คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม-กรกฎาคม) สรุปได้ดังนี้
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนกรกฎาคม มีมูลค่า 9,520.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับระยะเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรร้อยละ 14.8 และ 6.7 ตามลำดับ
สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.6 ได้แก่ อาหารทะเล ผักและผลไม้ ไก่แช่แข็ง รวมทั้งกุ้งแช่แข็งและแปรรูปที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้าร้อยละ 46.0 สินค้าอื่นที่ ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ มันสำปะหลังและยางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 และ 1.0 ตามลำดับ สำหรับข้าวส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 50.2 และ 38.8 ตามลำดับ
สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ที่สำคัญและส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยานยนต์ พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า อัญมณี ผลิตภัณฑ์ยาง และ เครื่องหนัง สินค้าอื่น ๆ ได้แก่ สิ่งทอ สิ่งพิมพ์ รวมทั้งแผงวงจรไฟฟ้าที่กลับมาส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองร้อยละ 27.1 จากที่ส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา
การส่งออกในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2548(ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 61,348.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 15.0 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดใหม่และตลาดหลักร้อยละ 26.4 และ 9.9 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ อินเดีย(ร้อยละ 72.0) ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 39.3) ออสเตรเลีย(ร้อยละ 32.4) จีน(ร้อยละ 27.2) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 26.3) อินโดจีนและพม่า(ร้อยละ 23.8) แอฟริกา(ร้อยละ 19.7) และตะวันออกกลาง(ร้อยละ 14.5)
การส่งออกไปตลาดหลักขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 9.9 ตามการขยายตัวของการส่งออกไปญี่ปุ่น สหรัฐฯ และ อาเซียนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 , 9.5 และ 10.9 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 4.7
2. การนำเข้า
การนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2548 มีมูลค่า 9,604.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับการนำเข้าในเดือนมิถุนายน 2548 แล้ว ลดลงร้อยละ 13.84
สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ในเดือนกรกฎาคม 2548 ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง ทุน วัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป โดยมีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2, 17.5 และ 10.3 ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าสินค้าในหมวดอาวุธยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นชะลอตัวลงร้อยละ 53.3
สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้ามูลค่า 1,788 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.1 และ น้ำมันสำเร็จรูปนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.7
สินค้าทุน นำเข้ามูลค่า 2,683 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 และ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2
สินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป นำเข้ามูลค่า 4,104 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 และทองคำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.8
การนำเข้าในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม-กรกฎาคม) มีมูลค่า 69,587 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 เป็นการขยายตัวของการนำเข้าในทุกหมวด ที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิงอาวุธยุทธปัจจัย/สินค้าอื่น และสินค้าทุน ร้อยละ 79.2 35.9 และ 27.1 ตามลำดับ
3. แนวโน้มการส่งออกและนำเข้าในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 (สิงหาคม-ธันวาคม)
คาดว่าการส่งออกในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 (สิงหาคม-ธันวาคม) จะสามารถส่งออกได้เป็นมูลค่า 54,488 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 28.0 และทำให้การส่งออกทั้งปี 2548 บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20.0 คิดเป็นมูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับแนวโน้มการนำเข้าในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 (สิงหาคม-ธันวาคม) นั้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ประชุมผู้นำเข้าสินค้าสำคัญ 3 รายการ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2548 คือ สินค้าน้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.7 ของมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าดังนี้
น้ำมันดิบตลาดโลกมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้าในครึ่งปีแรก ขณะนี้ผู้นำเข้าจะให้ความร่วมมือควบคุมระดับการนำเข้าไม่ให้ เกิน 850,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นเหตุให้มูลค่านำเข้าน้ำมันในเดือนกรกฎาคมลดลง และคาดว่าจะคงระดับนี้ต่อไปทุกเดือน
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง และคาดว่าราคาใกล้จุดต่ำสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 ทำให้การนำเข้าเหล็กในเดือนนี้ยังคงมีปริมาณมาก แต่คาดว่าราคาเหล็กอาจปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะทำให้มีการเร่งนำเข้ามากขึ้นในเดือนสิงหาคม เนื่องจากเกรงว่าราคาจะสูงขึ้นอีกแต่ปริมาณนำเข้าจะไม่สูงเท่าช่วงต้นปี 2548 โดยผู้นำเข้าได้ให้ความร่วมมือในการแจ้งแผนการนำเข้าในเดือนสิงหาคม — ธันวาคม 2548 มีปริมาณไม่เกินเดือนละ 1.3 ล้านตัน
ทองคำ การนำเข้าทองคำได้ลดลงมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 และในเดือนกรกฎาคม 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.8 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้นำเข้าในการจัดทำแผนนำเข้า ซึ่งคาดว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม — ธันวาคม 2548 จะนำเข้าเดือนละ 6 — 7 ตัน
4. ดุลการค้า
ดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม ดีขึ้นมากโดยขาดดุลเพียง 84.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การขาดดุลรวม 7 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค-ก.ค) ขาดดุลมูลค่า 8,238 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 จะขาดดุลลดลงตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทยในช่วง 5 เดือนหลัง ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น ขณะนี้สหรัฐอเมริกากำลังผลักดันให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวนอีกร้อยละ 10-15 รวมทั้งกำลังพิจารณาร่างกฎหมาย Trade Rights Enforcement Act ซึ่งจะกำหนดมาตรการต่าง ๆ สำหรับสินค้านำเข้าจากจีน ( เช่น การเก็บภาษีประมาณร้อยละ 27.5 ) เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า และหากกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา จะส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้น
หากจีนมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนมากกว่าปัจจุบัน ตามการผลักดันของสหรัฐอเมริกา จะเป็นผลดีต่อสินค้าส่งออกและดุลการค้าของไทย คือ ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยในตลาดจีน และประเทศอื่น ๆ จะสูงขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าของเงินหยวนทำให้อำนาจซื้อของประชาชนในจีนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งและไม่เกิดภาวะเงินฝืดในระยะสั้น เพราะการบริโภคภายในประเทศยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยข้างต้นจึงคาดว่าการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนจะส่งผลทางบวกต่อการส่งออกของไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนกรกฎาคม มีมูลค่า 9,520.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับระยะเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรร้อยละ 14.8 และ 6.7 ตามลำดับ
สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.6 ได้แก่ อาหารทะเล ผักและผลไม้ ไก่แช่แข็ง รวมทั้งกุ้งแช่แข็งและแปรรูปที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้าร้อยละ 46.0 สินค้าอื่นที่ ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ มันสำปะหลังและยางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 และ 1.0 ตามลำดับ สำหรับข้าวส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 50.2 และ 38.8 ตามลำดับ
สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ที่สำคัญและส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยานยนต์ พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า อัญมณี ผลิตภัณฑ์ยาง และ เครื่องหนัง สินค้าอื่น ๆ ได้แก่ สิ่งทอ สิ่งพิมพ์ รวมทั้งแผงวงจรไฟฟ้าที่กลับมาส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองร้อยละ 27.1 จากที่ส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา
การส่งออกในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2548(ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 61,348.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 15.0 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดใหม่และตลาดหลักร้อยละ 26.4 และ 9.9 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ อินเดีย(ร้อยละ 72.0) ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 39.3) ออสเตรเลีย(ร้อยละ 32.4) จีน(ร้อยละ 27.2) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 26.3) อินโดจีนและพม่า(ร้อยละ 23.8) แอฟริกา(ร้อยละ 19.7) และตะวันออกกลาง(ร้อยละ 14.5)
การส่งออกไปตลาดหลักขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 9.9 ตามการขยายตัวของการส่งออกไปญี่ปุ่น สหรัฐฯ และ อาเซียนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 , 9.5 และ 10.9 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 4.7
2. การนำเข้า
การนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2548 มีมูลค่า 9,604.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับการนำเข้าในเดือนมิถุนายน 2548 แล้ว ลดลงร้อยละ 13.84
สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ในเดือนกรกฎาคม 2548 ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง ทุน วัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป โดยมีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2, 17.5 และ 10.3 ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าสินค้าในหมวดอาวุธยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นชะลอตัวลงร้อยละ 53.3
สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้ามูลค่า 1,788 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.1 และ น้ำมันสำเร็จรูปนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.7
สินค้าทุน นำเข้ามูลค่า 2,683 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 และ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2
สินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป นำเข้ามูลค่า 4,104 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 และทองคำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.8
การนำเข้าในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม-กรกฎาคม) มีมูลค่า 69,587 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 เป็นการขยายตัวของการนำเข้าในทุกหมวด ที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิงอาวุธยุทธปัจจัย/สินค้าอื่น และสินค้าทุน ร้อยละ 79.2 35.9 และ 27.1 ตามลำดับ
3. แนวโน้มการส่งออกและนำเข้าในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 (สิงหาคม-ธันวาคม)
คาดว่าการส่งออกในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 (สิงหาคม-ธันวาคม) จะสามารถส่งออกได้เป็นมูลค่า 54,488 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 28.0 และทำให้การส่งออกทั้งปี 2548 บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20.0 คิดเป็นมูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับแนวโน้มการนำเข้าในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 (สิงหาคม-ธันวาคม) นั้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ประชุมผู้นำเข้าสินค้าสำคัญ 3 รายการ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2548 คือ สินค้าน้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.7 ของมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าดังนี้
น้ำมันดิบตลาดโลกมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้าในครึ่งปีแรก ขณะนี้ผู้นำเข้าจะให้ความร่วมมือควบคุมระดับการนำเข้าไม่ให้ เกิน 850,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นเหตุให้มูลค่านำเข้าน้ำมันในเดือนกรกฎาคมลดลง และคาดว่าจะคงระดับนี้ต่อไปทุกเดือน
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง และคาดว่าราคาใกล้จุดต่ำสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 ทำให้การนำเข้าเหล็กในเดือนนี้ยังคงมีปริมาณมาก แต่คาดว่าราคาเหล็กอาจปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะทำให้มีการเร่งนำเข้ามากขึ้นในเดือนสิงหาคม เนื่องจากเกรงว่าราคาจะสูงขึ้นอีกแต่ปริมาณนำเข้าจะไม่สูงเท่าช่วงต้นปี 2548 โดยผู้นำเข้าได้ให้ความร่วมมือในการแจ้งแผนการนำเข้าในเดือนสิงหาคม — ธันวาคม 2548 มีปริมาณไม่เกินเดือนละ 1.3 ล้านตัน
ทองคำ การนำเข้าทองคำได้ลดลงมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 และในเดือนกรกฎาคม 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.8 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้นำเข้าในการจัดทำแผนนำเข้า ซึ่งคาดว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม — ธันวาคม 2548 จะนำเข้าเดือนละ 6 — 7 ตัน
4. ดุลการค้า
ดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม ดีขึ้นมากโดยขาดดุลเพียง 84.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การขาดดุลรวม 7 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค-ก.ค) ขาดดุลมูลค่า 8,238 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2548 จะขาดดุลลดลงตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทยในช่วง 5 เดือนหลัง ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น ขณะนี้สหรัฐอเมริกากำลังผลักดันให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวนอีกร้อยละ 10-15 รวมทั้งกำลังพิจารณาร่างกฎหมาย Trade Rights Enforcement Act ซึ่งจะกำหนดมาตรการต่าง ๆ สำหรับสินค้านำเข้าจากจีน ( เช่น การเก็บภาษีประมาณร้อยละ 27.5 ) เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า และหากกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา จะส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้น
หากจีนมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนมากกว่าปัจจุบัน ตามการผลักดันของสหรัฐอเมริกา จะเป็นผลดีต่อสินค้าส่งออกและดุลการค้าของไทย คือ ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยในตลาดจีน และประเทศอื่น ๆ จะสูงขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าของเงินหยวนทำให้อำนาจซื้อของประชาชนในจีนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งและไม่เกิดภาวะเงินฝืดในระยะสั้น เพราะการบริโภคภายในประเทศยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยข้างต้นจึงคาดว่าการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนจะส่งผลทางบวกต่อการส่งออกของไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--