คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการดำเนินการของคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ ได้ประชุมครั้งที่ 5/2544 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2544 (นายทนง พิทยะ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เข้าร่วมประชุมด้วย) โดยที่ประชุมได้พิจารณาภาพรวมโครงการและแนวทางการพิจารณาโครงการที่
หน่วยงานต่าง ๆ เสนอขอรับการสนับสนุนจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมโครงการ จากข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 กระทรวง ทบวง และหน่วยงานต่าง ๆ
ได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 814 โครงการ วงเงินลงทุนรวม
103,699.45 ล้านบาท
2. แนวทางการพิจารณาและจำแนกประเภทโครงการ
2.1 เนื่องจากมีโครงการเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จึงได้จำแนกประเภทโครงการ
โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีแล้ว และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางการดำเนินงานต่อไป ในขั้นต้นจึงได้จำแนกโครงการออกเป็น
2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1) โครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดแล้ว และ 2) โครงการที่ยังไม่ผ่านการ
กลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด
2.2 ผลการพิจารณาโครงการในเบื้องต้น พบว่ามีโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวง
เจ้าสังกัดแล้ว จำนวน 775 โครงการ วงเงิน 102,966.71 ล้านบาท และโครงการที่ยังไม่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/
ทบวงเจ้าสังกัด (หน่วยงานเสนอโดยตรง) จำนวน 39 โครงการ วงเงิน 732.74 ล้านบาท สำหรับโครงการที่ผ่านการ
กลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดแล้ว จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 1) โครงการที่ผ่าน
หลักเกณฑ์และมีรายละเอียด 2) โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์แต่ยังขาดรายละเอียด และ 3) โครงการที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์
กล่าวคือ
ประเภทโครงการ จำนวนโครงการ วงเงิน (ล้านบาท)
1. โครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดแล้ว 775 102,966.71
1.1 โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์และมีรายละเอียด 30 10,373.45
1.2 โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์แต่ยังขาดรายละเอียด 129 19,735.57
1.3 โครงการที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ 616 72,857.69
2. โครงการที่ยังไม่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด 39 732.74
(หน่วยงานเสนอโดยตรง)
รวม 814 103,699.45
2.3 อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดดังกล่าว
พบว่าโครงการส่วนใหญ่อาจมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจาก
1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหรือขยายงานของหน่วยงานเอง ผลประโยชน์ของ
โครงการจึงไม่ตกถึงประชาชนโดยตรง
2) เป็นโครงการที่ยังไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่ได้เชื่อมโยงการดำเนินงานกับหน่วยงาน
อื่น ๆ
3) เป็นโครงการมีขอบเขตการดำเนินงานจำกัด เนื่องจากคำนึงถึงขีดความสามารถของหน่วยงาน
เป็นหลัก จึงไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง
4) เป็นโครงการที่ไม่ได้สนับสนุนหรือนำนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลไปขยายผล
3. แนวทางดำเนินการต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นควรส่งคืนโครงการทั้งหมดให้กระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด เพื่อไปพัฒนาและจัดเตรียม
โครงการให้มีความสมบูรณ์ สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง และกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง
ต่อไป โดยมีแนวทาง ดังนี้
3.1 ให้มีการประมวล/รวบรวมโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงาน หรือ National Program ที่มีจุดเน้น
(Focus) ชัดเจน ครบวงจร และสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง (Mass) ทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้กำหนดสาขาที่มี
ลำดับความสำคัญสูง ที่ควรจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการ ได้แก่
1) แผนงานด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในภาคการเกษตร ให้มี
รายได้และกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
2) แผนงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้ สร้างเงินตราต่างประเทศ สามารถส่งผลถึง
ประชาชนทั่วประเทศได้เร็ว
3) แผนงานด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสนับสนุนการ
สร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยการส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศระยะยาว
4) แผนงานด้านชุมชน เพื่อให้คนและชุมชนทั่วประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เป็นการ
วางรากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งช่วยเสริมนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น กองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมือง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5) แผนงานด้านการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ ฝีมือแรงงาน
เพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างโอกาสการมีงานทำ
3.2 การจัดเตรียม National Program ในแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญที่มีความเกี่ยวข้อง
และสนับสนุนสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
1) การกำหนดจุดเน้น กำหนดจุดเน้นที่จะดำเนินการ พื้นที่เป้าหมาย หรือสินค้าเป้าหมาย
2) การเพิ่มคุณภาพ มาตรฐานและประสิทธิภาพ ปรับปรุงพัฒนาของที่ทำอยู่แล้ว ให้ได้คุณภาพ
มาตรฐานและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
3) การเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงข่ายเชื่อมโยง เสริมสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ
ที่ยังขาดแคลน ตลอดจนโครงข่ายเชื่อมโยงที่ยังขาดตอนอยู่ เช่น ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
4) การพัฒนาบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรของประเทศ ทั้งด้านความรู้วิชาการ และการ
บริหารจัดการ
5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด ส่งเสริมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้
สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
6) การดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างระบบดูแลและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น จัดให้มีระบบกำจัดขยะ/บำบัดน้ำเสีย
3.3 องค์ประกอบเบื้องต้นของ National Program
1) กรอบทิศทางการพัฒนาของสาขา แนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และนโยบายรัฐบาล
2) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของ National Program แต่ละสาขาที่ชัดเจนในเชิงปริมาณ และสามารถเชื่อม
โยงกับเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
3) จุดเน้น (Focus) การพัฒนาของสาขาภายใต้ National Program เช่น การกำหนดจุดเน้นในเชิง
พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา สินค้าหรืออุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เป็นต้น เพื่อส่งผล (Impact)
ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง
4) โครงการย่อยภายใต้ National Program
- ความเชื่อมโยงของโครงการย่อยเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ National Program
- รายละเอียดของโครงการย่อยที่ชัดเจน วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ระยะเวลา พื้นที่ดำเนินการ
วงเงินลงทุน แผนงานและวิธีดำเนินการ แผนการเบิกจ่ายเงิน หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการ และดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
5) ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของ National Program เช่น ผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยก่อให้เกิด
การจ้างงาน การเพิ่มรายได้ รวมทั้งผลประโยชน์ต่อเนื่องในระยะยาว (Long lasting Effect)
3.4 ขั้นตอนการจัดทำ National Program
1) กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่ชัดเจนในการจัดทำแผนงานแต่ละด้าน ดังนี้
National Program หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
1. ด้านอุตสาหกรรม SME2. ด้านการฝึกอบรม3. ด้านชุมชน4. ด้านการท่องเที่ยว5. ด้านเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2) มอบหมายให้คณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ เป็นผู้ประสานการจัดทำ
แผนงานร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
3) กำหนดวิธีทำงาน โดยอาจมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในแต่ละแผนงาน ระหว่างหน่วย
งานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมโครงการ
4) กำหนดระยะเวลาดำเนินการจัดทำแผนงาน เนื่องจากในข้อเท็จจริงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติได้เริ่มประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำ National Program ในบางสาขาแล้ว ได้แก่
ด้านอุตสาหกรรมและ SME ด้านการฝึกอบรม ด้านชุมชน และด้านการท่องเที่ยว
ซึ่งคาดว่าการจัดทำ National Program จะทะยอยแล้วเสร็จทุกสาขาภายใน 6 เดือน คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จึงได้
มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปจัดทำตารางเวลาและเป้าหมายการอนุมัติ
National Program ที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นกรอบในการติดตามการดำเนินงานต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-
เศรษฐกิจ ได้ประชุมครั้งที่ 5/2544 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2544 (นายทนง พิทยะ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เข้าร่วมประชุมด้วย) โดยที่ประชุมได้พิจารณาภาพรวมโครงการและแนวทางการพิจารณาโครงการที่
หน่วยงานต่าง ๆ เสนอขอรับการสนับสนุนจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมโครงการ จากข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 กระทรวง ทบวง และหน่วยงานต่าง ๆ
ได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 814 โครงการ วงเงินลงทุนรวม
103,699.45 ล้านบาท
2. แนวทางการพิจารณาและจำแนกประเภทโครงการ
2.1 เนื่องจากมีโครงการเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จึงได้จำแนกประเภทโครงการ
โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีแล้ว และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางการดำเนินงานต่อไป ในขั้นต้นจึงได้จำแนกโครงการออกเป็น
2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1) โครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดแล้ว และ 2) โครงการที่ยังไม่ผ่านการ
กลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด
2.2 ผลการพิจารณาโครงการในเบื้องต้น พบว่ามีโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวง
เจ้าสังกัดแล้ว จำนวน 775 โครงการ วงเงิน 102,966.71 ล้านบาท และโครงการที่ยังไม่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/
ทบวงเจ้าสังกัด (หน่วยงานเสนอโดยตรง) จำนวน 39 โครงการ วงเงิน 732.74 ล้านบาท สำหรับโครงการที่ผ่านการ
กลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดแล้ว จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 1) โครงการที่ผ่าน
หลักเกณฑ์และมีรายละเอียด 2) โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์แต่ยังขาดรายละเอียด และ 3) โครงการที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์
กล่าวคือ
ประเภทโครงการ จำนวนโครงการ วงเงิน (ล้านบาท)
1. โครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดแล้ว 775 102,966.71
1.1 โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์และมีรายละเอียด 30 10,373.45
1.2 โครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์แต่ยังขาดรายละเอียด 129 19,735.57
1.3 โครงการที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ 616 72,857.69
2. โครงการที่ยังไม่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด 39 732.74
(หน่วยงานเสนอโดยตรง)
รวม 814 103,699.45
2.3 อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัดดังกล่าว
พบว่าโครงการส่วนใหญ่อาจมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจาก
1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหรือขยายงานของหน่วยงานเอง ผลประโยชน์ของ
โครงการจึงไม่ตกถึงประชาชนโดยตรง
2) เป็นโครงการที่ยังไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่ได้เชื่อมโยงการดำเนินงานกับหน่วยงาน
อื่น ๆ
3) เป็นโครงการมีขอบเขตการดำเนินงานจำกัด เนื่องจากคำนึงถึงขีดความสามารถของหน่วยงาน
เป็นหลัก จึงไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง
4) เป็นโครงการที่ไม่ได้สนับสนุนหรือนำนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลไปขยายผล
3. แนวทางดำเนินการต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นควรส่งคืนโครงการทั้งหมดให้กระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด เพื่อไปพัฒนาและจัดเตรียม
โครงการให้มีความสมบูรณ์ สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง และกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง
ต่อไป โดยมีแนวทาง ดังนี้
3.1 ให้มีการประมวล/รวบรวมโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงาน หรือ National Program ที่มีจุดเน้น
(Focus) ชัดเจน ครบวงจร และสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง (Mass) ทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้กำหนดสาขาที่มี
ลำดับความสำคัญสูง ที่ควรจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการ ได้แก่
1) แผนงานด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในภาคการเกษตร ให้มี
รายได้และกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
2) แผนงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้ สร้างเงินตราต่างประเทศ สามารถส่งผลถึง
ประชาชนทั่วประเทศได้เร็ว
3) แผนงานด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสนับสนุนการ
สร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยการส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศระยะยาว
4) แผนงานด้านชุมชน เพื่อให้คนและชุมชนทั่วประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เป็นการ
วางรากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งช่วยเสริมนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น กองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมือง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5) แผนงานด้านการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ ฝีมือแรงงาน
เพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างโอกาสการมีงานทำ
3.2 การจัดเตรียม National Program ในแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญที่มีความเกี่ยวข้อง
และสนับสนุนสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
1) การกำหนดจุดเน้น กำหนดจุดเน้นที่จะดำเนินการ พื้นที่เป้าหมาย หรือสินค้าเป้าหมาย
2) การเพิ่มคุณภาพ มาตรฐานและประสิทธิภาพ ปรับปรุงพัฒนาของที่ทำอยู่แล้ว ให้ได้คุณภาพ
มาตรฐานและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
3) การเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงข่ายเชื่อมโยง เสริมสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ
ที่ยังขาดแคลน ตลอดจนโครงข่ายเชื่อมโยงที่ยังขาดตอนอยู่ เช่น ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
4) การพัฒนาบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรของประเทศ ทั้งด้านความรู้วิชาการ และการ
บริหารจัดการ
5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด ส่งเสริมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้
สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
6) การดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างระบบดูแลและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น จัดให้มีระบบกำจัดขยะ/บำบัดน้ำเสีย
3.3 องค์ประกอบเบื้องต้นของ National Program
1) กรอบทิศทางการพัฒนาของสาขา แนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และนโยบายรัฐบาล
2) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของ National Program แต่ละสาขาที่ชัดเจนในเชิงปริมาณ และสามารถเชื่อม
โยงกับเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
3) จุดเน้น (Focus) การพัฒนาของสาขาภายใต้ National Program เช่น การกำหนดจุดเน้นในเชิง
พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา สินค้าหรืออุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เป็นต้น เพื่อส่งผล (Impact)
ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง
4) โครงการย่อยภายใต้ National Program
- ความเชื่อมโยงของโครงการย่อยเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ National Program
- รายละเอียดของโครงการย่อยที่ชัดเจน วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ระยะเวลา พื้นที่ดำเนินการ
วงเงินลงทุน แผนงานและวิธีดำเนินการ แผนการเบิกจ่ายเงิน หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการ และดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
5) ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของ National Program เช่น ผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยก่อให้เกิด
การจ้างงาน การเพิ่มรายได้ รวมทั้งผลประโยชน์ต่อเนื่องในระยะยาว (Long lasting Effect)
3.4 ขั้นตอนการจัดทำ National Program
1) กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่ชัดเจนในการจัดทำแผนงานแต่ละด้าน ดังนี้
National Program หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
1. ด้านอุตสาหกรรม SME2. ด้านการฝึกอบรม3. ด้านชุมชน4. ด้านการท่องเที่ยว5. ด้านเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2) มอบหมายให้คณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ เป็นผู้ประสานการจัดทำ
แผนงานร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
3) กำหนดวิธีทำงาน โดยอาจมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในแต่ละแผนงาน ระหว่างหน่วย
งานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมโครงการ
4) กำหนดระยะเวลาดำเนินการจัดทำแผนงาน เนื่องจากในข้อเท็จจริงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติได้เริ่มประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำ National Program ในบางสาขาแล้ว ได้แก่
ด้านอุตสาหกรรมและ SME ด้านการฝึกอบรม ด้านชุมชน และด้านการท่องเที่ยว
ซึ่งคาดว่าการจัดทำ National Program จะทะยอยแล้วเสร็จทุกสาขาภายใน 6 เดือน คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จึงได้
มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปจัดทำตารางเวลาและเป้าหมายการอนุมัติ
National Program ที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นกรอบในการติดตามการดำเนินงานต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 ต.ค. 44--
-สส-