คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้องค์การสวนยางกู้เงินธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มเติม จำนวน 4,000 ล้านบาท มีระยะเวลาสิ้นสุด ณ 30 ธันวาคม 2545 โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเพื่อใช้ดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราต่อไป ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีไว้แล้ว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ในระหว่างรอการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พัฒนายางพาราไทยช่วงปี 2545 - 2549 โดยอนุมัติให้เริ่มดำเนินการแทรกแซงตลาดยางพาราตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. การดำเนินงานตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2542 ถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2544 ได้ใช้เงินรวมทั้งสิ้น 14,810.8 ล้านบาท ใช้จากรายได้จากการขายยางของโครงการฯ จำนวน7,994.6 ล้านบาท และใช้วงเงินกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6,816.2 ล้านบาท
2. สถานะการเงินของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2544 เงินคงเหลือในบัญชีองค์การสวนยาง 45 ล้านบาท เงินคงเหลือในบัญชีสหกรณ์จังหวัดและเกษตรจังหวัด 103 ล้านบาทเงินที่คาดว่าจะเก็บจากการขายยาง 246 ล้านบาท เงินที่จะได้จากทำสินเชื่อเพื่อการส่งออก 487 ล้านบาท รวมเป็นเงิน881 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถใช้ซื้อยางได้ประมาณ 7 - 10 วัน
3. การทำสินเชื่อการส่งออกเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนซื้อยางต่อไป จำเป็นต้องขายยางในสต๊อคที่มีอยู่ซึ่งในปัจจุบันสต๊อคยางที่ไม่มีภาระผูกพันในการส่งมอบและทำสัญญาขายไว้แล้ว จำนวน 49,950 ตัน (มูลค่าประมาณ1,040 ล้านบาท) หากเร่งรีบนำยางจำนวนนี้ออกขายจะส่งผลกระทบในราคายางภายในประเทศยิ่งต่ำลง ปริมาณยางที่ต้องดำเนินการแทรกแซง หากราคายางท้องถิ่นยังอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 15.50 - 16.80 บาท ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 - 31 มีนาคม 2545
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. การดำเนินงานตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2542 ถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2544 ได้ใช้เงินรวมทั้งสิ้น 14,810.8 ล้านบาท ใช้จากรายได้จากการขายยางของโครงการฯ จำนวน7,994.6 ล้านบาท และใช้วงเงินกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6,816.2 ล้านบาท
2. สถานะการเงินของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2544 เงินคงเหลือในบัญชีองค์การสวนยาง 45 ล้านบาท เงินคงเหลือในบัญชีสหกรณ์จังหวัดและเกษตรจังหวัด 103 ล้านบาทเงินที่คาดว่าจะเก็บจากการขายยาง 246 ล้านบาท เงินที่จะได้จากทำสินเชื่อเพื่อการส่งออก 487 ล้านบาท รวมเป็นเงิน881 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถใช้ซื้อยางได้ประมาณ 7 - 10 วัน
3. การทำสินเชื่อการส่งออกเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนซื้อยางต่อไป จำเป็นต้องขายยางในสต๊อคที่มีอยู่ซึ่งในปัจจุบันสต๊อคยางที่ไม่มีภาระผูกพันในการส่งมอบและทำสัญญาขายไว้แล้ว จำนวน 49,950 ตัน (มูลค่าประมาณ1,040 ล้านบาท) หากเร่งรีบนำยางจำนวนนี้ออกขายจะส่งผลกระทบในราคายางภายในประเทศยิ่งต่ำลง ปริมาณยางที่ต้องดำเนินการแทรกแซง หากราคายางท้องถิ่นยังอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 15.50 - 16.80 บาท ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 - 31 มีนาคม 2545
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-