ทำเนียบรัฐบาล--15 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบความช่วยเหลือจากธนาคารโลกเพื่อเตรียมความพร้อมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 40 รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ขึ้น และพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้โอนบรรดากิจกรรม ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เว้นแต่กิจการไปรษณีย์และงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำซึ่งมีผู้ครองอยู่ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของสำนักงาน กทช. ตามขอบเขต อำนาจ และหน้าที่ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ กระทรวงคมนาคมจึงได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลกในการจัดทำโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. ซึ่งธนาคารโลกได้ตกลงให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Public Private Infrastructure Advisory Facility : PPIAF) เป็นจำนวน 258,000 เหรียญสหรัฐฯ ในการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายเพื่อมาจัดเตรียมร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยธนาคารโลกจะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการเบิกจ่ายเงินและการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเองทั้งหมด สำหรับฝ่ายไทยจะต้องร่วมสมทบค่าใช้จ่ายด้วย คิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 35,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นเงินเดือนของข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานร่วมกับที่ปรึกษา (Counterpart Staff) โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
1.2 ค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่ทำงานให้แก่ที่ปรึกษา รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ ซึ่งจะใช้สถานที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นที่ทำงานของที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดสาธารณูปโภคของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
1.3 ค่าใช้จ่ายในด้านวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดค่าตอบแทนค่าใช้สอยและวัสดุ ของกรมไปรษณีย์โทรเลขเช่นเดียวกัน
1.4 ค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษาในต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานโดยตรงแก่ข้าราชการที่จะไปปฏิบัติงานในสำนักงาน กทช. ต่อไป จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดรายจ่ายอื่นและรายการค่าใช้จ่ายในการเจรจาธุรกิจและประชุมนานาชาติของกระทรวงคมนาคมที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
2. โดยสรุปค่าใช้จ่ายในส่วนที่ฝ่ายไทยต้องร่วมสมทบด้วยนั้นจะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะได้ร่วมกับธนาคารโลกดำเนินการโครงการดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงตามวัถตุประสงค์ และเมื่อการจัดตั้งสำนักงานกทช. แล้วเสร็จเมื่อใดก็จะได้ให้สำนักงาน กทช. เป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพื่อประสานการดำเนินงานในเรื่องนี้ร่วมกับธนาคารโลกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส
คณะรัฐมนตรีรับทราบความช่วยเหลือจากธนาคารโลกเพื่อเตรียมความพร้อมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 40 รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ขึ้น และพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้โอนบรรดากิจกรรม ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เว้นแต่กิจการไปรษณีย์และงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำซึ่งมีผู้ครองอยู่ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของสำนักงาน กทช. ตามขอบเขต อำนาจ และหน้าที่ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ กระทรวงคมนาคมจึงได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลกในการจัดทำโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. ซึ่งธนาคารโลกได้ตกลงให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Public Private Infrastructure Advisory Facility : PPIAF) เป็นจำนวน 258,000 เหรียญสหรัฐฯ ในการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายเพื่อมาจัดเตรียมร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยธนาคารโลกจะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการเบิกจ่ายเงินและการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเองทั้งหมด สำหรับฝ่ายไทยจะต้องร่วมสมทบค่าใช้จ่ายด้วย คิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 35,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นเงินเดือนของข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานร่วมกับที่ปรึกษา (Counterpart Staff) โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
1.2 ค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่ทำงานให้แก่ที่ปรึกษา รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ ซึ่งจะใช้สถานที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นที่ทำงานของที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดสาธารณูปโภคของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
1.3 ค่าใช้จ่ายในด้านวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดค่าตอบแทนค่าใช้สอยและวัสดุ ของกรมไปรษณีย์โทรเลขเช่นเดียวกัน
1.4 ค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษาในต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานโดยตรงแก่ข้าราชการที่จะไปปฏิบัติงานในสำนักงาน กทช. ต่อไป จะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินในหมวดรายจ่ายอื่นและรายการค่าใช้จ่ายในการเจรจาธุรกิจและประชุมนานาชาติของกระทรวงคมนาคมที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
2. โดยสรุปค่าใช้จ่ายในส่วนที่ฝ่ายไทยต้องร่วมสมทบด้วยนั้นจะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะได้ร่วมกับธนาคารโลกดำเนินการโครงการดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงตามวัถตุประสงค์ และเมื่อการจัดตั้งสำนักงานกทช. แล้วเสร็จเมื่อใดก็จะได้ให้สำนักงาน กทช. เป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพื่อประสานการดำเนินงานในเรื่องนี้ร่วมกับธนาคารโลกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส