฒนาระบบการศึกษา อบรมและพัฒนาบุคลากรด้านกฎหมาย
ระยะเวลาโครงการ 8 เดือน (เมษายน 2543 - ธันวาคม 2543)
สถานภาพของโครงการในปัจจุบัน กำลังจัดทำรายงานการดำเนินการของโครงการฯ (inception report)
5. โครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เป็นเวทีระดมความคิดเพื่อประเมินสถานภาพปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนากระบวนยุติธรรมไทย
2) เป็นเวทีให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้รับทราบถึงปัญหาและมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
3) เป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาในหมู่นักวิชาการ และสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายและนโยบายเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ระยะเวลาโครงการ 2 ปี (สิงหาคม 2541 - สิงหาคม 2543)
สถานภาพการดำเนินการในปัจจุบัน โครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการไปแล้ว 11 เรื่อง
สำหรับกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย
วัตถุประสงค์
1) ประชาสัมพันธ์โคงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย
2) เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในโครงการฯ โดยรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ
3) ให้เกิดกระแสผลักดันจากภาคประชาชนที่จะนำไปสู่การปฏิรูประบบกฎหมายที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
แนวทางการดำเนินการ
1) กิจกรรมทางสื่อมวลชน อาทิเช่น โทรทัศน์และวิทยุ เพื่อเปิดโอกาสให้คณะผู้วิจัยและผู้ดำเนินการในทั้งห้าโครงการข้างต้นได้แถลงรายงานความคืบหน้าของงานวิจัย ผลงานอื่น ๆ
2) กิจกรรมการประชุมสัมมนาการประชุมเชิงปฏิบัติการในเนื้อหาของโครงการวิจัยแต่ละโครงการ และโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทยโดยรวม
ระยะเวลาโครงการ 9 เดือน (เมษายน 2543 - ธันวาคม 2543)
สถานภาพการดำเนินการในปัจจุบัน
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมทางวิชาการ โดยถ่ายทอดเสียงการสัมมนาทางวิชาการผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อนำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ภายใต้ชื่อ รายการ "เวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย" ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับกรมประชาสัมพันธ์เพื่อปรับปรุงรายการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ความพยายามในการปฏิรูประบบกฎหมาย
สำหรับกิจกรรมด้านการประชุมสัมมนาทางวิชาการนั้น นอกจากโครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทยที่ได้จัดการสัมมนาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ได้จัดการสัมมนาเพื่อเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทยภายใต้ชื่อ การประชุมทางวิชาการเพื่อแนะนำชุดโครงการวิจัยเรื่อง การปฏิรูปกฎหมายเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เมื่อวันที่ 11 และ 16 สิงหาคม 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2543--