ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเกษตร (Agreement on Agriculture) ภายใต้กรอบการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อปี พ.ศ.2537 (ค.ศ.1994) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. การเปิดตลาด
1.1 การลดภาษีทั่วไป จากพันธกรณีที่ไทยมีอยู่ภายใต้ความตกลงเกษตรปรากฏว่าในระยะที่ผ่านมา 5 ปี ไทยได้ลดภาษีศุลกากรจริงเพียง 564 รายการ จาก 740 รายการ เนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจริงในปัจจุบันของสินค้าส่วนที่เหลือ 176 รายการ ต่ำกว่าอัตราที่ไทยไปผูกพันไว้ว่าจะลดอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะมีการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการเกษตรภายใน ดังเห็นได้จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 ให้เพิ่มอัตราภาษีศุลกากรของนมผงที่มีไขมันเกิน 1.5%(Whole milk powder) ให้อยู่ในระดับสูงสุด ตามที่ได้ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก จากอัตราเดิมที่เก็บร้อยละ 5 เป็นอัตราร้อยละ 18 (อัตราที่ผูกพันไว้ในปี 2547)
1.2 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร 23 รายการภายใต้ระบบโควต้าภาษี ที่ผ่านมาไม่ได้มีผลกระทบต่อเกษตรกรแต่อย่างใด
2. การอุดหนุนการผลิตภายใน
2.1 ไทยให้การอุดหนุนการผลิตที่บิดเบือนกลไกตลาดเพิ่มขึ้นจาก 15,773.25 ล้านบาท ในปี 2538เป็น 16,402.10 ล้านบาท ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ทำให้มูลค่าการอุดหนุนต่ำกว่าข้อผูกพันเพียงเล็กน้อย แต่หากการอุดหนุนเพิ่มขึ้นเช่นนี้เรื่อย ๆ ในปีที่ 10 (2547) ไทยจะมียอดการอุดหนุนรวมเกินกว่าพันธกรณีที่ผูกพันไว้คือ19,028.48 ล้านบาท นอกจากนี้ ไทยยังให้การอุดหนุนการผลิตภายในที่มียอดต่ำกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าการผลิตของสินค้าเกษตรต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ขัดกับบทบัญญัติขององค์การการค้าโลก
2.2 สำหรับการอุดหนุนภายในที่ไม่มีผลบิดเบือนต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งรวมถึงการอุดหนุนเพื่อการศึกษาวิจัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการอุดหนุนในด้านปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ฯลฯ และการอุดหนุนการลงทุน เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยได้ให้การอุดหนุนภายใต้ข้อยกเว้นนี้ ได้เพิ่มขึ้นจาก 33,594.33 ล้านบาท ในปี2538 เป็น 42,826.82 ล้านบาท ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 ในขณะที่การอุดหนุนปัจจัยการผลิตและการอุดหนุนการลงทุนซึ่งเป็นการอุดหนุนภายใต้ข้อยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น มีแนวโน้มที่ลดลง
2.3 การอุดหนุนที่มีผลบิดเบือนการค้า ไทยยังคงดำเนินการอยู่แม้ตามพันธกรณีจะต้องลดลงเป็นลำดับแต่เนื่องจากเป็นการลดที่ยอดรวมของการอุดหนุน จึงสามารถปรับเปลี่ยนสินค้าและปริมาณการอุดหนุนแต่ละตัว เพื่อให้ยอดรวมลดลงได้
3. การอุดหนุนการส่งออก
แม้ว่าไทยจะไม่สามารถให้การอุดหนุนส่งออกได้ แต่ที่ผ่านมาไทยได้ให้การอุดหนุนการส่งออกภายใต้ข้อยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เรื่องการอุดหนุนส่งออกเพื่อลดต้นทุนการตลาดที่รวมถึงต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ และเรื่องการอุดหนุนส่งออกด้านการขนส่งภายใน สินค้าทที่ไทยให้การอุดหนุนการส่งออกภายใต้ข้อยกเว้นนี้ ได้แก่ สินค้าข้าว ไข่ และมันสำปะหลังอัดเม็ด
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยซึ่งไม่สามารถให้การอุดหนุนการส่งออกได้ แต่ได้อ้างข้อยกเว้นเพื่อให้การอุดหนุนส่งออกในสินค้าเกษตรบางรายการนั้น ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันว่าทำได้หรือไม่ แต่ในชั้นนี้ ยังไม่มีสมาชิกใดนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO
แนวทางในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของไทย
1) จะต้องผลักดันให้ระบบการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ มีความเสรีและเป็นธรรมยิ่งขึ้นไปอีก
2) จะต้องมีการศึกษาอย่างถ่องแท้ว่าในบรรดาสินค้าเกษตรทั้งหลาย มีสินค้าใดบ้างที่ไทยมีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่งและเป็นสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลก เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของสินเค้าเหล่านี้ต่อไป
3) รัฐควรดำเนินการอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อพันธกรณี เช่น การเสริมสร้างความนิยมในสินค้าไทย การแสวงหาตลาดใหม่ การผลิตอาหารธรรมชาติปลอดสารพิษ
4) รัฐอาจใช้มาตรการที่บิดเบือนตลาดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาวิกฤติในระยะสั้น แต่ควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการใช้มาตรการเหล่านั้นด้วย โดยไม่ปล่อยให้เป็นมาตรการถาวรหรือกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในแต่ละปี โดยมิได้ช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น
5) ในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ควรใช้มาตรการการอุดหนุนที่สอดคล้องกับความตกลงเกษตร อาทิ การอุดหนุนปัจจัยการผลิต และการอุดหนุนการลงทุน เป็นต้น 6) ควรปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเกษตร (Agreement on Agriculture) ภายใต้กรอบการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อปี พ.ศ.2537 (ค.ศ.1994) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. การเปิดตลาด
1.1 การลดภาษีทั่วไป จากพันธกรณีที่ไทยมีอยู่ภายใต้ความตกลงเกษตรปรากฏว่าในระยะที่ผ่านมา 5 ปี ไทยได้ลดภาษีศุลกากรจริงเพียง 564 รายการ จาก 740 รายการ เนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจริงในปัจจุบันของสินค้าส่วนที่เหลือ 176 รายการ ต่ำกว่าอัตราที่ไทยไปผูกพันไว้ว่าจะลดอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะมีการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการเกษตรภายใน ดังเห็นได้จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 ให้เพิ่มอัตราภาษีศุลกากรของนมผงที่มีไขมันเกิน 1.5%(Whole milk powder) ให้อยู่ในระดับสูงสุด ตามที่ได้ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก จากอัตราเดิมที่เก็บร้อยละ 5 เป็นอัตราร้อยละ 18 (อัตราที่ผูกพันไว้ในปี 2547)
1.2 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร 23 รายการภายใต้ระบบโควต้าภาษี ที่ผ่านมาไม่ได้มีผลกระทบต่อเกษตรกรแต่อย่างใด
2. การอุดหนุนการผลิตภายใน
2.1 ไทยให้การอุดหนุนการผลิตที่บิดเบือนกลไกตลาดเพิ่มขึ้นจาก 15,773.25 ล้านบาท ในปี 2538เป็น 16,402.10 ล้านบาท ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ทำให้มูลค่าการอุดหนุนต่ำกว่าข้อผูกพันเพียงเล็กน้อย แต่หากการอุดหนุนเพิ่มขึ้นเช่นนี้เรื่อย ๆ ในปีที่ 10 (2547) ไทยจะมียอดการอุดหนุนรวมเกินกว่าพันธกรณีที่ผูกพันไว้คือ19,028.48 ล้านบาท นอกจากนี้ ไทยยังให้การอุดหนุนการผลิตภายในที่มียอดต่ำกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าการผลิตของสินค้าเกษตรต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ขัดกับบทบัญญัติขององค์การการค้าโลก
2.2 สำหรับการอุดหนุนภายในที่ไม่มีผลบิดเบือนต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งรวมถึงการอุดหนุนเพื่อการศึกษาวิจัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการอุดหนุนในด้านปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ฯลฯ และการอุดหนุนการลงทุน เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยได้ให้การอุดหนุนภายใต้ข้อยกเว้นนี้ ได้เพิ่มขึ้นจาก 33,594.33 ล้านบาท ในปี2538 เป็น 42,826.82 ล้านบาท ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 ในขณะที่การอุดหนุนปัจจัยการผลิตและการอุดหนุนการลงทุนซึ่งเป็นการอุดหนุนภายใต้ข้อยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น มีแนวโน้มที่ลดลง
2.3 การอุดหนุนที่มีผลบิดเบือนการค้า ไทยยังคงดำเนินการอยู่แม้ตามพันธกรณีจะต้องลดลงเป็นลำดับแต่เนื่องจากเป็นการลดที่ยอดรวมของการอุดหนุน จึงสามารถปรับเปลี่ยนสินค้าและปริมาณการอุดหนุนแต่ละตัว เพื่อให้ยอดรวมลดลงได้
3. การอุดหนุนการส่งออก
แม้ว่าไทยจะไม่สามารถให้การอุดหนุนส่งออกได้ แต่ที่ผ่านมาไทยได้ให้การอุดหนุนการส่งออกภายใต้ข้อยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เรื่องการอุดหนุนส่งออกเพื่อลดต้นทุนการตลาดที่รวมถึงต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ และเรื่องการอุดหนุนส่งออกด้านการขนส่งภายใน สินค้าทที่ไทยให้การอุดหนุนการส่งออกภายใต้ข้อยกเว้นนี้ ได้แก่ สินค้าข้าว ไข่ และมันสำปะหลังอัดเม็ด
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยซึ่งไม่สามารถให้การอุดหนุนการส่งออกได้ แต่ได้อ้างข้อยกเว้นเพื่อให้การอุดหนุนส่งออกในสินค้าเกษตรบางรายการนั้น ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันว่าทำได้หรือไม่ แต่ในชั้นนี้ ยังไม่มีสมาชิกใดนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO
แนวทางในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของไทย
1) จะต้องผลักดันให้ระบบการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ มีความเสรีและเป็นธรรมยิ่งขึ้นไปอีก
2) จะต้องมีการศึกษาอย่างถ่องแท้ว่าในบรรดาสินค้าเกษตรทั้งหลาย มีสินค้าใดบ้างที่ไทยมีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่งและเป็นสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลก เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของสินเค้าเหล่านี้ต่อไป
3) รัฐควรดำเนินการอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อพันธกรณี เช่น การเสริมสร้างความนิยมในสินค้าไทย การแสวงหาตลาดใหม่ การผลิตอาหารธรรมชาติปลอดสารพิษ
4) รัฐอาจใช้มาตรการที่บิดเบือนตลาดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาวิกฤติในระยะสั้น แต่ควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการใช้มาตรการเหล่านั้นด้วย โดยไม่ปล่อยให้เป็นมาตรการถาวรหรือกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในแต่ละปี โดยมิได้ช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น
5) ในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ควรใช้มาตรการการอุดหนุนที่สอดคล้องกับความตกลงเกษตร อาทิ การอุดหนุนปัจจัยการผลิต และการอุดหนุนการลงทุน เป็นต้น 6) ควรปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มิ.ย. 2543--
-สส-