คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 แล้ว โดยให้ปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ให้เพิ่มปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรผู้บริโภคด้วย และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เห็นว่าควรดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. .... เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับทราบอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีความสอดคล้องกับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการและเหตุผลที่จะให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า โดยกำหนดให้มีการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์และห้ามการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันจะทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้าที่ระบุในทะเบียน และเพื่อเป็นการอนุวัติการตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีตามข้อ 22 ถึงข้อ 24 แห่งความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญหาที่เกี่ยวกับการค้าในภาคผนวกท้ายความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองค์การการค้าโลก โดยประเทศไทยจะต้องดำเนินการภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึง 31 ธันวาคม 2542 ซึ่งสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม เพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น คำว่า "สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" "แหล่งภูมิศาสตร์" เป็นต้น
2. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติและมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
3. กำหนดให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียนจะต้องไม่มีลักษณะที่กฎหมายกำหนด เช่น เป็นชื่อสามัญของสินค้าที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย
4. กำหนดให้ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการค้าเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น กลุ่มผู้บริโภคหรือองค์กรผู้บริโภคสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นต้น
5. กำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอให้อธิบดีส่งเรื่อง ให้คณะกรรมการสั่งแก้ไขหรือเพิกถอนทะเบียนได้ เช่น ในกรณีที่ปรากฏว่าการขึ้นทะเบียนดำเนินการไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปทำให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในร่างมาตรา 5 เป็นต้น
6. กำหนดสิทธิในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยเมื่อมีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าใดแล้ว ผู้ผลิตที่อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า หรือผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับสินค้านั้นมีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนกับสินค้าที่ระบุตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นสมควรกำหนด
7. กรณีที่ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ประกอบการค้าใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ขึ้นทะเบียนไว้ ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อธิบดีอาจมีคำสั่งระงับการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ไม่เกิน 2 ปี
8. กำหนดให้รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าเฉพาะอย่างได้ และเมื่อกำหนดสินค้าเฉพาะอย่างแล้ว การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับสินค้าที่ไม่ได้มีแหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุในคำขอขึ้นทะเบียนเป็นการกระทำโดยมิชอบ
9. กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
10. กำหนดโทษในกรณีต่าง ๆ เช่น ไม่มาให้ถ้อยคำชี้แจงหรือแสดงหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าสินค้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุในคำขอขึ้นทะเบียน เป็นสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการและเหตุผลที่จะให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า โดยกำหนดให้มีการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์และห้ามการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันจะทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้าที่ระบุในทะเบียน และเพื่อเป็นการอนุวัติการตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีตามข้อ 22 ถึงข้อ 24 แห่งความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญหาที่เกี่ยวกับการค้าในภาคผนวกท้ายความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองค์การการค้าโลก โดยประเทศไทยจะต้องดำเนินการภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึง 31 ธันวาคม 2542 ซึ่งสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม เพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น คำว่า "สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" "แหล่งภูมิศาสตร์" เป็นต้น
2. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติและมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
3. กำหนดให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียนจะต้องไม่มีลักษณะที่กฎหมายกำหนด เช่น เป็นชื่อสามัญของสินค้าที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย
4. กำหนดให้ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการค้าเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น กลุ่มผู้บริโภคหรือองค์กรผู้บริโภคสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นต้น
5. กำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอให้อธิบดีส่งเรื่อง ให้คณะกรรมการสั่งแก้ไขหรือเพิกถอนทะเบียนได้ เช่น ในกรณีที่ปรากฏว่าการขึ้นทะเบียนดำเนินการไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปทำให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในร่างมาตรา 5 เป็นต้น
6. กำหนดสิทธิในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยเมื่อมีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าใดแล้ว ผู้ผลิตที่อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า หรือผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับสินค้านั้นมีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนกับสินค้าที่ระบุตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นสมควรกำหนด
7. กรณีที่ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ประกอบการค้าใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ขึ้นทะเบียนไว้ ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อธิบดีอาจมีคำสั่งระงับการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ไม่เกิน 2 ปี
8. กำหนดให้รัฐมนตรีอาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าเฉพาะอย่างได้ และเมื่อกำหนดสินค้าเฉพาะอย่างแล้ว การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับสินค้าที่ไม่ได้มีแหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุในคำขอขึ้นทะเบียนเป็นการกระทำโดยมิชอบ
9. กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
10. กำหนดโทษในกรณีต่าง ๆ เช่น ไม่มาให้ถ้อยคำชี้แจงหรือแสดงหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าสินค้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุในคำขอขึ้นทะเบียน เป็นสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-