คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสรุปสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา การเตรียมรับปริมาณน้ำเหนือที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำทะเลหนุน และมาตรการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้แล้ว ดังนี้
1. กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้แจ้งระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับสูงกว่าปกติและมักเกิดน้ำท่วม ซึ่งจากการคำนวณระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงสูงสุดประจำวันของเดือนตุลาคม 2548 ปรากฏว่าวันที่ น้ำทะเลหนุนสูงสุด คือ
- ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 09.00-13.00 น. และ 19.00-21.00 น.
- ระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 17.30-18.30 น.
- ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2548 จะเป็นช่วงเวลา 08.00-10.00 น.และ 18.00-19.00 น.
โดยในระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 10.00 น. และเวลา 20.00 น. ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงสุด ปรากฏว่าระดับน้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ สูง 1.65 เมตร ต่ำกว่าระดับแนวเขื่อนป้องกัน (ระดับคันกั้นน้ำ 3 เมตร) จึงไม่มีปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่ง
2. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีวิทยุแจ้งไปยังจังหวัด/กรุงเทพมหานครและศูนย์ ปภ.เขต ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง ดังนี้
1) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ขนย้ายสิ่งของที่จำเป็น ปลั๊กไฟ ที่นอนไปอยู่ในที่สูงขึ้น
2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนกระสอบทรายให้แก่ประชาชนเพื่อจัดวางแนวป้องกันน้ำที่จะทะลักเข้าบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
3) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกรุงเทพมหานครกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ /กิ่งอำเภอ เขต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
4) ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันที
3. ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 17 ตุลาคม 2548 เวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,554 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 9 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จำนวน 1,343 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 67 ลบ.ม./วินาที) และปิดการระบายจากเขื่อนพระรามหก จะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 1,343 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 100 ลบ.ม./วีนาที) (โดยจะควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะไม่ล้นตลิ่งในแนวคันป้องกัน)และปริมาณน้ำดังกล่าว จะยังไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแต่อย่างใด น้ำที่ไหลผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 3.48 เมตร จังหวัดอ่างทอง ต่ำกว่าตลิ่ง 2.26 เมตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่าตลิ่ง 2.28 เมตร
4. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มของจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ทุกจังหวัด เพื่อให้มีความพร้อมในการป้องกันสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดให้มีการประชุมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ณ โรงแรม เจ บี โฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) เป็นประธาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หัวหน้าโครงการชลประทานจังหวัด ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งผู้แทนกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 และ12 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกำหนดมาตรการเตรียมรับสถานการณ์ ดังนี้
4.1 ให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ข้อมูลกลุ่มฝนจากเรดาร์ตรวจอากาศจากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th ทุกชั่วโมง หรือคำเตือนจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณน้ำฝน ข้อมูลระดับน้ำทะเล ระดับน้ำในแม่น้ำ(สูงสุด/ต่ำสุด) รวมทั้งบริเวณที่อาจจะเกิดน้ำท่วม และโคลนถล่ม เพื่อให้การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง
4.2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะฯ ได้เดินทางไปตรวจติดตามความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งจากการตรวจติดตามได้รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการ ดังนี้
1) การดำเนินงานตามโครงการคลองระบายน้ำ ร.3, ร.4, ร.5, ร.6 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งสามารถระบายน้ำในพื้นที่เขาคอหงส์และบริเวณคลองอู่ตะเภาที่ผ่านอำเภอหาดใหญ่ลงสู่ทะเลสาบได้อีกทางหนึ่ง
2) โครงการคลองระบายน้ำ ร.1 (ประตูระบายน้ำหน้าควน) ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการที่รับการระบายน้ำได้ 450 ลบ.ม./วินาที เป็นโครงการที่สามารถช่วยเหลือการระบายน้ำของคลองอู่ตะเภาโดยมีระยะทาง 21 กม. ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 90 เปอร์เซนต์ โดยมีปัญหาอุปสรรคความล่าช้าเนื่องจากการเวนคืนที่ดินบริเวณ 3 จุดเป็นระยะทาง 2.1 กม.ในพื้นที่อำเภอนาหม่อม และอำเภอบางกล่ำ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย ซึ่งกรมชลประทานได้พยายามเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว สำหรับบริเวณที่มีปัญหาอุปสรรคที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ดังกล่าว กรมชลประทานได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้พร้อม หากมีปัญหาอุทกภัยก็สามารถเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบได้
3) ในขณะนี้เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้มีการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยการติดตั้งประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำและเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ตลอดจนการลอกท่อระบายน้ำ การกำจัดวัชพืชที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการกีดขวางทางระบายน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ถ้าหากไม่มีสถานการณ์ฝนตกหนักมากเกินปกติ คาดว่าจะสามารถป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาและในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้แจ้งระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับสูงกว่าปกติและมักเกิดน้ำท่วม ซึ่งจากการคำนวณระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงสูงสุดประจำวันของเดือนตุลาคม 2548 ปรากฏว่าวันที่ น้ำทะเลหนุนสูงสุด คือ
- ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 09.00-13.00 น. และ 19.00-21.00 น.
- ระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 17.30-18.30 น.
- ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2548 จะเป็นช่วงเวลา 08.00-10.00 น.และ 18.00-19.00 น.
โดยในระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 10.00 น. และเวลา 20.00 น. ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงสุด ปรากฏว่าระดับน้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ สูง 1.65 เมตร ต่ำกว่าระดับแนวเขื่อนป้องกัน (ระดับคันกั้นน้ำ 3 เมตร) จึงไม่มีปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่ง
2. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีวิทยุแจ้งไปยังจังหวัด/กรุงเทพมหานครและศูนย์ ปภ.เขต ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง ดังนี้
1) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ขนย้ายสิ่งของที่จำเป็น ปลั๊กไฟ ที่นอนไปอยู่ในที่สูงขึ้น
2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนกระสอบทรายให้แก่ประชาชนเพื่อจัดวางแนวป้องกันน้ำที่จะทะลักเข้าบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
3) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกรุงเทพมหานครกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ /กิ่งอำเภอ เขต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
4) ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันที
3. ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 17 ตุลาคม 2548 เวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,554 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 9 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จำนวน 1,343 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 67 ลบ.ม./วินาที) และปิดการระบายจากเขื่อนพระรามหก จะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 1,343 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 100 ลบ.ม./วีนาที) (โดยจะควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะไม่ล้นตลิ่งในแนวคันป้องกัน)และปริมาณน้ำดังกล่าว จะยังไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแต่อย่างใด น้ำที่ไหลผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 3.48 เมตร จังหวัดอ่างทอง ต่ำกว่าตลิ่ง 2.26 เมตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่าตลิ่ง 2.28 เมตร
4. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มของจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ทุกจังหวัด เพื่อให้มีความพร้อมในการป้องกันสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดให้มีการประชุมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ณ โรงแรม เจ บี โฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) เป็นประธาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หัวหน้าโครงการชลประทานจังหวัด ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งผู้แทนกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 และ12 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกำหนดมาตรการเตรียมรับสถานการณ์ ดังนี้
4.1 ให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ข้อมูลกลุ่มฝนจากเรดาร์ตรวจอากาศจากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th ทุกชั่วโมง หรือคำเตือนจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณน้ำฝน ข้อมูลระดับน้ำทะเล ระดับน้ำในแม่น้ำ(สูงสุด/ต่ำสุด) รวมทั้งบริเวณที่อาจจะเกิดน้ำท่วม และโคลนถล่ม เพื่อให้การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง
4.2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะฯ ได้เดินทางไปตรวจติดตามความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งจากการตรวจติดตามได้รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการ ดังนี้
1) การดำเนินงานตามโครงการคลองระบายน้ำ ร.3, ร.4, ร.5, ร.6 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งสามารถระบายน้ำในพื้นที่เขาคอหงส์และบริเวณคลองอู่ตะเภาที่ผ่านอำเภอหาดใหญ่ลงสู่ทะเลสาบได้อีกทางหนึ่ง
2) โครงการคลองระบายน้ำ ร.1 (ประตูระบายน้ำหน้าควน) ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการที่รับการระบายน้ำได้ 450 ลบ.ม./วินาที เป็นโครงการที่สามารถช่วยเหลือการระบายน้ำของคลองอู่ตะเภาโดยมีระยะทาง 21 กม. ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 90 เปอร์เซนต์ โดยมีปัญหาอุปสรรคความล่าช้าเนื่องจากการเวนคืนที่ดินบริเวณ 3 จุดเป็นระยะทาง 2.1 กม.ในพื้นที่อำเภอนาหม่อม และอำเภอบางกล่ำ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย ซึ่งกรมชลประทานได้พยายามเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว สำหรับบริเวณที่มีปัญหาอุปสรรคที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ดังกล่าว กรมชลประทานได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้พร้อม หากมีปัญหาอุทกภัยก็สามารถเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบได้
3) ในขณะนี้เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้มีการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยการติดตั้งประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำและเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ตลอดจนการลอกท่อระบายน้ำ การกำจัดวัชพืชที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการกีดขวางทางระบายน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ถ้าหากไม่มีสถานการณ์ฝนตกหนักมากเกินปกติ คาดว่าจะสามารถป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาและในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--