คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานการติดตามผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติของจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ในชั้นแรก โดยจะได้เชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาประชุม เพื่อเร่งรัดและแก้ไขปัญหาตามที่เสนอมาและจะได้จัดทำรายงานนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ความเสียหาย จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ได้รับความเสียหาย โดยมีพื้นที่ได้รับความเสียหายรวมทั้งสิ้น 14 อำเภอ 55 ตำบล 217 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเสียหาย 13,812 ครัวเรือน จำนวน 57,917 คน มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,226 คน บาดเจ็บ 11,279 และสูญหาย 2,914 คน ซึ่งอำเภอที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ อำเภอตะกั่วป่า จำนวน 3,808 คน และบาดเจ็บ จำนวน 4,210 คน โดยจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดได้เสนอความต้องการที่จะขอให้ส่วนกลางช่วยสนับสนุนหรือแก้ไข ดังนี้
1. จังหวัดภูเก็ต
1) เร่งรัดโครงการพัฒนาชายหาดกมลา และหาดป่าตอง โดยเฉพาะการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน
2) เร่งรัดการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือให้ครบจำนวนโดยเร็ว
3) เนื่องจากจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวกำลังเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จึงมีความเป็นห่วงในการฟื้นฟูสภาพภูมิทัศน์ (Landscape) โดยเฉพาะหาดกมลา และหาดในยาง จึงขอให้เร่งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงามกลับคืนอยู่ในสภาพเดิม ส่วนการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะมีส่วนทำให้สภาพภูมิทัศน์ไม่สวยงาม ขอให้ดำเนินการภายหลังจากช่วง High Season แล้ว และควรทำป้ายบอกทางในการหนีภัยในกรณีที่เกิดสึนามิให้ชัดเจนตามชายหาดทุกแห่ง
2. จังหวัดกระบี่
1) การสร้างบ้านถาวร บ้านน็อกดาวน์ที่ได้รับจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนยังไม่มีห้องน้ำ ห้องส้วม และฐานราก จึงต้องการงบประมาณมาสนับสนุนในการดำเนินการหลังละ 47,000 บาท และที่เกาะลันตา หลังละ 57,000 บาท โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น จำนวน 22 ล้านบาท
2) การก่อสร้างหอสัญญาณเตือนภัย 19 จุด ที่จังหวัดกระบี่ใช้งบประมาณจากยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดมาดำเนินการนั้น จังหวัดต้องการให้มีผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เตือนภัยแห่งชาติมาช่วยให้คำปรึกษาด้านเทคนิค เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันกับของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
3) การแก้ไขกฎหมายผังเมืองที่เกาะพีพี ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกเลิกกฎกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในส่วนของเกาะพีพี เรื่องห้ามก่อสร้างโรงแรม และขอให้แก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2546 เฉพาะบริเวณเกาะพีพี ในเรื่องความสูงของอาคาร ให้สอดคล้องกับประกาศของกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดกระบี่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2548
4) การก่อสร้างท่าเทียบเรือที่เกาะพีพี ซึ่งได้รับงบประมาณในการดำเนินการแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงขอให้พิจารณาดำเนินการเรื่องนี้ เพื่อจะได้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป
3. จังหวัดพังงา
1) การก่อสร้างถนน และ Walk way บริเวณเขาหลัก ควรมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างและการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2) การก่อสร้างหอสัญญาณเตือนภัยเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 20 จุด (1 เสา ต่อ 1 จุด) และทางหนีภัย ขอให้เร่งรัดดำเนินการโดยเร็ว
3) ความชัดเจนในการจัดงานครบรอบ 1 ปี สึนามิ
โดยเรื่องที่สมควรเร่งรัดโดยเร็ว ได้แก่
1) การก่อสร้างท่าเทียบเรือที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ เพื่อรองรับการฟื้นฟูเกาะพีพีและรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว
2) การก่อสร้างปรับปรุงถนนที่บริเวณเขาหลัก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เพื่อรองรับการฟื้นฟูเขาหลักและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่จะกลับมารำลึกถึงวันครบรอบเหตุการณ์สึนามิ
3) การติดตั้งหอสัญญาณเตือนภัย ป้ายและเส้นทางหนีภัย ของทั้ง 3 จังหวัด เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
ความเสียหาย จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ได้รับความเสียหาย โดยมีพื้นที่ได้รับความเสียหายรวมทั้งสิ้น 14 อำเภอ 55 ตำบล 217 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเสียหาย 13,812 ครัวเรือน จำนวน 57,917 คน มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,226 คน บาดเจ็บ 11,279 และสูญหาย 2,914 คน ซึ่งอำเภอที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ อำเภอตะกั่วป่า จำนวน 3,808 คน และบาดเจ็บ จำนวน 4,210 คน โดยจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดได้เสนอความต้องการที่จะขอให้ส่วนกลางช่วยสนับสนุนหรือแก้ไข ดังนี้
1. จังหวัดภูเก็ต
1) เร่งรัดโครงการพัฒนาชายหาดกมลา และหาดป่าตอง โดยเฉพาะการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน
2) เร่งรัดการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือให้ครบจำนวนโดยเร็ว
3) เนื่องจากจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวกำลังเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จึงมีความเป็นห่วงในการฟื้นฟูสภาพภูมิทัศน์ (Landscape) โดยเฉพาะหาดกมลา และหาดในยาง จึงขอให้เร่งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงามกลับคืนอยู่ในสภาพเดิม ส่วนการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะมีส่วนทำให้สภาพภูมิทัศน์ไม่สวยงาม ขอให้ดำเนินการภายหลังจากช่วง High Season แล้ว และควรทำป้ายบอกทางในการหนีภัยในกรณีที่เกิดสึนามิให้ชัดเจนตามชายหาดทุกแห่ง
2. จังหวัดกระบี่
1) การสร้างบ้านถาวร บ้านน็อกดาวน์ที่ได้รับจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนยังไม่มีห้องน้ำ ห้องส้วม และฐานราก จึงต้องการงบประมาณมาสนับสนุนในการดำเนินการหลังละ 47,000 บาท และที่เกาะลันตา หลังละ 57,000 บาท โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น จำนวน 22 ล้านบาท
2) การก่อสร้างหอสัญญาณเตือนภัย 19 จุด ที่จังหวัดกระบี่ใช้งบประมาณจากยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดมาดำเนินการนั้น จังหวัดต้องการให้มีผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เตือนภัยแห่งชาติมาช่วยให้คำปรึกษาด้านเทคนิค เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันกับของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
3) การแก้ไขกฎหมายผังเมืองที่เกาะพีพี ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกเลิกกฎกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในส่วนของเกาะพีพี เรื่องห้ามก่อสร้างโรงแรม และขอให้แก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2546 เฉพาะบริเวณเกาะพีพี ในเรื่องความสูงของอาคาร ให้สอดคล้องกับประกาศของกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดกระบี่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2548
4) การก่อสร้างท่าเทียบเรือที่เกาะพีพี ซึ่งได้รับงบประมาณในการดำเนินการแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงขอให้พิจารณาดำเนินการเรื่องนี้ เพื่อจะได้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป
3. จังหวัดพังงา
1) การก่อสร้างถนน และ Walk way บริเวณเขาหลัก ควรมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างและการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2) การก่อสร้างหอสัญญาณเตือนภัยเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 20 จุด (1 เสา ต่อ 1 จุด) และทางหนีภัย ขอให้เร่งรัดดำเนินการโดยเร็ว
3) ความชัดเจนในการจัดงานครบรอบ 1 ปี สึนามิ
โดยเรื่องที่สมควรเร่งรัดโดยเร็ว ได้แก่
1) การก่อสร้างท่าเทียบเรือที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ เพื่อรองรับการฟื้นฟูเกาะพีพีและรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว
2) การก่อสร้างปรับปรุงถนนที่บริเวณเขาหลัก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เพื่อรองรับการฟื้นฟูเขาหลักและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่จะกลับมารำลึกถึงวันครบรอบเหตุการณ์สึนามิ
3) การติดตั้งหอสัญญาณเตือนภัย ป้ายและเส้นทางหนีภัย ของทั้ง 3 จังหวัด เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--