ทำเนียบรัฐบาล--21 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 14 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ตามหมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้แจ้งผลการประชุมต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อนำเรียนคณะรัฐมนตรีว่า ได้ประชุมเพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานเพื่อขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยได้พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการในส่วนกลาง ซึ่งพิจารณากลั่นกรองข้อเรียกร้องแล้วรายงานความเห็นต่อคณะกรรมการค่าจ้าง ดังนี้
1.1 ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานวันละ 5 - 7 บาท โดยให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานใหม่อยู่ที่ระดับ 135 - 137 บาทต่อวัน คิดเป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานประมาณร้อยละ 3.85 - 5.38
1.2 กำหนดให้ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
1.3 การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดให้เป็นไปตามการพิจารณาของคณะอนุกรรมการแต่ละจังหวัด
2. ที่ประชุมมีความเห็นชอบว่า ควรปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราเพิ่มของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานแล้วที่ประชุมมีความเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ
2.1 ผู้แทนฝ่ายนายจ้างเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอีก 3 บาท จากอัตราวันละ 130 บาท เป็น 133 บาท ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดให้เป็นไปตามการพิจารณาของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
2.2 ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างมีความเห็น 2 ประการ ดังนี้
1) ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน 3 ระดับ คือ 130, 140 และ 162 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3 บาท เป็น 133, 143 และ 165 บาท หรือ
2) ให้ปรับเฉพาะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน 130 บาท เพิ่มอีก 5 บาท เป็น 135 บาท สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดให้เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
3. คณะกรรมการค่าจ้างมีความเห็นว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นอัตราใดก็ตามจะกระทบต่ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดซึ่งเคยเสนอว่าไม่ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด จึงเห็นควรส่งผลการประชุมของคณะกรรมการค่าจ้างให้คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 14 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ตามหมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้แจ้งผลการประชุมต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อนำเรียนคณะรัฐมนตรีว่า ได้ประชุมเพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานเพื่อขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยได้พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการในส่วนกลาง ซึ่งพิจารณากลั่นกรองข้อเรียกร้องแล้วรายงานความเห็นต่อคณะกรรมการค่าจ้าง ดังนี้
1.1 ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานวันละ 5 - 7 บาท โดยให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานใหม่อยู่ที่ระดับ 135 - 137 บาทต่อวัน คิดเป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานประมาณร้อยละ 3.85 - 5.38
1.2 กำหนดให้ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
1.3 การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดให้เป็นไปตามการพิจารณาของคณะอนุกรรมการแต่ละจังหวัด
2. ที่ประชุมมีความเห็นชอบว่า ควรปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราเพิ่มของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานแล้วที่ประชุมมีความเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ
2.1 ผู้แทนฝ่ายนายจ้างเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอีก 3 บาท จากอัตราวันละ 130 บาท เป็น 133 บาท ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดให้เป็นไปตามการพิจารณาของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
2.2 ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างมีความเห็น 2 ประการ ดังนี้
1) ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน 3 ระดับ คือ 130, 140 และ 162 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3 บาท เป็น 133, 143 และ 165 บาท หรือ
2) ให้ปรับเฉพาะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน 130 บาท เพิ่มอีก 5 บาท เป็น 135 บาท สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดให้เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
3. คณะกรรมการค่าจ้างมีความเห็นว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นอัตราใดก็ตามจะกระทบต่ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดซึ่งเคยเสนอว่าไม่ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด จึงเห็นควรส่งผลการประชุมของคณะกรรมการค่าจ้างให้คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 พ.ย. 2543--
-สส-