ทำเนียบรัฐบาล--14 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบวิธีปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ เพื่อกำหนดเป็นวิธีปฏิบัติของผู้ที่เกี่ยวข้องให้เป็นแบบแผนเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2544 (เป็นการเลือกตั้งภายใน 59 วัน) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงเสนอผลและวิธีปฏิบัติอันเนื่องมาจากการมีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ดังนี้
1. สถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกผู้แทนราษฎรสิ้นสุดสถานะลงทันที โดยมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 สำหรับเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเงินเพิ่ม ให้คิดถึงวันก่อนวันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง 1 วัน คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543
2. สถานะของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 215 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (แต่จะใช้อำนาจแต่งตั้ง หรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง) ซึ่งการรับหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะมีขึ้นต่อเมื่อได้จัดตั้งและได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างเวลาที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่นั้น ให้รัฐมนตรีที่เคยรับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มทางสภาผู้แทนราษฎร มารับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มทางด้านรัฐมนตรีและปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
3. การประชุมคณะรัฐมนตรี ทางปฏิบัติที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
3.1 หลักการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
1) ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
2) เรื่องที่เป็นนโยบายและดำเนินการขึ้นใหม่ รวมทั้งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ไม่ควรพิจารณา เว้นแต่เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน หรือเรื่องที่ต่อเนื่อง จึงให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่อง ๆ ไป
3.2 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปตามปกติ จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ สำหรับเรื่องใดที่เห็นว่าเป็นนโยบายซึ่งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ นอกจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งแล้ว คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ควรมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
4. การออกกฎหมายใหม่ในระหว่างการยุบสภาให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่จะเป็นการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น หรือถ้ามีความจำเป็นก็อาจดำเนินการในรูปของพระราชกำหนดได้ แต่ต้องเป็นเรื่องฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนการตราพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
5. ร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างพิจารณาอยู่ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของรัฐสภาให้ชะงักไว้ หากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ร้องขอต่อรัฐสภาภายใน 60 วัน นับแต่วันเปิดสภาให้ยกขึ้นพิจารณาต่อได้ส่วนญัตติและกระทู้ถามทั้งหลายตกไปโดยผลการยุบสภา สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็สามารถตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไปได้ และเมื่อพิจารณาแล้วเสร็จจะได้ส่งให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบท่านใหม่พิจารณาอีกครั้ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาต่อไป สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาเห็นชอบแล้วไม่ตกไป โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการต่อไป
6. การเรียกตำแหน่งรัฐมนตรีในระหว่างการยุบสภา คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยตามข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม 2533 สรุปได้ว่า ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งยังคงมีฐานะดังเดิม เพื่อรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ต่อไปอีก และในช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ยังมิได้เข้ารับหน้าที่ การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าวจึงต้องเป็นการลงชื่อในตำแหน่งเดิมมิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง
7. สถานะของข้าราชการการเมืองอื่น ๆ สำหรับข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แม้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 จะบัญญัติให้ออกจากตำแหน่งเมื่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยเมื่อเดือนธันวาคม 2535 สรุปได้ว่า ข้าราชการการเมืองที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2521 จะยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง ดังนั้น ข้าราชการการเมืองทั้งหลายที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งยังคงปฏิบัติหน้าที่และได้รับเงินตอบแทนต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ลงอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
8. การยื่นบัญชีแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินของรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน
8.1 รัฐมนตรีที่มีสถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543) และต้องยื่นบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่รัฐมนตรีคณะใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์)
8.2 รัฐมนตรีที่ไม่มีสถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่รัฐมนตรีคณะใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์)
และทั้ง 2 กรณีมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย
9. ผลัดเวรเฝ้าฯ คงเป็นไปตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดตามปกติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบวิธีปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ เพื่อกำหนดเป็นวิธีปฏิบัติของผู้ที่เกี่ยวข้องให้เป็นแบบแผนเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2544 (เป็นการเลือกตั้งภายใน 59 วัน) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงเสนอผลและวิธีปฏิบัติอันเนื่องมาจากการมีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ดังนี้
1. สถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกผู้แทนราษฎรสิ้นสุดสถานะลงทันที โดยมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 สำหรับเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเงินเพิ่ม ให้คิดถึงวันก่อนวันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง 1 วัน คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543
2. สถานะของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 215 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (แต่จะใช้อำนาจแต่งตั้ง หรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง) ซึ่งการรับหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะมีขึ้นต่อเมื่อได้จัดตั้งและได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างเวลาที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่นั้น ให้รัฐมนตรีที่เคยรับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มทางสภาผู้แทนราษฎร มารับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มทางด้านรัฐมนตรีและปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
3. การประชุมคณะรัฐมนตรี ทางปฏิบัติที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
3.1 หลักการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
1) ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
2) เรื่องที่เป็นนโยบายและดำเนินการขึ้นใหม่ รวมทั้งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ไม่ควรพิจารณา เว้นแต่เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน หรือเรื่องที่ต่อเนื่อง จึงให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่อง ๆ ไป
3.2 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปตามปกติ จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ สำหรับเรื่องใดที่เห็นว่าเป็นนโยบายซึ่งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ นอกจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งแล้ว คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ควรมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
4. การออกกฎหมายใหม่ในระหว่างการยุบสภาให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่จะเป็นการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น หรือถ้ามีความจำเป็นก็อาจดำเนินการในรูปของพระราชกำหนดได้ แต่ต้องเป็นเรื่องฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนการตราพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
5. ร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างพิจารณาอยู่ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของรัฐสภาให้ชะงักไว้ หากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ร้องขอต่อรัฐสภาภายใน 60 วัน นับแต่วันเปิดสภาให้ยกขึ้นพิจารณาต่อได้ส่วนญัตติและกระทู้ถามทั้งหลายตกไปโดยผลการยุบสภา สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็สามารถตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไปได้ และเมื่อพิจารณาแล้วเสร็จจะได้ส่งให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบท่านใหม่พิจารณาอีกครั้ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาต่อไป สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาเห็นชอบแล้วไม่ตกไป โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการต่อไป
6. การเรียกตำแหน่งรัฐมนตรีในระหว่างการยุบสภา คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยตามข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม 2533 สรุปได้ว่า ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งยังคงมีฐานะดังเดิม เพื่อรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ต่อไปอีก และในช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ยังมิได้เข้ารับหน้าที่ การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าวจึงต้องเป็นการลงชื่อในตำแหน่งเดิมมิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง
7. สถานะของข้าราชการการเมืองอื่น ๆ สำหรับข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แม้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 จะบัญญัติให้ออกจากตำแหน่งเมื่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยเมื่อเดือนธันวาคม 2535 สรุปได้ว่า ข้าราชการการเมืองที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2521 จะยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง ดังนั้น ข้าราชการการเมืองทั้งหลายที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งยังคงปฏิบัติหน้าที่และได้รับเงินตอบแทนต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ลงอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
8. การยื่นบัญชีแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินของรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน
8.1 รัฐมนตรีที่มีสถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543) และต้องยื่นบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่รัฐมนตรีคณะใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์)
8.2 รัฐมนตรีที่ไม่มีสถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่รัฐมนตรีคณะใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์)
และทั้ง 2 กรณีมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย
9. ผลัดเวรเฝ้าฯ คงเป็นไปตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดตามปกติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-