แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการที่จะส่งเสริมให้ชาวไทยมุสลิมปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามในธุรกรรมทางด้านการเงิน และเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 และวันที่ 4 กันยายน 2544 ประกอบกับจะเป็นการจัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ควรมีการจัดตั้งธนาคารอิสลาม (Thai Islamic Bank) ขึ้น โดยมีแนวคิดว่า ธนาคารที่จะจัดตั้งนี้ต้องมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของธนาคารพาณิชย์อื่น เช่น ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่เป็นธนาคารที่มีลักษณะระดมเงินฝากจากชาวไทยมุสลิม เป็นการลงทุนตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐบาลโดยธนาคารนี้ให้มีผู้นับถือศาสนาอิสลามร่วมเป็นกรรมการบริหารด้วย และการจัดตั้งสาขาของธนาคารนั้นไม่ควรลงทุนเพิ่ม แต่ให้พิจารณาใช้สถานที่ซึ่งเป็นสาขาเดิมธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และคาดว่าในอนาคตประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในตะวันออกกลางอาจเข้ามาร่วมลงทุนด้วย การจัดตั้งธนาคารอิสลามดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องออกเป็นกฎหมาย กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว จึงมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดตั้งธนาคารอิสลามโดยด่วนต่อไป ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้จัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้นเรียกว่า "ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย" อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
2. ให้ธนาคารตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล
3. ให้กำหนดทุนของธนาคารเป็นทุนเรือนหุ้นโดยเป็นหุ้นสามัญจำนวนหนึ่งร้อยล้านหุ้นมูลค่าหุ้นละสิบบาท รวมเป็นทุนหนึ่งพันล้านบาท และในระยะเริ่มแรกถ้ามีผู้ซื้อหุ้นไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นจำนวนที่เหลือดังกล่าวนั้นได้ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า
4. ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการธนาคารภายใต้หลักการของศาสนาอิสลาม
5. ด้านการจัดการ ในระยะเริ่มแรกก่อนมีผู้ถือหุ้นให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน เป็นกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและกำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งการดำเนินงานของธนาคาร
6. ให้มีคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย แต่งตั้งโดยคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาด้านศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคาร เพื่อให้การประกอบธุรกิจของธนาคารไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม
7. กำหนดให้ธนาคารถือปฏิบัติเรื่องการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของธนาคาร
8. ให้คณะกรรมการจัดให้มีการสอบบัญชีของธนาคารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้ธนาคารรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชีรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายใน 180 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีแต่ละปี และให้เปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย
9. กำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด และกำหนดโทษผู้ที่กระทำความผิด ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อธนาคารและผู้ใช้บริการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ควรมีการจัดตั้งธนาคารอิสลาม (Thai Islamic Bank) ขึ้น โดยมีแนวคิดว่า ธนาคารที่จะจัดตั้งนี้ต้องมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของธนาคารพาณิชย์อื่น เช่น ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่เป็นธนาคารที่มีลักษณะระดมเงินฝากจากชาวไทยมุสลิม เป็นการลงทุนตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐบาลโดยธนาคารนี้ให้มีผู้นับถือศาสนาอิสลามร่วมเป็นกรรมการบริหารด้วย และการจัดตั้งสาขาของธนาคารนั้นไม่ควรลงทุนเพิ่ม แต่ให้พิจารณาใช้สถานที่ซึ่งเป็นสาขาเดิมธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และคาดว่าในอนาคตประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในตะวันออกกลางอาจเข้ามาร่วมลงทุนด้วย การจัดตั้งธนาคารอิสลามดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องออกเป็นกฎหมาย กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว จึงมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดตั้งธนาคารอิสลามโดยด่วนต่อไป ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้จัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้นเรียกว่า "ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย" อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
2. ให้ธนาคารตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล
3. ให้กำหนดทุนของธนาคารเป็นทุนเรือนหุ้นโดยเป็นหุ้นสามัญจำนวนหนึ่งร้อยล้านหุ้นมูลค่าหุ้นละสิบบาท รวมเป็นทุนหนึ่งพันล้านบาท และในระยะเริ่มแรกถ้ามีผู้ซื้อหุ้นไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ ให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นจำนวนที่เหลือดังกล่าวนั้นได้ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า
4. ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการธนาคารภายใต้หลักการของศาสนาอิสลาม
5. ด้านการจัดการ ในระยะเริ่มแรกก่อนมีผู้ถือหุ้นให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน เป็นกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและกำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งการดำเนินงานของธนาคาร
6. ให้มีคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย แต่งตั้งโดยคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาด้านศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคาร เพื่อให้การประกอบธุรกิจของธนาคารไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม
7. กำหนดให้ธนาคารถือปฏิบัติเรื่องการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของธนาคาร
8. ให้คณะกรรมการจัดให้มีการสอบบัญชีของธนาคารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้ธนาคารรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชีรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายใน 180 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีแต่ละปี และให้เปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย
9. กำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด และกำหนดโทษผู้ที่กระทำความผิด ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อธนาคารและผู้ใช้บริการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-