คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวสืบเนื่องจากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในสาระของโครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ สรุปได้ดังนี้
1.1 กลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นตลาดระยะใกล้และระยะกลาง รวมทั้งกระตุ้นการเดินทางของกลุ่ม First Visit และกลุ่มศักยภาพที่พักอยู่นาน และใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่ม Golf กลุ่มดำน้ำ กลุ่มนักท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ กลุ่มเฉพาะชนชาติที่พำนักอยู่ในประเทศที่ 3 (ชาวจีน, ชาวอินโดจีน เป็นต้น) กลุ่มครูและเยาวชน กลุ่มฮันนีมูนกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวทางรถยนต์ กลุ่ม MICE กลุ่ม EXPATS กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม Long Stay เป็นต้น
1.2 มาตรการ ดำเนินการให้สอดคล้องกับผลการประชุมหาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววันที่ 20 - 21 เมษายน 2544 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการ Reposition ประเทศไทยใหม่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ"Quality Destination" และในระยะยาวจะพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากล (World Class Destination) โดยเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และรักษาวันพักเฉลี่ยไม่ให้ลดลงจากเดิม มากกว่าการมุ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอันจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)
1.3 แนวทางและกิจกรรมการดำเนินงาน
1) เน้นการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Consumer) โดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มศักยภาพที่มีความสามารถในการใช้จ่ายสูง และพักอยู่นานวัน ดังนี้
(1) โครงการ World Travel Writers Reunion โดยเลือกเชิญผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ นิตยสาร ที่ได้รับความเชื่อถือ มีอิทธิพลในการจูงใจและรู้จักประเทศไทยดี จำนวน 300 - 400 รายทั่วโลก ให้เดินทางมาร่วมกิจกรรมในประเทศไทย ได้แก่
- ร่วมงานแถลงข่าว และรับประทานอาหาร (Dinner Talk) ร่วมกับนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มจากทุกประเทศ นายกรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนของคนไทยทั้งชาติ จะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกให้เดินทางมาเยือนประเทศไทยและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการจากประเทศต่าง ๆ ให้ร่วมดำเนินธุรกิจเพื่อนำนักท่องเที่ยวมาประเทศไทย
- พบปะบุคคลชั้นนำในสังคมไทยจากหลากหลายมุมมองและอาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : บริษัทการบินไทย/สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว/สมาคมโรงแรมไทย/หน่วยงานประชาสัมพันธ์ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ ฯลฯ/สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(2) โครงการโฆษณาสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพของไทย ทำการโฆษณาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการดำเนินงานปกติ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อให้นักท่องเที่ยวคุณภาพจากประเทศต่าง ๆ ได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น ให้เกิดแรงจูงใจที่จะเดินทางมาทันที โดยเสริมด้วยการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น รายการนำเที่ยว สายการบิน ข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ดำเนินการใน 2 ระดับ คือ
- ระดับภูมิภาค โฆษณาในสื่อระดับภูมิภาคเน้นโทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ เช่น CNN, Eurosport, Discovery Channel, Times Magazine เป็นต้น
- ระดับท้องถิ่น โฆษณาในสื่อท้องถิ่น เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ สถานีรถไฟใต้ดิน Bus Body โดยการร่วมลงขันกับผู้ประกอบการในพื้นที่เพื่อเพิ่มความถี่การโฆษณาให้อย่างได้ผล
(3) โครงการผลิตสื่อโฆษณา ผลิตสื่อโฆษณาเผยแพร่ประเทศไทยทั่วไป และสื่อพิเศษสำหรับส่งเสริมนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม เช่น นักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง กลุ่มเยาวชน กลุ่มครอบครัว กลุ่มประชุมสัมมนา และสื่อเผยแพร่สินค้าทางการท่องเที่ยวเฉพาะด้าน เช่น Shopping, Spa, Golf รูปแบบของสื่อที่จะผลิต เช่น โปสเตอร์ วีดีโอ สไลด์ แผ่นพับ ซีดีรอม มีการร่วมลงขันกับผู้ประกอบการจัดทำ Photo CD, Photo Bank ให้สามารถ Download ได้ทาง Internet
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ผู้ประกอบการนำเที่ยว/การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2) เน้นการส่งเสริมการขายในลักษณะ Hard Sale ร่วมกับบริษัทนำเที่ยวในตลาดเพื่อกระตุ้นการขายรายการนำเที่ยวมาประเทศไทย ดังนี้
(1) โครงการจัดทำข้อเสนอพิเศษ (Special Offer) โดยจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาและให้บริษัทนำเที่ยวต่างประเทศสนใจจัดรายการนำเที่ยวมาไทย เป็นกลยุทธ์ที่จะดึงความสนใจโดยเฉพาะช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยยังมีความน่าเที่ยวและในหลายพื้นที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมรองรับตัวอย่างของข้อเสนอพิเศษ เช่น อภินันทนาการห้องพัก ตั๋วโดยสารราคาพิเศษสำหรับการเดินทางบางเส้นทาง บางช่วงเวลาจัดคูปองลดราคาที่จูงใจ การอภินันทนาการรายการนำเที่ยวสำหรับผู้โดยสารเดินทางผ่าน (Transit Passenger) เป็นต้น โดยให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อเสนอพิเศษนี้ให้ทุกสื่อที่มี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ธุรกิจเอกชน ได้แก่ บริษัทนำเที่ยว/โรงแรม/ภัตตาคาร ร้านค้า/สายการบิน : บริษัทการบินไทย/บางกอกแอร์เวย์/แองเจิลแอร์/พี บี แอร์ แอร์อันดามัน และสมาคมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
(2) โครงการ Joint Promotion ร่วมกับบริษัทนำเที่ยว สายการบินในต่างประเทศที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวมาไทยอยู่แล้วให้สามารถดำเนินการได้ผลยิ่งขึ้นในลักษณะ Hard Sale คือให้มีการเดินทางในทันที โดยฝ่ายไทยช่วยในการโฆษณารายการนำเที่ยวและข้อเสนอต่าง ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย หากเป็นกลุ่มใหญ่จะได้รับการต้อนรับหรือการบริการพิเศษนอกเหนือจากรายการปกติ
(3) โครงการจัดงานส่งเสริมการขาย ผู้ประกอบการทุกสาขาจะร่วมกันจัดงานส่งเสริมการขายเพื่อพบปะผู้ประกอบการของประเทศต่าง ๆ นำเสนอรายการนำเที่ยวพิเศษ ซึ่งเน้นการจูงใจนักท่องเที่ยวคุณภาพให้มาใช้จ่ายเงินในประเทศไทยโดยจัดใน 2 ลักษณะ คือ เดินทางไปทำ Road Show ในต่างประเทศ และเชิญผู้ประกอบการต่างประเทศมาไทย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : บริษัทนำเที่ยว/โรงแรม/บริษัทการบินไทย
3) การใช้ประโยชน์จาก Internet เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพความรวดเร็วและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวาง จะร่วมกับภาคเอกชนพัฒนา Website ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือ www.tourismthailand.org และ www.experiencethailand.com ทั้งโครงสร้างและความทันสมัยให้เฉพาะเจาะจงตรงตามความต้องการของแต่ละตลาด (Tailor - made) เป็นภาษท้องถิ่นให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในประเทศต่าง ๆ ทำการเชื่อมโยง Website ของ ททท. กับ Website ของหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชนที่ส่งเสริมการขายประเทศไทย และจะมีการเผยแพร่โฆษณา Website ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ จะพัฒนาใน 2 ลักษณะคือ
- การให้ข้อมูลข่าวสาร จะมีการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวให้ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว และ Down Load ข้อมูล/รูปภาพได้สะดวกรวดเร็ว
- พาณิชย์อิเลคโทรนิค (E-commerce) ให้ Website ของ ททท. เป็นช่องทางให้ภาคเอกชนได้นำเสนอรายการนำเที่ยวและข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรงในลักษณะ Hard Sale
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : บริษัทนำเที่ยว/โรงแรม/สมาคมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
4) การส่งเสริมการประชุมสัมมนา นิทรรศการนานาชาติ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ดังนี้
(1) โครงการรณรงค์ The Place to Meet Amazing Thailand ปี 2001 - 2002 การให้ข้อเสนอพิเศษจาก ททท. สายการบิน และภาคเอกชน เพื่อประกอบการตัดสินใจมาจัดกิจกรรมในประเทศไทย อาทิ ราคาพิเศษบัตรโดยสาร การสนับสนุนของที่ระลึก การสนับสนุนการประชาสัมพันธ์และผลิตสื่อส่งเสริมเพื่อเผยแพร่การประชุมการสนับสนุนการจัดพิธีเปิด การบริการการขนส่งอุปกรณ์การจัดกิจกรรม การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมประชุม เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ/สมาคมการแสดงสินค้า/สมาคมโรงแรม/บริษัทการบินไทย/กรมศุลกากร/สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง/การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
(2) โครงการข้อเสนอพิเศษสำหรับกระตุ้นการจัดกิจกรรม MICE ในประเทศไทย การให้ข้อเสนอพิเศษสำหรับหน่วยงานที่จะเข้ามาจัดกิจกรรม MICE ในประเทศไทย ที่มีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 500 คนขึ้นไป ในปี2001 โดย ททท. จะสนับสนุนในส่วนของการจัดเลี้ยง 1 มื้อ เพิ่มเติมจากข้อเสนอตามโครงการ The Place to MeetAmazing Thailand
สำหรับการกระตุ้นเป้าหมายในระยะสั้น จะกำหนดให้สำนักงาน ททท. ต่างประเทศแต่ละแห่งดำเนินการนำกลุ่ม MICE เข้ามาจัดกิจกรรมในประเทศอย่างน้อย 4 กลุ่ม หรือ 2,000 คน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้จัดกิจกรรม MICE ในประเทศรวมทั้งสิ้น 30,000 คน พำนักอยู่ในประเทศไทยโดยเฉลี่ย 8 วัน และมีค่าใช้จ่าย/คน/วัน ประมาณ 8,000 บาท ทั้งนี้ คาดว่าจะนำรายเข้าประเทศประมาณ 2,000 ล้านบาท
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : หน่วยงานที่มีสถานที่เหมาะสมสำหรับจัดงานเลี้ยง (Theme Party)
5) การเปิดสำนักงาน ททท. ในต่างประเทศ จากแผนแม่บทอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2544 - 2553 ททท. ได้กำหนดตลาดเป้าหมายที่จะดำเนินการส่งเสริมการตลาดเชิงรุกไว้ 11 ตลาด ทั้งในยุโรปและเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ เยอรมนี ยุโรปตะวันออก สแกนดีเนเวีย และตลาดที่จะรักษาการเจริญเติบโตอีก 11 ตลาดเช่น ฮ่องกง อินเดีย รัสเซีย ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เป็นต้น
ในการดำเนินการตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ททท. ได้กำหนดแผนงานที่จะต้องปฏิบัติเป็นการเร่งด่วน ซึ่งหนึ่งในแผนงานนั้นได้แก่ การตั้งสำนักงาน ททท. ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ททท. ด้านการส่งเสริมการตลาดให้สอดคล้องกับการเติบโตและภาวะการแข่งขันทางการท่องเที่ยว และเพื่อขยายโครงข่ายการดำเนินงานส่งเสริมการตลาดให้กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายให้มากขึ้น โดยดำเนินการเร่งด่วนใน3 แห่ง คือ สแกนดิเนเวีย (สตอกโฮล์ม) อินเดีย (นิวเดลี หรือมุมไบ) จีน (ปักกิ่ง) ในลักษณะดำเนินการเต็มรูปแบบ คือมีสำนักงานที่ทำการ มีเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางประจำ พร้อมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามความจำเป็น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงบประมาณ/กระทรวงการคลัง/กระทรวงการต่างประเทศ
2. เห็นชอบสนับสนุนงบประมาณพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบปกติ ในวงเงิน 500 ล้านบาท โดยให้ตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินโครงการ โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. เห็นชอบในสาระของโครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ สรุปได้ดังนี้
1.1 กลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นตลาดระยะใกล้และระยะกลาง รวมทั้งกระตุ้นการเดินทางของกลุ่ม First Visit และกลุ่มศักยภาพที่พักอยู่นาน และใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่ม Golf กลุ่มดำน้ำ กลุ่มนักท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ กลุ่มเฉพาะชนชาติที่พำนักอยู่ในประเทศที่ 3 (ชาวจีน, ชาวอินโดจีน เป็นต้น) กลุ่มครูและเยาวชน กลุ่มฮันนีมูนกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวทางรถยนต์ กลุ่ม MICE กลุ่ม EXPATS กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม Long Stay เป็นต้น
1.2 มาตรการ ดำเนินการให้สอดคล้องกับผลการประชุมหาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววันที่ 20 - 21 เมษายน 2544 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการ Reposition ประเทศไทยใหม่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ"Quality Destination" และในระยะยาวจะพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากล (World Class Destination) โดยเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และรักษาวันพักเฉลี่ยไม่ให้ลดลงจากเดิม มากกว่าการมุ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอันจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)
1.3 แนวทางและกิจกรรมการดำเนินงาน
1) เน้นการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Consumer) โดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มศักยภาพที่มีความสามารถในการใช้จ่ายสูง และพักอยู่นานวัน ดังนี้
(1) โครงการ World Travel Writers Reunion โดยเลือกเชิญผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ นิตยสาร ที่ได้รับความเชื่อถือ มีอิทธิพลในการจูงใจและรู้จักประเทศไทยดี จำนวน 300 - 400 รายทั่วโลก ให้เดินทางมาร่วมกิจกรรมในประเทศไทย ได้แก่
- ร่วมงานแถลงข่าว และรับประทานอาหาร (Dinner Talk) ร่วมกับนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มจากทุกประเทศ นายกรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนของคนไทยทั้งชาติ จะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกให้เดินทางมาเยือนประเทศไทยและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการจากประเทศต่าง ๆ ให้ร่วมดำเนินธุรกิจเพื่อนำนักท่องเที่ยวมาประเทศไทย
- พบปะบุคคลชั้นนำในสังคมไทยจากหลากหลายมุมมองและอาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : บริษัทการบินไทย/สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว/สมาคมโรงแรมไทย/หน่วยงานประชาสัมพันธ์ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ ฯลฯ/สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(2) โครงการโฆษณาสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพของไทย ทำการโฆษณาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการดำเนินงานปกติ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อให้นักท่องเที่ยวคุณภาพจากประเทศต่าง ๆ ได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น ให้เกิดแรงจูงใจที่จะเดินทางมาทันที โดยเสริมด้วยการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น รายการนำเที่ยว สายการบิน ข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ดำเนินการใน 2 ระดับ คือ
- ระดับภูมิภาค โฆษณาในสื่อระดับภูมิภาคเน้นโทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ เช่น CNN, Eurosport, Discovery Channel, Times Magazine เป็นต้น
- ระดับท้องถิ่น โฆษณาในสื่อท้องถิ่น เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ สถานีรถไฟใต้ดิน Bus Body โดยการร่วมลงขันกับผู้ประกอบการในพื้นที่เพื่อเพิ่มความถี่การโฆษณาให้อย่างได้ผล
(3) โครงการผลิตสื่อโฆษณา ผลิตสื่อโฆษณาเผยแพร่ประเทศไทยทั่วไป และสื่อพิเศษสำหรับส่งเสริมนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม เช่น นักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง กลุ่มเยาวชน กลุ่มครอบครัว กลุ่มประชุมสัมมนา และสื่อเผยแพร่สินค้าทางการท่องเที่ยวเฉพาะด้าน เช่น Shopping, Spa, Golf รูปแบบของสื่อที่จะผลิต เช่น โปสเตอร์ วีดีโอ สไลด์ แผ่นพับ ซีดีรอม มีการร่วมลงขันกับผู้ประกอบการจัดทำ Photo CD, Photo Bank ให้สามารถ Download ได้ทาง Internet
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ผู้ประกอบการนำเที่ยว/การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2) เน้นการส่งเสริมการขายในลักษณะ Hard Sale ร่วมกับบริษัทนำเที่ยวในตลาดเพื่อกระตุ้นการขายรายการนำเที่ยวมาประเทศไทย ดังนี้
(1) โครงการจัดทำข้อเสนอพิเศษ (Special Offer) โดยจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาและให้บริษัทนำเที่ยวต่างประเทศสนใจจัดรายการนำเที่ยวมาไทย เป็นกลยุทธ์ที่จะดึงความสนใจโดยเฉพาะช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยยังมีความน่าเที่ยวและในหลายพื้นที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมรองรับตัวอย่างของข้อเสนอพิเศษ เช่น อภินันทนาการห้องพัก ตั๋วโดยสารราคาพิเศษสำหรับการเดินทางบางเส้นทาง บางช่วงเวลาจัดคูปองลดราคาที่จูงใจ การอภินันทนาการรายการนำเที่ยวสำหรับผู้โดยสารเดินทางผ่าน (Transit Passenger) เป็นต้น โดยให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อเสนอพิเศษนี้ให้ทุกสื่อที่มี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ธุรกิจเอกชน ได้แก่ บริษัทนำเที่ยว/โรงแรม/ภัตตาคาร ร้านค้า/สายการบิน : บริษัทการบินไทย/บางกอกแอร์เวย์/แองเจิลแอร์/พี บี แอร์ แอร์อันดามัน และสมาคมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
(2) โครงการ Joint Promotion ร่วมกับบริษัทนำเที่ยว สายการบินในต่างประเทศที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวมาไทยอยู่แล้วให้สามารถดำเนินการได้ผลยิ่งขึ้นในลักษณะ Hard Sale คือให้มีการเดินทางในทันที โดยฝ่ายไทยช่วยในการโฆษณารายการนำเที่ยวและข้อเสนอต่าง ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย หากเป็นกลุ่มใหญ่จะได้รับการต้อนรับหรือการบริการพิเศษนอกเหนือจากรายการปกติ
(3) โครงการจัดงานส่งเสริมการขาย ผู้ประกอบการทุกสาขาจะร่วมกันจัดงานส่งเสริมการขายเพื่อพบปะผู้ประกอบการของประเทศต่าง ๆ นำเสนอรายการนำเที่ยวพิเศษ ซึ่งเน้นการจูงใจนักท่องเที่ยวคุณภาพให้มาใช้จ่ายเงินในประเทศไทยโดยจัดใน 2 ลักษณะ คือ เดินทางไปทำ Road Show ในต่างประเทศ และเชิญผู้ประกอบการต่างประเทศมาไทย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : บริษัทนำเที่ยว/โรงแรม/บริษัทการบินไทย
3) การใช้ประโยชน์จาก Internet เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพความรวดเร็วและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวาง จะร่วมกับภาคเอกชนพัฒนา Website ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือ www.tourismthailand.org และ www.experiencethailand.com ทั้งโครงสร้างและความทันสมัยให้เฉพาะเจาะจงตรงตามความต้องการของแต่ละตลาด (Tailor - made) เป็นภาษท้องถิ่นให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในประเทศต่าง ๆ ทำการเชื่อมโยง Website ของ ททท. กับ Website ของหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชนที่ส่งเสริมการขายประเทศไทย และจะมีการเผยแพร่โฆษณา Website ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ จะพัฒนาใน 2 ลักษณะคือ
- การให้ข้อมูลข่าวสาร จะมีการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวให้ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว และ Down Load ข้อมูล/รูปภาพได้สะดวกรวดเร็ว
- พาณิชย์อิเลคโทรนิค (E-commerce) ให้ Website ของ ททท. เป็นช่องทางให้ภาคเอกชนได้นำเสนอรายการนำเที่ยวและข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรงในลักษณะ Hard Sale
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : บริษัทนำเที่ยว/โรงแรม/สมาคมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
4) การส่งเสริมการประชุมสัมมนา นิทรรศการนานาชาติ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ดังนี้
(1) โครงการรณรงค์ The Place to Meet Amazing Thailand ปี 2001 - 2002 การให้ข้อเสนอพิเศษจาก ททท. สายการบิน และภาคเอกชน เพื่อประกอบการตัดสินใจมาจัดกิจกรรมในประเทศไทย อาทิ ราคาพิเศษบัตรโดยสาร การสนับสนุนของที่ระลึก การสนับสนุนการประชาสัมพันธ์และผลิตสื่อส่งเสริมเพื่อเผยแพร่การประชุมการสนับสนุนการจัดพิธีเปิด การบริการการขนส่งอุปกรณ์การจัดกิจกรรม การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมประชุม เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ/สมาคมการแสดงสินค้า/สมาคมโรงแรม/บริษัทการบินไทย/กรมศุลกากร/สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง/การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
(2) โครงการข้อเสนอพิเศษสำหรับกระตุ้นการจัดกิจกรรม MICE ในประเทศไทย การให้ข้อเสนอพิเศษสำหรับหน่วยงานที่จะเข้ามาจัดกิจกรรม MICE ในประเทศไทย ที่มีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 500 คนขึ้นไป ในปี2001 โดย ททท. จะสนับสนุนในส่วนของการจัดเลี้ยง 1 มื้อ เพิ่มเติมจากข้อเสนอตามโครงการ The Place to MeetAmazing Thailand
สำหรับการกระตุ้นเป้าหมายในระยะสั้น จะกำหนดให้สำนักงาน ททท. ต่างประเทศแต่ละแห่งดำเนินการนำกลุ่ม MICE เข้ามาจัดกิจกรรมในประเทศอย่างน้อย 4 กลุ่ม หรือ 2,000 คน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้จัดกิจกรรม MICE ในประเทศรวมทั้งสิ้น 30,000 คน พำนักอยู่ในประเทศไทยโดยเฉลี่ย 8 วัน และมีค่าใช้จ่าย/คน/วัน ประมาณ 8,000 บาท ทั้งนี้ คาดว่าจะนำรายเข้าประเทศประมาณ 2,000 ล้านบาท
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : หน่วยงานที่มีสถานที่เหมาะสมสำหรับจัดงานเลี้ยง (Theme Party)
5) การเปิดสำนักงาน ททท. ในต่างประเทศ จากแผนแม่บทอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2544 - 2553 ททท. ได้กำหนดตลาดเป้าหมายที่จะดำเนินการส่งเสริมการตลาดเชิงรุกไว้ 11 ตลาด ทั้งในยุโรปและเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ เยอรมนี ยุโรปตะวันออก สแกนดีเนเวีย และตลาดที่จะรักษาการเจริญเติบโตอีก 11 ตลาดเช่น ฮ่องกง อินเดีย รัสเซีย ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เป็นต้น
ในการดำเนินการตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ททท. ได้กำหนดแผนงานที่จะต้องปฏิบัติเป็นการเร่งด่วน ซึ่งหนึ่งในแผนงานนั้นได้แก่ การตั้งสำนักงาน ททท. ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ททท. ด้านการส่งเสริมการตลาดให้สอดคล้องกับการเติบโตและภาวะการแข่งขันทางการท่องเที่ยว และเพื่อขยายโครงข่ายการดำเนินงานส่งเสริมการตลาดให้กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายให้มากขึ้น โดยดำเนินการเร่งด่วนใน3 แห่ง คือ สแกนดิเนเวีย (สตอกโฮล์ม) อินเดีย (นิวเดลี หรือมุมไบ) จีน (ปักกิ่ง) ในลักษณะดำเนินการเต็มรูปแบบ คือมีสำนักงานที่ทำการ มีเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางประจำ พร้อมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามความจำเป็น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงบประมาณ/กระทรวงการคลัง/กระทรวงการต่างประเทศ
2. เห็นชอบสนับสนุนงบประมาณพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบปกติ ในวงเงิน 500 ล้านบาท โดยให้ตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินโครงการ โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-