แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงการคลัง
กระทรวงกลาโหม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2549) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณได้เห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางหลักที่จะช่วยให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนช่วยให้เกิดความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย และให้นำผลการปรับปรุงรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่ง
ร่างแผนแม่บทดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีการจัดการเคมีวัตถุอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและสามารถประสานประโยชน์กับนานาชาติได้ โดยมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ"
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้มีการจัดการเคมีวัตถุอย่างเป็นระบบ และมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ ทันโลก เกี่ยวกับระบบข้อมูล ระบบกำกับดูแล ระบบการจัดการและป้องกันอุบัติภัย
2.2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนัก ชุมชน และสังคมมีความเข้มแข็ง
3. ทิศทางการพัฒนา
3.1 พัฒนาโครงสร้างองค์กรและระบบการบริหารจัดการการติดตามประเมินผล และการกำกับดูแลในด้านต่าง ๆ ดังนี้ เครือข่ายข้อมูลสารเคมี ระบบการจัดการและป้องกันอุบัติภัยเคมีวัตถุ การจัดการของเสียเคมีวัตถุเครือข่ายศูนย์พิษวิทยา การศึกษาวิจัยและพัฒนา
3.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจให้มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน ชุมชนและสังคม สร้างความเข้มแข็งของประชาชน ชุมชน และสังคม
4. เป้าหมาย
4.1 มีศูนย์ประสานเครือข่ายข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ
4.2 มีหน่วยงานรับผิดชอบเป็นศูนย์ประสานงานจัดการอุบัติภัยเคมีวัตถุโดยตรง และมีแผนจัดการอุบัติภัยเคมีวัตถุฉุกเฉินระดับชาติครอบคลุมทั้งประเทศ
4.3 ลดอัตราการเพิ่มของเสียเคมีวัตถุให้ได้ไม่เกิน 10% ต่อปี และมีโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถจัดการของเสียเคมีวัตถุได้ไม่น้อยกว่า 80% ของปริมาณของเสียเคมีวัตถุที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2545 เมื่อสิ้นแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติ ฉบับที่ 2
4.4 มีเครือข่ายศูนย์พิษวิทยาอย่างน้อย 4 ศูนย์ ใน 4 ภูมิภาค
4.5 มีนโยบายและแผนการวิจัยของประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ
5. ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ทิศทางการพัฒนา และเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จึงกำหนดยุทธศาสตร์หลักสำหรับเป็นมาตรการในการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2549 ไว้ 5 ประการ ดังนี้
5.1 การพัฒนาเครือข่ายข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ
5.2 การพัฒนาระบบการจัดการและป้องกันอุบัติภัยเคมีวัตถุ
5.3 การส่งเสริมศักยภาพการจัดการของเสียเคมีวัตถุ
5.4 การพัฒนาเครือข่ายศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติ
5.5 การศึกษาวิจัยและพัฒนา
6. องค์กรหลักและเครือข่ายที่รับผิดชอบ องค์กรภาครัฐ เอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง 59 หน่วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-
ร่างแผนแม่บทดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีการจัดการเคมีวัตถุอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและสามารถประสานประโยชน์กับนานาชาติได้ โดยมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ"
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้มีการจัดการเคมีวัตถุอย่างเป็นระบบ และมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ ทันโลก เกี่ยวกับระบบข้อมูล ระบบกำกับดูแล ระบบการจัดการและป้องกันอุบัติภัย
2.2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนัก ชุมชน และสังคมมีความเข้มแข็ง
3. ทิศทางการพัฒนา
3.1 พัฒนาโครงสร้างองค์กรและระบบการบริหารจัดการการติดตามประเมินผล และการกำกับดูแลในด้านต่าง ๆ ดังนี้ เครือข่ายข้อมูลสารเคมี ระบบการจัดการและป้องกันอุบัติภัยเคมีวัตถุ การจัดการของเสียเคมีวัตถุเครือข่ายศูนย์พิษวิทยา การศึกษาวิจัยและพัฒนา
3.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจให้มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน ชุมชนและสังคม สร้างความเข้มแข็งของประชาชน ชุมชน และสังคม
4. เป้าหมาย
4.1 มีศูนย์ประสานเครือข่ายข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ
4.2 มีหน่วยงานรับผิดชอบเป็นศูนย์ประสานงานจัดการอุบัติภัยเคมีวัตถุโดยตรง และมีแผนจัดการอุบัติภัยเคมีวัตถุฉุกเฉินระดับชาติครอบคลุมทั้งประเทศ
4.3 ลดอัตราการเพิ่มของเสียเคมีวัตถุให้ได้ไม่เกิน 10% ต่อปี และมีโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถจัดการของเสียเคมีวัตถุได้ไม่น้อยกว่า 80% ของปริมาณของเสียเคมีวัตถุที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2545 เมื่อสิ้นแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติ ฉบับที่ 2
4.4 มีเครือข่ายศูนย์พิษวิทยาอย่างน้อย 4 ศูนย์ ใน 4 ภูมิภาค
4.5 มีนโยบายและแผนการวิจัยของประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ
5. ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ทิศทางการพัฒนา และเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จึงกำหนดยุทธศาสตร์หลักสำหรับเป็นมาตรการในการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2549 ไว้ 5 ประการ ดังนี้
5.1 การพัฒนาเครือข่ายข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ
5.2 การพัฒนาระบบการจัดการและป้องกันอุบัติภัยเคมีวัตถุ
5.3 การส่งเสริมศักยภาพการจัดการของเสียเคมีวัตถุ
5.4 การพัฒนาเครือข่ายศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติ
5.5 การศึกษาวิจัยและพัฒนา
6. องค์กรหลักและเครือข่ายที่รับผิดชอบ องค์กรภาครัฐ เอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง 59 หน่วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-