ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ เดือนสิงหาคม 2543 สรุปได้ดังนี้
1.ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543
1.1 ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ที่เป็น NPL สำเร็จแล้ว จำนวน 294,516 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 1,707,345 ล้านบาท โดยในเดือนสิงหาคม สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2543 จำนวน 13,294 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73) เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 50,577 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05) โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ประเภทการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ร้อยละ 45 (5,939 ราย) รองลงมาคือ ลูกหนี้ประเภทการค้าส่งค้าปลีก และการเกษตรประมง ป่าไม้ ตามลำดับ
2) จำนวนรายของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 อีก 7,576 ราย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 79,053 ราย แต่มียอดมูลหนี้ลดลง 10,245 ล้านบาท เป็นมูลหนี้รวมทั้งสิ้น 762,705 ล้านบาท ทำให้มูลหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉลี่ยต่อรายลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินนำลูกหนี้รายกลาง รายย่อยเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากขึ้น
1.2 ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ วันที่ 28 กันยายน 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย คปน. ที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว มีดังนี้
1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,381 ราย มูลหนี้รวม 1,111,787 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 6,976 ราย มูลหนี้ 1,583,092 ล้านบาท ทั้งนี้ ภาคธุรกิจที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ในภาคการพาณิชย์ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และการอุตสาหกรรม ตามลำดับ
2) ลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน.อีก 672 ราย มูลหนี้ 123,947 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 336 ราย มูลหนี้ 33,651 ล้านบาท ทั้งนี้ ลูกหนี้รายใหญ่จะทยอยมีผลสำเร็จต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกปี 2544
1.3 การดำเนินคดีทางศาลกับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
จากรายงานให้สินเชื่อที่เข้าสู่การดำเนินการทางกฎหมายของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินได้ดำเนินการทางศาลหรือเตรียมดำเนินการกับลูกหนี้ NPL จำนวน 294,212 คดี (รวมลูกหนี้เป้าหมาย คปน. ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ 3,462 ราย) เป็นมูลหนี้ตามบัญชี จำนวนทั้งสิ้น 1,056,031 ล้านบาท หรือประมาณ 2 ใน 3 ของมูลหนี้ NPL ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 โดยเป็นมูลหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในเงินต้น (หนี้ที่ยังไม่รวมดอกเบี้ยค้างชำระแต่รวมมูลหนี้ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชีเนื่องจากได้สำรองครบร้อยละ 100 แล้ว จำนวน 1,239,903 ล้านบาท (294,747คดี) ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนการทางศาลดังกล่าวจะเข้าข่ายการปลดออกจาก NPL ได้ ต่อเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาตามยอม หรือศาลพิพากษาแล้วและได้มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระแล้ว
ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินได้ดำเนินการทางศาลแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 165,161 คดี มูลหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในเงินต้น 909,388 ล้านบาท ซึ่งเกือบทั้งหมดมีสถานะเป็น NPL
1.4 การประสานงานกับกระทรวงยุติธรรม
จากสถานะดังกล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้ทราบถึงภาวะของศาลซึ่งจะต้องรับภาระของคดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานศาลยุติธรรมอยู่ในระหว่างการเตรียมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ โดยที่เป็นที่เข้าใจว่าจะได้นำหลักการและวิธีการในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปใช้ในกระบวนการไกล่เกลี่ยได้ด้วย ในขณะเดียวกันทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดการอบรมสัมมนาหลักสูตร "การไกล่เกลี่ย ปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้" เมื่อวันที่ 26-27 กันยายน 2543
1.5 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. ในระยะข้างหน้า
1) ลูกหนี้ที่ยังคงทยอยนำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน.ต่อไปนั้น จะเป็นลูกหนี้ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะเป็นผู้นำรายชื่อลูกหนี้เสนอมายัง คปน. เป็นรายเดือนสำหรับลูกหนี้รายใหญ่นั้นอาจจะมีการเพิ่มเติมรายชื่อเข้าสู่ระบบเป็นรายกรณีตามความจำเป็น เช่น กรณีลูกหนี้ที่เป็นบริษัทในเครือของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายเดิม หรือลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายเดิมซึ่งเดิมมิได้ลงนามผูกพันตนเองเข้าสู่ระบบเปลี่ยนใจขอเข้าสู่กระบวนการ เป็นต้น
อนึ่ง นอกเหนือจากการมีลูกหนี้เพิ่มเติมในระบบของ คปน.ตามที่หล่าวข้างต้นแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงเร่งรัดให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วย
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้มีโครงการจัดอบรมสัมมนาเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อีกหลายโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหนี้ที่สถาบันการเงิน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ประชาชนทั่วไป ผู้ไกล่เกลี่ย และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยมีระยะเวลาโครงการประมาณ 6 เดือน ซึ่งจะมีต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2544 ทั้งนี้ จะมีหลักสูตรกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้อาจารย์นำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปผลิตบุคลากรที่จะช่วนสนับสนุนกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
2.การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 ระบบสถาบันการเงินมียอดหนี้ NPL คงค้างทั้งสิ้น 1,593.4 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 5,100.7 พันล้านบาท โดย NPL คงค้างคิดเป็นร้อยละ 31.24 ของสินเชื่อรวม ซึ่งยอด NPL เดือนสิงหาคม ลดลงจากเดือนกรกฎาคมเล็กน้อย คิดเป็นจำนวน 3.8 พันล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ เดือนสิงหาคม 2543 สรุปได้ดังนี้
1.ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543
1.1 ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ที่เป็น NPL สำเร็จแล้ว จำนวน 294,516 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 1,707,345 ล้านบาท โดยในเดือนสิงหาคม สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2543 จำนวน 13,294 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73) เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 50,577 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05) โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ประเภทการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ร้อยละ 45 (5,939 ราย) รองลงมาคือ ลูกหนี้ประเภทการค้าส่งค้าปลีก และการเกษตรประมง ป่าไม้ ตามลำดับ
2) จำนวนรายของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 อีก 7,576 ราย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 79,053 ราย แต่มียอดมูลหนี้ลดลง 10,245 ล้านบาท เป็นมูลหนี้รวมทั้งสิ้น 762,705 ล้านบาท ทำให้มูลหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉลี่ยต่อรายลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินนำลูกหนี้รายกลาง รายย่อยเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากขึ้น
1.2 ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ วันที่ 28 กันยายน 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย คปน. ที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว มีดังนี้
1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,381 ราย มูลหนี้รวม 1,111,787 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 6,976 ราย มูลหนี้ 1,583,092 ล้านบาท ทั้งนี้ ภาคธุรกิจที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ในภาคการพาณิชย์ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และการอุตสาหกรรม ตามลำดับ
2) ลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน.อีก 672 ราย มูลหนี้ 123,947 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 336 ราย มูลหนี้ 33,651 ล้านบาท ทั้งนี้ ลูกหนี้รายใหญ่จะทยอยมีผลสำเร็จต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกปี 2544
1.3 การดำเนินคดีทางศาลกับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
จากรายงานให้สินเชื่อที่เข้าสู่การดำเนินการทางกฎหมายของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินได้ดำเนินการทางศาลหรือเตรียมดำเนินการกับลูกหนี้ NPL จำนวน 294,212 คดี (รวมลูกหนี้เป้าหมาย คปน. ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ 3,462 ราย) เป็นมูลหนี้ตามบัญชี จำนวนทั้งสิ้น 1,056,031 ล้านบาท หรือประมาณ 2 ใน 3 ของมูลหนี้ NPL ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 โดยเป็นมูลหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในเงินต้น (หนี้ที่ยังไม่รวมดอกเบี้ยค้างชำระแต่รวมมูลหนี้ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชีเนื่องจากได้สำรองครบร้อยละ 100 แล้ว จำนวน 1,239,903 ล้านบาท (294,747คดี) ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนการทางศาลดังกล่าวจะเข้าข่ายการปลดออกจาก NPL ได้ ต่อเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาตามยอม หรือศาลพิพากษาแล้วและได้มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระแล้ว
ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินได้ดำเนินการทางศาลแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 165,161 คดี มูลหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในเงินต้น 909,388 ล้านบาท ซึ่งเกือบทั้งหมดมีสถานะเป็น NPL
1.4 การประสานงานกับกระทรวงยุติธรรม
จากสถานะดังกล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้ทราบถึงภาวะของศาลซึ่งจะต้องรับภาระของคดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานศาลยุติธรรมอยู่ในระหว่างการเตรียมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ โดยที่เป็นที่เข้าใจว่าจะได้นำหลักการและวิธีการในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปใช้ในกระบวนการไกล่เกลี่ยได้ด้วย ในขณะเดียวกันทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดการอบรมสัมมนาหลักสูตร "การไกล่เกลี่ย ปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้" เมื่อวันที่ 26-27 กันยายน 2543
1.5 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. ในระยะข้างหน้า
1) ลูกหนี้ที่ยังคงทยอยนำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน.ต่อไปนั้น จะเป็นลูกหนี้ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะเป็นผู้นำรายชื่อลูกหนี้เสนอมายัง คปน. เป็นรายเดือนสำหรับลูกหนี้รายใหญ่นั้นอาจจะมีการเพิ่มเติมรายชื่อเข้าสู่ระบบเป็นรายกรณีตามความจำเป็น เช่น กรณีลูกหนี้ที่เป็นบริษัทในเครือของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายเดิม หรือลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายเดิมซึ่งเดิมมิได้ลงนามผูกพันตนเองเข้าสู่ระบบเปลี่ยนใจขอเข้าสู่กระบวนการ เป็นต้น
อนึ่ง นอกเหนือจากการมีลูกหนี้เพิ่มเติมในระบบของ คปน.ตามที่หล่าวข้างต้นแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงเร่งรัดให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดด้วย
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้มีโครงการจัดอบรมสัมมนาเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อีกหลายโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหนี้ที่สถาบันการเงิน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ประชาชนทั่วไป ผู้ไกล่เกลี่ย และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยมีระยะเวลาโครงการประมาณ 6 เดือน ซึ่งจะมีต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2544 ทั้งนี้ จะมีหลักสูตรกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้อาจารย์นำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปผลิตบุคลากรที่จะช่วนสนับสนุนกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
2.การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 ระบบสถาบันการเงินมียอดหนี้ NPL คงค้างทั้งสิ้น 1,593.4 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 5,100.7 พันล้านบาท โดย NPL คงค้างคิดเป็นร้อยละ 31.24 ของสินเชื่อรวม ซึ่งยอด NPL เดือนสิงหาคม ลดลงจากเดือนกรกฎาคมเล็กน้อย คิดเป็นจำนวน 3.8 พันล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-