คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนรายงานผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2548 ของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ในห้วงระยะเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2547 ถึง วันที่ 2 มกราคม 2548 รวม 5 วัน ดังนี้
1. ผู้เสียชีวิต 367 คน เปรียบเทียบกับปี 2547 (520 คน) น้อยกว่า 153 คน หรือลดลง 29.42%
2. อายุผู้เสียชีวิตสะสม เด็ก (น้อยกว่า 15 ปี) มี 4.24% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด วัยรุ่น (15 — 25 ปี) มี 37.86% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด วัยแรงงาน (26 — 40 ปี) มี 57.89% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
3. พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ไม่สวมหมวกนิรภัย 32.72% ของจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ 2) เมาสุรา 14.51% ของจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ 3) ขับรถเร็ว 12.96% ของจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ
4. ประเภทรถที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) มอเตอร์ไซค์ 6642% 2) รถปิกอัพ 12.04% 3) รถยนต์ส่วนบุคคล 10.58%
5. ประเภทถนนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ทางหลวงแผ่นดิน 59.66% 2) ทางประเภทอื่น ๆ 40.34%
6. ลักษณะจุดเกิดเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ทางตรง 64.60% 2) ทางโค้ง 24.40% 3) ทางแยก 10.65%
7. ช่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ช่วงเวลา 20.01— 04.00 น.41.30% 2) ช่วงเวลา 04.01 —12.00 น. 32.58% 3) ช่วงเวลา 12.01 — 20.00 น. 26.13%
8. การตั้งจุดตรวจทุกวัน ดำเนินการดังนี้ ตั้งจุดตรวจเฉลี่ยวันละ 3,956 จุด เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเฉลี่ยวันละ93,291 คน การเรียกตรวจ 5,897,583 คัน การดำเนินคดี 2,391,227 ราย ซึ่งแบ่งเป็นความผิดสูงสุด ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่ 29.75% ของการเรียกตรวจ เมาสุรา 22.51% ของการเรียกตรวจ และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 17.01% ของการเรียกตรวจ
จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ดังนี้
1. การเดินทางประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมีการเดินทางน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
2. เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ถล่มจังหวัดภาคใต้ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเสียหายอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผู้คนโดยทั่วไป มีความสลดหดหู่ และยังเศร้าสลด การเฉลิมฉลองในเทศกาลปีใหม่ด้วยการดื่มสุราและความคึกคะนองจึงไม่มีให้พบเห็นมากนัก
3. การดำเนินงานของหน่วยงานรับผิดชอบ ทุกหน่วยงานได้ร่วมกันปฏิบัติงานตามมาตรการอย่างมีระบบที่ดีขึ้น เช่น การจัดตั้งจุดตรวจจำนวนมากและครอบคลุมทั้งประเทศ การมีเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและใช้อย่างคุ้มค่า หน่วยบริการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาตลอดเส้นทางสายหลัก/สายสำคัญ หน่วยการช่วยเหลือฉุกเฉิน การประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและต่อเนื่อง ตลอดจนการอำนวยการติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาในทุกช่วงเวลาและทันต่อเหตุการณ์
4. การมีส่วนร่วม ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน มีความเข้าใจและให้ความสนใจต่อปัญหา อุบัติเหตุทางถนน ภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กรเครือข่ายลดอุบัติเหตุต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง สื่อมวลชนทุกแขนง มีการนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ และสร้างกระแสปลุกจิตสำนึกในเรื่องอุบัติเหตุมาโดยตลอด
5. ความเสียสละของเจ้าหน้าที่ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เป็นงานที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำอย่างจริงจังและจริงใจ เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่ายที่ได้รับมอบหมายภารกิจได้ทำงานด้วยความเสียสละ ทุ่มเท และตั้งใจจริง เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทางเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่พี่น้องประชาชนทุกคน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
1. ผู้เสียชีวิต 367 คน เปรียบเทียบกับปี 2547 (520 คน) น้อยกว่า 153 คน หรือลดลง 29.42%
2. อายุผู้เสียชีวิตสะสม เด็ก (น้อยกว่า 15 ปี) มี 4.24% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด วัยรุ่น (15 — 25 ปี) มี 37.86% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด วัยแรงงาน (26 — 40 ปี) มี 57.89% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
3. พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ไม่สวมหมวกนิรภัย 32.72% ของจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ 2) เมาสุรา 14.51% ของจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ 3) ขับรถเร็ว 12.96% ของจำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ
4. ประเภทรถที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) มอเตอร์ไซค์ 6642% 2) รถปิกอัพ 12.04% 3) รถยนต์ส่วนบุคคล 10.58%
5. ประเภทถนนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ทางหลวงแผ่นดิน 59.66% 2) ทางประเภทอื่น ๆ 40.34%
6. ลักษณะจุดเกิดเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ทางตรง 64.60% 2) ทางโค้ง 24.40% 3) ทางแยก 10.65%
7. ช่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ 1) ช่วงเวลา 20.01— 04.00 น.41.30% 2) ช่วงเวลา 04.01 —12.00 น. 32.58% 3) ช่วงเวลา 12.01 — 20.00 น. 26.13%
8. การตั้งจุดตรวจทุกวัน ดำเนินการดังนี้ ตั้งจุดตรวจเฉลี่ยวันละ 3,956 จุด เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเฉลี่ยวันละ93,291 คน การเรียกตรวจ 5,897,583 คัน การดำเนินคดี 2,391,227 ราย ซึ่งแบ่งเป็นความผิดสูงสุด ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่ 29.75% ของการเรียกตรวจ เมาสุรา 22.51% ของการเรียกตรวจ และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 17.01% ของการเรียกตรวจ
จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ดังนี้
1. การเดินทางประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมีการเดินทางน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
2. เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ถล่มจังหวัดภาคใต้ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเสียหายอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผู้คนโดยทั่วไป มีความสลดหดหู่ และยังเศร้าสลด การเฉลิมฉลองในเทศกาลปีใหม่ด้วยการดื่มสุราและความคึกคะนองจึงไม่มีให้พบเห็นมากนัก
3. การดำเนินงานของหน่วยงานรับผิดชอบ ทุกหน่วยงานได้ร่วมกันปฏิบัติงานตามมาตรการอย่างมีระบบที่ดีขึ้น เช่น การจัดตั้งจุดตรวจจำนวนมากและครอบคลุมทั้งประเทศ การมีเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและใช้อย่างคุ้มค่า หน่วยบริการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาตลอดเส้นทางสายหลัก/สายสำคัญ หน่วยการช่วยเหลือฉุกเฉิน การประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและต่อเนื่อง ตลอดจนการอำนวยการติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาในทุกช่วงเวลาและทันต่อเหตุการณ์
4. การมีส่วนร่วม ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน มีความเข้าใจและให้ความสนใจต่อปัญหา อุบัติเหตุทางถนน ภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กรเครือข่ายลดอุบัติเหตุต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง สื่อมวลชนทุกแขนง มีการนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ และสร้างกระแสปลุกจิตสำนึกในเรื่องอุบัติเหตุมาโดยตลอด
5. ความเสียสละของเจ้าหน้าที่ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เป็นงานที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำอย่างจริงจังและจริงใจ เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่ายที่ได้รับมอบหมายภารกิจได้ทำงานด้วยความเสียสละ ทุ่มเท และตั้งใจจริง เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทางเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่พี่น้องประชาชนทุกคน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--