คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการจัดทำโครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้ใช้งบประมาณจากองค์กรภายนอกที่ไม่ใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล ยกเว้นค่าเบี้ยเลี้ยงยานพาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งนี้ เพื่อจะได้หาข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้มีการศึกษาถึงประเด็นนิเวศวิทยา การจ้างงาน ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หากการศึกษาแล้วเสร็จ ถ้าพิจารณาว่าเป็นผลดีจะต้องมีการนำไปทำการประชาพิจารณ์ต่อไป
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมา ได้มีการเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวหลายหนทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขุดคลองเชื่อมสองฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเรียกกันว่า "คอคอดกระ" หรือ "คลองกระ" จะเกิดเป็นเส้นทางใหม่ในการคมนาคมทางทะเลของโลกที่เอื้อผลประโยชน์ในด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ประชาชนจำนวนมาก เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้มีเสถียรภาพและมั่นคงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมควรที่จะพิจารณาใช้เป็นโครงการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
การศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระในอดีตที่ผ่านมาได้มีเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นต้น(Pre Feasibility Study) เท่านั้น ทำให้ผลสรุปที่ได้รับจากการศึกษายังไม่ครอบคลุมทุกด้าน เป็นเหตุให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน กระทรวงการคลังจึงเห็นควรศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ (Full Feasibility Study) ในการขุดคลองกระ โดยได้จัดทำโครงการศึกษาเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งมีองค์การภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศได้แสดงความจำนงร่วมทำการศึกษาและจัดหากองทุนสนับสนุนแบบให้เปล่าจนแล้วเสร็จ โดยสาระสำคัญของโครงการมี ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.1 การศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์จะเป็นการยืนยันตามหลักวิชาการว่า โครงการขุดคลองกระมีความเป็นไปได้ (Feasibility) สามารถยอมรับได้ (Acceptability) และมีความเหมาะสม (Suitability) ซึ่งจะเป็นข้อมูลนำไปสู่การตัดสินใจของประชาชนและรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไป
1.2 เพื่อพิจารณาและศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพลังอำนาจแห่งชาติทุกด้าน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความมั่นคงแห่งชาติ
1.3 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเลือกเส้นทางแนวคลองวิศวกรรมการก่อสร้างคลอง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
1.4 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจการลงทุนและความคุ้มค่าในการลงทุน
1.5 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในด้านการรับฟังความคิดเห็นและการแสดงประชามติ หรือประชาพิจารณ์ (Public Hearing) จากประชาชน
2. ขอบเขตการศึกษา
2.1 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ โดยมีผู้แทนของส่วนราชการทุกกระทรวบ ทบวง กรม นักวิชาการ ประชาชน และองค์กรพัฒนาภาคเอกชนร่วมเป็นคณะกรรมการ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการดังกล่าวอยู่ภายใต้นโยบายและการกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.2 จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการลงทุน และความคุ้มค่าในการลงทุน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการสร้างงาน และด้านความมั่นคงแห่งชาติ
2.3 ขอรับการสนับสนุนองค์กรภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ
2.4 นำเสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ เพื่อเป็นข้อมูลและทิศทางในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลต่อไป
3. สมมติฐานการศึกษา
3.1 การขุดคลองกระ จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโลก เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยทั้งยุทธศาสตร์ทางทหารและยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ
3.2 ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากคลองกระขึ้นอยู่กับความน่าจะเกิดของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องบริเวณแนวคลองและปากคลองทั้งสองด้าน
3.3 ความเป็นไปได้ในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของคลองกระจะมีศักยภาพที่ดีกว่าคลองสุเอชคลองปานามา และคลองคีล ขณะเดียวกันอาจจะมีความใกล้เคียงกับกิจกรรมบริเวณช่องแคบมะละกา
4. วิธีดำเนินการศึกษา
4.1 รวบรวมและวิเคราะห์ผลการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นต้น (Pre Feasibility Study) จากเอกสารของคณะกรรมาธิการฯ สภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการและประชาชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้เคยทำการศึกษาไว้แล้ว ใช้เป็นข้อมูลต่อเนื่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ต่อไป
4.2 ศึกษาโครงการโดยการแบ่งมอบกลุ่มงานให้กับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ตลอดจนจัดตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ศึกษารายละเอียดให้ครอบคลุมสาขางานทุกด้าน รวมทั้งติดต่อประสานงานขอรับการสนับสนุนการศึกษาแบบให้เปล่าจากภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ตามความเหมาะสม
4.3 ศึกษาโดยการจัดประชุมสัมมนาระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ นักวิชาการ และประชาชนที่สนใจโครงการขุดคลองกระ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิชาการและความคิดเห็นทีเกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
4.4 ศึกษาภาคสนามโดยเดินทางไปศึกษา สังเกต และตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ภาคใต้ตามความเหมาะสม
4.5 จัดทำแบบสอบถามและรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนจัดทำประชามติ หรือประชาพิจารณ์(Public Hearing) ให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ฯ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน และจัดทำประชามติหรือประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
สำหรับงบประมาณดำเนินการ เบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่ายานพาหนะของคณะกรรมการฯ เบิกจ่ายได้จากสำนักนายกรัฐมนตรีตามความจำเป็น และค่าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องช่วยประกอบการศึกษาพิจารณาใช้งบประมาณจากการสนับสนุนขององค์กรอื่น ๆ
5. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 ผลสรุปการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์จะทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทุกมิติ ถ้าปรากฏผลการศึกษาว่าโครงการฯ มีความเป็นไปได้ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ตลอดจนเอื้อผลประโยชน์ในการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม จะทำให้ประชาชนและรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย นำไปตัดสินใจเป็นนโยบายของประเทศต่อไป ในทางตรงข้ามถ้าผลการศึกษาฯ สรุปได้ว่า โครงการฯ มีความเป็นไปไม่ได้ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ประชาชนและรัฐบาลก็ยิติโครงการฯ ดังกล่าวได้
5.2 ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมีส่วนร่วมในการพิจารณาและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ จากการประชาสัมพันธ์ การสัมมนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดทำประชามติและการจัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) โดยผลสรุปที่คณะกรรมการได้รับสามารถนำไปเป็นข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมา ได้มีการเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวหลายหนทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขุดคลองเชื่อมสองฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเรียกกันว่า "คอคอดกระ" หรือ "คลองกระ" จะเกิดเป็นเส้นทางใหม่ในการคมนาคมทางทะเลของโลกที่เอื้อผลประโยชน์ในด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ประชาชนจำนวนมาก เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้มีเสถียรภาพและมั่นคงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมควรที่จะพิจารณาใช้เป็นโครงการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
การศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระในอดีตที่ผ่านมาได้มีเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นต้น(Pre Feasibility Study) เท่านั้น ทำให้ผลสรุปที่ได้รับจากการศึกษายังไม่ครอบคลุมทุกด้าน เป็นเหตุให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน กระทรวงการคลังจึงเห็นควรศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ (Full Feasibility Study) ในการขุดคลองกระ โดยได้จัดทำโครงการศึกษาเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งมีองค์การภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศได้แสดงความจำนงร่วมทำการศึกษาและจัดหากองทุนสนับสนุนแบบให้เปล่าจนแล้วเสร็จ โดยสาระสำคัญของโครงการมี ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.1 การศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์จะเป็นการยืนยันตามหลักวิชาการว่า โครงการขุดคลองกระมีความเป็นไปได้ (Feasibility) สามารถยอมรับได้ (Acceptability) และมีความเหมาะสม (Suitability) ซึ่งจะเป็นข้อมูลนำไปสู่การตัดสินใจของประชาชนและรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไป
1.2 เพื่อพิจารณาและศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพลังอำนาจแห่งชาติทุกด้าน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความมั่นคงแห่งชาติ
1.3 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเลือกเส้นทางแนวคลองวิศวกรรมการก่อสร้างคลอง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
1.4 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจการลงทุนและความคุ้มค่าในการลงทุน
1.5 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในด้านการรับฟังความคิดเห็นและการแสดงประชามติ หรือประชาพิจารณ์ (Public Hearing) จากประชาชน
2. ขอบเขตการศึกษา
2.1 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ โดยมีผู้แทนของส่วนราชการทุกกระทรวบ ทบวง กรม นักวิชาการ ประชาชน และองค์กรพัฒนาภาคเอกชนร่วมเป็นคณะกรรมการ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการดังกล่าวอยู่ภายใต้นโยบายและการกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.2 จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการลงทุน และความคุ้มค่าในการลงทุน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการสร้างงาน และด้านความมั่นคงแห่งชาติ
2.3 ขอรับการสนับสนุนองค์กรภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ
2.4 นำเสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ เพื่อเป็นข้อมูลและทิศทางในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลต่อไป
3. สมมติฐานการศึกษา
3.1 การขุดคลองกระ จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโลก เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยทั้งยุทธศาสตร์ทางทหารและยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ
3.2 ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากคลองกระขึ้นอยู่กับความน่าจะเกิดของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องบริเวณแนวคลองและปากคลองทั้งสองด้าน
3.3 ความเป็นไปได้ในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของคลองกระจะมีศักยภาพที่ดีกว่าคลองสุเอชคลองปานามา และคลองคีล ขณะเดียวกันอาจจะมีความใกล้เคียงกับกิจกรรมบริเวณช่องแคบมะละกา
4. วิธีดำเนินการศึกษา
4.1 รวบรวมและวิเคราะห์ผลการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นต้น (Pre Feasibility Study) จากเอกสารของคณะกรรมาธิการฯ สภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการและประชาชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้เคยทำการศึกษาไว้แล้ว ใช้เป็นข้อมูลต่อเนื่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ต่อไป
4.2 ศึกษาโครงการโดยการแบ่งมอบกลุ่มงานให้กับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ตลอดจนจัดตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ศึกษารายละเอียดให้ครอบคลุมสาขางานทุกด้าน รวมทั้งติดต่อประสานงานขอรับการสนับสนุนการศึกษาแบบให้เปล่าจากภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ตามความเหมาะสม
4.3 ศึกษาโดยการจัดประชุมสัมมนาระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ นักวิชาการ และประชาชนที่สนใจโครงการขุดคลองกระ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิชาการและความคิดเห็นทีเกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
4.4 ศึกษาภาคสนามโดยเดินทางไปศึกษา สังเกต และตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ภาคใต้ตามความเหมาะสม
4.5 จัดทำแบบสอบถามและรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนจัดทำประชามติ หรือประชาพิจารณ์(Public Hearing) ให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์ฯ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน และจัดทำประชามติหรือประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
สำหรับงบประมาณดำเนินการ เบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่ายานพาหนะของคณะกรรมการฯ เบิกจ่ายได้จากสำนักนายกรัฐมนตรีตามความจำเป็น และค่าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องช่วยประกอบการศึกษาพิจารณาใช้งบประมาณจากการสนับสนุนขององค์กรอื่น ๆ
5. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 ผลสรุปการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นสมบูรณ์จะทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทุกมิติ ถ้าปรากฏผลการศึกษาว่าโครงการฯ มีความเป็นไปได้ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ตลอดจนเอื้อผลประโยชน์ในการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม จะทำให้ประชาชนและรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย นำไปตัดสินใจเป็นนโยบายของประเทศต่อไป ในทางตรงข้ามถ้าผลการศึกษาฯ สรุปได้ว่า โครงการฯ มีความเป็นไปไม่ได้ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ประชาชนและรัฐบาลก็ยิติโครงการฯ ดังกล่าวได้
5.2 ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมีส่วนร่วมในการพิจารณาและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ จากการประชาสัมพันธ์ การสัมมนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดทำประชามติและการจัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) โดยผลสรุปที่คณะกรรมการได้รับสามารถนำไปเป็นข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-