ทำเนียบรัฐบาล--14 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานศาลยุติธรรมและข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีเห็นว่า ปัจจุบันเรือต้องเผชิญความเสี่ยงจากอันตรายหลายประเภทจากการเดินทะเล ไม่ว่าจะเป็นภยันตรายแห่งท้องทะเล (Perils the Sea) ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่เหตุอันตรายที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของเรือหรือความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของคนประจำเรือ อันตรายที่เกิดขึ้นนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เรือ ทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่บนเรือ บุคคลบนเรือนั้นแล้ว ยังอาจส่งผลถึงบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมด้วย และโดยที่การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปเป็นจารีตประเพณีสากลของการเดินเรือที่มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการที่ต้องเสียสละทรัพย์สินหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปกป้องเรือและสินค้าบนเรือให้รอดพ้นจากอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง โดยเจ้าของเรือและเจ้าของสินค้าที่รอดพ้นจากอันตรายจะต้องร่วมเฉลี่ยในความสูญเสียความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลที่เสียสละทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะด้านเกี่ยวกับการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป และกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจนำมาปรับใช้กับกรณีเช่นว่านั้นได้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีจึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อรองรับจารีตประเพณีดังกล่าว อันจะช่วยทำให้ระบบกฎหมายพาณิชยนาวีของไทยสมบูรณ์ขึ้น และช่วยส่งเสริมให้มีการเสียสละทรัพย์สินหรือออกค่าใช้จ่ายเพื่อปกป้องรักษาเรือและทรัพย์สินที่เผชิญอันตราย ซึ่งในที่สุดจะมีผลช่วยลดความร้ายแรงแห่งอันตรายที่เกิดขึ้นและช่วยลดความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายเจ้าของเรือและฝ่ายเจ้าของสินค้า จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดของเจ้าของเรือและเจ้าของทรัพย์สินที่รอดพ้นจากอันตรายจะต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปกับผู้ที่ได้เสียสละทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายเพื่อปกป้องรักษาเรือและทรัพย์สินที่เผชิญอันตรายร่วมกัน
2. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าเรือหรือทรัพย์สินของผู้ที่ต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปและหลักเกณฑ์การประเมินจำนวนความเสียหายทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการเสียสละทรัพย์สินและการใช้จ่าย
3. กำหนดวิธีการดำเนินการของเจ้าของเรือกรณีเรียกให้มีการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป โดยให้มีการแต่งตั้งผู้ประเมินความเสียหายและมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ได้รับความเสียหายทั่วไป ซึ่งผู้ที่ได้รับความเสียหายทั่วไปจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประเมินทราบถึงรายละเอียดของความเสียหายภายใน 6 เดือน รวมทั้งให้เจ้าของเรือมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของผู้ที่ต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป
4. กำหนดอายุความกรณีใช้สิทธิเรียกร้องในส่วนเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป
5. กำหนดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานศาลยุติธรรมและข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีเห็นว่า ปัจจุบันเรือต้องเผชิญความเสี่ยงจากอันตรายหลายประเภทจากการเดินทะเล ไม่ว่าจะเป็นภยันตรายแห่งท้องทะเล (Perils the Sea) ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่เหตุอันตรายที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของเรือหรือความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของคนประจำเรือ อันตรายที่เกิดขึ้นนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เรือ ทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่บนเรือ บุคคลบนเรือนั้นแล้ว ยังอาจส่งผลถึงบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมด้วย และโดยที่การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปเป็นจารีตประเพณีสากลของการเดินเรือที่มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการที่ต้องเสียสละทรัพย์สินหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปกป้องเรือและสินค้าบนเรือให้รอดพ้นจากอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง โดยเจ้าของเรือและเจ้าของสินค้าที่รอดพ้นจากอันตรายจะต้องร่วมเฉลี่ยในความสูญเสียความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลที่เสียสละทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะด้านเกี่ยวกับการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป และกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจนำมาปรับใช้กับกรณีเช่นว่านั้นได้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีจึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อรองรับจารีตประเพณีดังกล่าว อันจะช่วยทำให้ระบบกฎหมายพาณิชยนาวีของไทยสมบูรณ์ขึ้น และช่วยส่งเสริมให้มีการเสียสละทรัพย์สินหรือออกค่าใช้จ่ายเพื่อปกป้องรักษาเรือและทรัพย์สินที่เผชิญอันตราย ซึ่งในที่สุดจะมีผลช่วยลดความร้ายแรงแห่งอันตรายที่เกิดขึ้นและช่วยลดความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายเจ้าของเรือและฝ่ายเจ้าของสินค้า จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดของเจ้าของเรือและเจ้าของทรัพย์สินที่รอดพ้นจากอันตรายจะต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปกับผู้ที่ได้เสียสละทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายเพื่อปกป้องรักษาเรือและทรัพย์สินที่เผชิญอันตรายร่วมกัน
2. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าเรือหรือทรัพย์สินของผู้ที่ต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปและหลักเกณฑ์การประเมินจำนวนความเสียหายทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการเสียสละทรัพย์สินและการใช้จ่าย
3. กำหนดวิธีการดำเนินการของเจ้าของเรือกรณีเรียกให้มีการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป โดยให้มีการแต่งตั้งผู้ประเมินความเสียหายและมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ได้รับความเสียหายทั่วไป ซึ่งผู้ที่ได้รับความเสียหายทั่วไปจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประเมินทราบถึงรายละเอียดของความเสียหายภายใน 6 เดือน รวมทั้งให้เจ้าของเรือมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของผู้ที่ต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป
4. กำหนดอายุความกรณีใช้สิทธิเรียกร้องในส่วนเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป
5. กำหนดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-