คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในส่วนของกระทรวงคมนาคม อันเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบในหลักการโครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนงานและมาตรการตามผลการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยว ที่จังหวัดเชียงใหม่
ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนงาน มีดังนี้
1. การเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน
1.1 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - พม่า
1) ฝ่ายไทยและพม่าได้ข้อยุติร่วมกันแล้วว่า จะดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่สอง ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่ง และเพื่อขยายพื้นที่การพัฒนาเมืองชายแดนและแหล่งท่องเที่ยว โดยสะพานแห่งใหม่นี้ จะอยู่ห่างจากสะพานเดิมไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นสะพาน 2 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 90 เมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 28 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด โดยมีเป้าหมายก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2545
2) เส้นทางสายแม่สอด - เมียวดี - ผะอัน - ย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเส้นทางในแผนพัฒนาเชื่อมโยงตะวันออก - ตะวันตกของประเทศไทย ขณะนี้ได้ข้อยุติในเบื้องต้นแล้วว่าจะร่วมกันพัฒนาเส้นทางสายนี้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับฝ่ายพม่าเพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบสภาพทางเบื้องต้นร่วมกัน
1.2 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - ลาว
1) เส้นทางสายมุกดาหาร - สะหวันนะเขต - เวียดนาม รวมสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย - ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นทางในแผนพัฒนาเชื่อมโยงตะวันออก - ตะวันตกของประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยถนนภายในประเทศลาว จะแล้วเสร็จภายในปี 2547 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกลางปี 2549
2) เส้นทางสายห้วยทราย - หลวงน้ำทา - บ่อเต้น ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อประเทศไทยไปยังจีนตอนใต้ ผ่านประเทศลาว ขณะนี้ได้ข้อยุติเบื้องต้นแล้วว่าทั้ง 3 ประเทศจะร่วมกันพัฒนา โดยแต่ละประเทศจะออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นเงิน 1/3 ของค่าก่อสร้างทั้งหมด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานงานในรายละเอียด
3) เส้นทางบินสุโขทัย - หลวงพระบาง เป็นเส้นทางบินใหม่ที่บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด ทำการบินประจำจากกรุงเทพ - สุโขทัย - หลวงพระบาง เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยเปิดบินเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2544
1.3 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - กัมพูชา
1) เส้นทางปอยเปต - ศรีโสภณ
- ทางถนน รัฐบาลกัมพูชา มีนโยนบายให้เอกชนสัมปทาน ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนผู้สนใจ
- ทางรถไฟ เป็นเส้นทางที่ต้องก่อสร้างใหม่ตามแนวคันทางเดิมที่ชำรุดเสียหายอย่างหนักในช่วงสงครามโดยมีแนวคิดเบื้องต้นว่า ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา จะต้องร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังเวียดนาม และจีนตอนใต้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้อีกช่องทางหนึ่ง
2) เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยกับเมืองเสียมเรียบ ซึ่งมี 3 แนวทาง คือ บุรีรัมย์ (อำเภอบ้านกรวด) - ศรีโสภณ - เสียมเรียบ สุรินทร์ (ช่องจอม) - การัน - เสียมเรียบ ศรีสะเกษ (ช่องสะงำ) - อันลองเวง - เสียมเรียบ
ขณะนี้กรมทางหลวงได้ออกไปสำรวจในเบื้องต้นแล้ว พบว่าเส้นทางช่องสะงำ - เสียมเรียบ เป็นเส้นทางที่เหมาะสม เนื่องจากเส้นทางระหว่างช่องจอม - เสียมเรียบ รัฐบาลกัมพูชาได้ให้เอกชนสัมปทาน และเส้นทางบ้านกรวด - เสียมเรียบ เป็นเส้นทางที่ไม่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ มีระยะทางและค่าก่อสร้างมากกว่าการพัฒนาเส้นทางสายช่องสะงำ - อันลองเวง - เสียมเรียบ
3) เส้นทางสายตราด - เกาะกง - สีหนุวิลล์ เป็นเส้นทางที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือส่วนหนึ่ง โดยมอบหมายให้ทหารช่างไปดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนลูกรังกว้าง 8 เมตร ระยะทาง 138 กิโลเมตร
1.4 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - มาเลเซีย
1) สะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก ที่บ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส เชื่อมต่อกับบ้านบูเก๊ะบูงา ของรัฐกลันตัน ความยาวประมาณ 250 เมตร ก่อสร้างเป็นสะพาน 2 ช่องจราจร ขณะนี้กรมทางหลวงได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ 2545 แล้ว และอยู่ระหว่างการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายมาเลเซีย
2) การขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อสุไหงโกลก- โกตาบารู อยู่ในขั้นตอนการประสานงานในรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยได้เปิดทดลองเดินขบวนรถแล้วเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2544
3) เส้นทางบินไทย - มาเลเซีย และไทย - สิงคโปร์ ปัจจุบันอนุญาตให้บินได้ตามความต้องการ เพียงแต่แจ้งให้แต่ละฝ่ายทราบเท่านั้น 2. การส่งเสริมให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินไปยังจีนตอนใต้ และตะวันตก
1) เส้นทางบินเชียงใหม่ - เชียงรุ้ง เริ่มเปิดเส้นทางบินโดยบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2544 บินระหว่างกรุงเทพ - เชียงใหม่ - เชียงรุ้ง สัปดาห์ละ 3 เที่ยว
2) เส้นทางบินเชียงใหม่ - คุนหมิง ปัจจุบันบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน)ทำการบินระหว่างกรุงเทพ - เชียงใหม่ - คุนหมิง สัปดาห์ละ 2 เที่ยว และบินตรงกรุงเทพ - คุนหมิง สัปดาห์ละ 5 เที่ยว ในขณะที่สายการบินจีน(ยูนนาน)บินตรงคุนหมิง - กรุงเทพ สัปดาห์ละ 7 เที่ยว และคุนหมิง - เชียงรุ้ง - กรุงเทพ สัปดาห์ละ 2 เที่ยว
3. การส่งเสริมการทำรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านระหว่างประเทศ
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนและกำหนดแนวทางเบื้องต้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ3. การเร่งรัดการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
ดำเนินการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร และอาคารเทียบเครื่องบิน โดยได้แก้ไขแบบการก่อสร้างให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ทำให้สามารถลดราคากลางลงมาเหลือเพียง 36,787 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางเดิมก่อนปรับปรุงแผนถึง 15 % (43,356 ล้านบาท) และได้ดำเนินการเปิดซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544 ผู้เสนอราคาต่ำสุดได้แก่ กลุ่มบริษัท ITO Joint Venture ซึ่งประกอบด้วย บริษัทอิตาเลียน ไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) บริษัท Takenaka Corporation และ Obayashi Corporation เสนอราคาต่ำกว่าราคากลางประมาณ 100 ล้านบาท (36,667 ล้านบาท) จากจำนวนผู้เสนอราคาทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งได้มีการตรวจสอบเอกสารการประกวดราคา และจัดให้มีพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้าง ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2544 4. แนวทางการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังเดินทางออกนอกประเทศไทย อยู่ในขั้นตอนดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนงาน มีดังนี้
1. การเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน
1.1 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - พม่า
1) ฝ่ายไทยและพม่าได้ข้อยุติร่วมกันแล้วว่า จะดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่สอง ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่ง และเพื่อขยายพื้นที่การพัฒนาเมืองชายแดนและแหล่งท่องเที่ยว โดยสะพานแห่งใหม่นี้ จะอยู่ห่างจากสะพานเดิมไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นสะพาน 2 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 90 เมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 28 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด โดยมีเป้าหมายก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2545
2) เส้นทางสายแม่สอด - เมียวดี - ผะอัน - ย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเส้นทางในแผนพัฒนาเชื่อมโยงตะวันออก - ตะวันตกของประเทศไทย ขณะนี้ได้ข้อยุติในเบื้องต้นแล้วว่าจะร่วมกันพัฒนาเส้นทางสายนี้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับฝ่ายพม่าเพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบสภาพทางเบื้องต้นร่วมกัน
1.2 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - ลาว
1) เส้นทางสายมุกดาหาร - สะหวันนะเขต - เวียดนาม รวมสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย - ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นทางในแผนพัฒนาเชื่อมโยงตะวันออก - ตะวันตกของประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยถนนภายในประเทศลาว จะแล้วเสร็จภายในปี 2547 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกลางปี 2549
2) เส้นทางสายห้วยทราย - หลวงน้ำทา - บ่อเต้น ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อประเทศไทยไปยังจีนตอนใต้ ผ่านประเทศลาว ขณะนี้ได้ข้อยุติเบื้องต้นแล้วว่าทั้ง 3 ประเทศจะร่วมกันพัฒนา โดยแต่ละประเทศจะออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นเงิน 1/3 ของค่าก่อสร้างทั้งหมด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานงานในรายละเอียด
3) เส้นทางบินสุโขทัย - หลวงพระบาง เป็นเส้นทางบินใหม่ที่บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด ทำการบินประจำจากกรุงเทพ - สุโขทัย - หลวงพระบาง เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยเปิดบินเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2544
1.3 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - กัมพูชา
1) เส้นทางปอยเปต - ศรีโสภณ
- ทางถนน รัฐบาลกัมพูชา มีนโยนบายให้เอกชนสัมปทาน ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนผู้สนใจ
- ทางรถไฟ เป็นเส้นทางที่ต้องก่อสร้างใหม่ตามแนวคันทางเดิมที่ชำรุดเสียหายอย่างหนักในช่วงสงครามโดยมีแนวคิดเบื้องต้นว่า ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา จะต้องร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังเวียดนาม และจีนตอนใต้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้อีกช่องทางหนึ่ง
2) เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยกับเมืองเสียมเรียบ ซึ่งมี 3 แนวทาง คือ บุรีรัมย์ (อำเภอบ้านกรวด) - ศรีโสภณ - เสียมเรียบ สุรินทร์ (ช่องจอม) - การัน - เสียมเรียบ ศรีสะเกษ (ช่องสะงำ) - อันลองเวง - เสียมเรียบ
ขณะนี้กรมทางหลวงได้ออกไปสำรวจในเบื้องต้นแล้ว พบว่าเส้นทางช่องสะงำ - เสียมเรียบ เป็นเส้นทางที่เหมาะสม เนื่องจากเส้นทางระหว่างช่องจอม - เสียมเรียบ รัฐบาลกัมพูชาได้ให้เอกชนสัมปทาน และเส้นทางบ้านกรวด - เสียมเรียบ เป็นเส้นทางที่ไม่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ มีระยะทางและค่าก่อสร้างมากกว่าการพัฒนาเส้นทางสายช่องสะงำ - อันลองเวง - เสียมเรียบ
3) เส้นทางสายตราด - เกาะกง - สีหนุวิลล์ เป็นเส้นทางที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือส่วนหนึ่ง โดยมอบหมายให้ทหารช่างไปดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนลูกรังกว้าง 8 เมตร ระยะทาง 138 กิโลเมตร
1.4 เส้นทางเชื่อมโยงไทย - มาเลเซีย
1) สะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก ที่บ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส เชื่อมต่อกับบ้านบูเก๊ะบูงา ของรัฐกลันตัน ความยาวประมาณ 250 เมตร ก่อสร้างเป็นสะพาน 2 ช่องจราจร ขณะนี้กรมทางหลวงได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ 2545 แล้ว และอยู่ระหว่างการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายมาเลเซีย
2) การขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อสุไหงโกลก- โกตาบารู อยู่ในขั้นตอนการประสานงานในรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยได้เปิดทดลองเดินขบวนรถแล้วเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2544
3) เส้นทางบินไทย - มาเลเซีย และไทย - สิงคโปร์ ปัจจุบันอนุญาตให้บินได้ตามความต้องการ เพียงแต่แจ้งให้แต่ละฝ่ายทราบเท่านั้น 2. การส่งเสริมให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินไปยังจีนตอนใต้ และตะวันตก
1) เส้นทางบินเชียงใหม่ - เชียงรุ้ง เริ่มเปิดเส้นทางบินโดยบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2544 บินระหว่างกรุงเทพ - เชียงใหม่ - เชียงรุ้ง สัปดาห์ละ 3 เที่ยว
2) เส้นทางบินเชียงใหม่ - คุนหมิง ปัจจุบันบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน)ทำการบินระหว่างกรุงเทพ - เชียงใหม่ - คุนหมิง สัปดาห์ละ 2 เที่ยว และบินตรงกรุงเทพ - คุนหมิง สัปดาห์ละ 5 เที่ยว ในขณะที่สายการบินจีน(ยูนนาน)บินตรงคุนหมิง - กรุงเทพ สัปดาห์ละ 7 เที่ยว และคุนหมิง - เชียงรุ้ง - กรุงเทพ สัปดาห์ละ 2 เที่ยว
3. การส่งเสริมการทำรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านระหว่างประเทศ
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนและกำหนดแนวทางเบื้องต้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ3. การเร่งรัดการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
ดำเนินการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร และอาคารเทียบเครื่องบิน โดยได้แก้ไขแบบการก่อสร้างให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ทำให้สามารถลดราคากลางลงมาเหลือเพียง 36,787 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางเดิมก่อนปรับปรุงแผนถึง 15 % (43,356 ล้านบาท) และได้ดำเนินการเปิดซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544 ผู้เสนอราคาต่ำสุดได้แก่ กลุ่มบริษัท ITO Joint Venture ซึ่งประกอบด้วย บริษัทอิตาเลียน ไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) บริษัท Takenaka Corporation และ Obayashi Corporation เสนอราคาต่ำกว่าราคากลางประมาณ 100 ล้านบาท (36,667 ล้านบาท) จากจำนวนผู้เสนอราคาทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งได้มีการตรวจสอบเอกสารการประกวดราคา และจัดให้มีพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้าง ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2544 4. แนวทางการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังเดินทางออกนอกประเทศไทย อยู่ในขั้นตอนดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-