ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน(ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry - AMAF) ครั้งที่ 22 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 25 - 27 ตุลาคม 2543 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งอนุมัติในหลักการในประเด็นการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร ตามแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรของอาเซียน และให้นำไปประกอบการหารือในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2543
ทั้งนี้ ผลของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 22 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือด้านวิชาการ
1.1 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดระดับสูงสุดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในสินค้าพืชผักชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติมจากเดิม 122 ชนิด รวมเป็น 175 ชนิด ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่ประเทศไทยได้กำหนด และสอดคล้องกับมาตรฐานที่สากลบังคับใช้ภายใต้องค์กรระหว่างประเทศ เช่น Codex อยู่แล้ว
1.2 รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนให้ความเห็นชอบในหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการจัดการด้านป่าไม้ธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของประเทศสมาชิกนำไปดำเนินการ เพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดขององค์การป่าไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ(ITTO) ซึ่งจะทำให้ประเทศที่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวสามารถออกใบรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ป่าไม้ และลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
1.3 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อยในปศุสัตว์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลต่อขีดความสามารถในการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของอาเซียน และให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์ และองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เป็นหน่วยงานกลางในการรณรงค์เพื่อกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยในภูมิภาคอาเซียน
1.4 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้รับทราบในการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์พัฒนาการประมงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ในการจัดการประชุมสัมมนาเรื่อง "ปลาเพื่อประชาชน" Fish for the People ซึ่งกำหนดที่จะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2544 และได้เชิญชวนให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านประมงของอาเซียนเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน
2. การลงนามในพิธีสาร ฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
ที่ประชุมรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและลงนามในพิธีสาร ฉบับที่ 8 โดยพิธีสารดังกล่าวนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2543 สาระของพิธีสารนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎระเบียบของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าเกษตรกรรมโดยทางบก เชื่อมโยงระหว่างกันของประเทศสมาชิกของอาเซียน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าเกษตรของไทยลดลง
3. ความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศ คือ จีนเกาหลี และญี่ปุ่น (AMAF+3)
รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศ (AMAF+3) และได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเชิญเจ้าหน้าที่อาวุโสของคู่เจรจา 3 ประเทศ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ และเตรียมการประชุม ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 23 ที่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนตุลาคม 2544
4. แนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรของอาเซียน
ประเทศไทยได้เสนอให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนพิจารณาในประเด็นปัญหาราคาสินค้าเกษตรของอาเซียนตกต่ำ ทั้งที่กลุ่มประเทศอาเซียนเป็นผู้ส่งออกหลักในสินค้าเกษตรเหล่านี้ และมีส่วนแบ่งตลาดที่เกินร้อยละ 50 เช่น ข้าว ยางพารา กาแฟ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรกรผู้ผลิตยังคงยากจนและประสบปัญหาหนี้สิน ที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนได้ให้การสนับสนุนข้อเสนอของประเทศไทย ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาเซียน และจะต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะเจตจำนงทางด้านการเมืองในการสนับสนุนจากระดับผู้นำของประเทศ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาธิการอาเซียนเร่งศึกษาถึงแนวทางและกลไกความร่วมมือ ทั้งในด้านการร่วมวงแผนการผลิตและการส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน(ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry - AMAF) ครั้งที่ 22 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 25 - 27 ตุลาคม 2543 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งอนุมัติในหลักการในประเด็นการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร ตามแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรของอาเซียน และให้นำไปประกอบการหารือในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2543
ทั้งนี้ ผลของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 22 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือด้านวิชาการ
1.1 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดระดับสูงสุดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในสินค้าพืชผักชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติมจากเดิม 122 ชนิด รวมเป็น 175 ชนิด ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่ประเทศไทยได้กำหนด และสอดคล้องกับมาตรฐานที่สากลบังคับใช้ภายใต้องค์กรระหว่างประเทศ เช่น Codex อยู่แล้ว
1.2 รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนให้ความเห็นชอบในหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการจัดการด้านป่าไม้ธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของประเทศสมาชิกนำไปดำเนินการ เพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดขององค์การป่าไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ(ITTO) ซึ่งจะทำให้ประเทศที่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวสามารถออกใบรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ป่าไม้ และลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
1.3 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อยในปศุสัตว์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลต่อขีดความสามารถในการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของอาเซียน และให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์ และองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เป็นหน่วยงานกลางในการรณรงค์เพื่อกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยในภูมิภาคอาเซียน
1.4 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้รับทราบในการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์พัฒนาการประมงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ในการจัดการประชุมสัมมนาเรื่อง "ปลาเพื่อประชาชน" Fish for the People ซึ่งกำหนดที่จะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2544 และได้เชิญชวนให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านประมงของอาเซียนเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน
2. การลงนามในพิธีสาร ฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
ที่ประชุมรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและลงนามในพิธีสาร ฉบับที่ 8 โดยพิธีสารดังกล่าวนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2543 สาระของพิธีสารนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎระเบียบของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าเกษตรกรรมโดยทางบก เชื่อมโยงระหว่างกันของประเทศสมาชิกของอาเซียน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าเกษตรของไทยลดลง
3. ความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศ คือ จีนเกาหลี และญี่ปุ่น (AMAF+3)
รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศ (AMAF+3) และได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเชิญเจ้าหน้าที่อาวุโสของคู่เจรจา 3 ประเทศ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ และเตรียมการประชุม ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 23 ที่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนตุลาคม 2544
4. แนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรของอาเซียน
ประเทศไทยได้เสนอให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนพิจารณาในประเด็นปัญหาราคาสินค้าเกษตรของอาเซียนตกต่ำ ทั้งที่กลุ่มประเทศอาเซียนเป็นผู้ส่งออกหลักในสินค้าเกษตรเหล่านี้ และมีส่วนแบ่งตลาดที่เกินร้อยละ 50 เช่น ข้าว ยางพารา กาแฟ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรกรผู้ผลิตยังคงยากจนและประสบปัญหาหนี้สิน ที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนได้ให้การสนับสนุนข้อเสนอของประเทศไทย ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาเซียน และจะต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะเจตจำนงทางด้านการเมืองในการสนับสนุนจากระดับผู้นำของประเทศ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาธิการอาเซียนเร่งศึกษาถึงแนวทางและกลไกความร่วมมือ ทั้งในด้านการร่วมวงแผนการผลิตและการส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-