คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติในหลักการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์คุณกิตติ) เป็นประธาน ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้ดำเนินโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยกับเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ และให้จัดทำรายละเอียดของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ สำหรับวงเงินในการดำเนินการให้ทบวงมหาวิทยาลัยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณโดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1.1 เนื่องจากงบประมาณในการดำเนินการตามโครงการนี้ รายละเอียดในการดำเนินการบางอย่างอาจจะยังไม่ชัดเจน จึงขอให้ทบวงมหาวิทยาลัยขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้ ขอให้ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันจัดทำแผนงานงบประมาณและการบริหารจัดการเครือข่ายร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและประหยัดอย่างแท้จริงในภาวะที่งบประมาณของประเทศมีจำกัด
1.2 ส่วนการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ควรเปิดกว้างให้มีทางเลือกหลายทางโดยคำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงบประมาณด้วย
2. อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้
2.1 คณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ ให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายพัฒนาเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ กำกับดูแลและพิจารณากลั่นกรองโครงการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น โดยแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสิริกร มณีรินทร์) เป็นที่ปรึกษา และนายระเฑียร ศรีมงคล เป็นกรรมการ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ
2.2 คณะกรรมการพัฒนาโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธาน ให้มีอำนาจหน้าที่ในการวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการอำนวยการแล้วเสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการอำนวยการพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โดยให้เพิ่มผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติผู้แทนกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนกระทรวงคมนาคม (กรมไปรษณีย์โทรเลข) เป็นกรรมการด้วย
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการทั้งสองคณะประสานการดำเนินการกับคณะกรรมการดำเนินการโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
3. ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้ความร่วมมือในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพ โดยจัดให้เป็นหน่วยงานในกำกับของทบวงมหาวิทยาลัยที่มีระบบบริหารงานอิสระจากระบบราชการ และมีคณะกรรมการบริหารจำนวนหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นองค์กรกลางในการบริหารสำนักงาน มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและจัดระบบการบริหารงานบุคคลและงบประมาณ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอเพิ่มเติม ทั้งนี้ต้องไม่มีการเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณแต่อย่างใด
ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 ที่เห็นชอบโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาแล้วนั้น ทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศความเร็วสูงครอบคลุมมหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ครบทั้ง 24 แห่ง และวิทยาเขตสารสนเทศอีก 17 แห่ง ทั่วประเทศ เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษานี้ประกอบด้วยระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบ 2 ทาง การพัฒนาชุดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการสอนทางไกล และการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารอุดมศึกษา ในปี 2542 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ขยายเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตสากลที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบการศึกษาทั่วโลก ในปี 2543 ทบวงมหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษาและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญของชาติ และมีค่าใช้จ่ายสูง จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง คุ้มค่า จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อกำหนดแนวทางในการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศของทบวงมหาวิทยาลัยกับเครือข่ายสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้
1. เพื่อกระจายเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาให้ถึงสถานศึกษาทุกระดับอย่างกว้างขวางและเป็นธรรม
2. เพื่อให้สถานศึกษาและชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศทางการศึกษาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อจัดโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นให้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ปัจจุบันทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการต่างพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาและมุ่งขยายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมสถานศึกษาของแต่ละสังกัด จึงเกิดความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณและขาดประสิทธิภาพ ประกอบกับการจัดตั้งกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 จึงจำเป็นต้องเร่งจัดระบบการบริหารเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็นระบบเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. อนุมัติในหลักการให้ดำเนินโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยกับเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ และให้จัดทำรายละเอียดของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ สำหรับวงเงินในการดำเนินการให้ทบวงมหาวิทยาลัยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณโดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1.1 เนื่องจากงบประมาณในการดำเนินการตามโครงการนี้ รายละเอียดในการดำเนินการบางอย่างอาจจะยังไม่ชัดเจน จึงขอให้ทบวงมหาวิทยาลัยขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้ ขอให้ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันจัดทำแผนงานงบประมาณและการบริหารจัดการเครือข่ายร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและประหยัดอย่างแท้จริงในภาวะที่งบประมาณของประเทศมีจำกัด
1.2 ส่วนการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ควรเปิดกว้างให้มีทางเลือกหลายทางโดยคำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงบประมาณด้วย
2. อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้
2.1 คณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ ให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายพัฒนาเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ กำกับดูแลและพิจารณากลั่นกรองโครงการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น โดยแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสิริกร มณีรินทร์) เป็นที่ปรึกษา และนายระเฑียร ศรีมงคล เป็นกรรมการ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ
2.2 คณะกรรมการพัฒนาโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธาน ให้มีอำนาจหน้าที่ในการวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการอำนวยการแล้วเสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการอำนวยการพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โดยให้เพิ่มผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติผู้แทนกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนกระทรวงคมนาคม (กรมไปรษณีย์โทรเลข) เป็นกรรมการด้วย
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการทั้งสองคณะประสานการดำเนินการกับคณะกรรมการดำเนินการโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
3. ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้ความร่วมมือในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพ โดยจัดให้เป็นหน่วยงานในกำกับของทบวงมหาวิทยาลัยที่มีระบบบริหารงานอิสระจากระบบราชการ และมีคณะกรรมการบริหารจำนวนหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นองค์กรกลางในการบริหารสำนักงาน มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและจัดระบบการบริหารงานบุคคลและงบประมาณ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอเพิ่มเติม ทั้งนี้ต้องไม่มีการเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณแต่อย่างใด
ทบวงมหาวิทยาลัยรายงานว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 ที่เห็นชอบโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาแล้วนั้น ทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศความเร็วสูงครอบคลุมมหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ครบทั้ง 24 แห่ง และวิทยาเขตสารสนเทศอีก 17 แห่ง ทั่วประเทศ เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษานี้ประกอบด้วยระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบ 2 ทาง การพัฒนาชุดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการสอนทางไกล และการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารอุดมศึกษา ในปี 2542 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ขยายเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตสากลที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบการศึกษาทั่วโลก ในปี 2543 ทบวงมหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษาและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญของชาติ และมีค่าใช้จ่ายสูง จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง คุ้มค่า จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อกำหนดแนวทางในการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศของทบวงมหาวิทยาลัยกับเครือข่ายสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้
1. เพื่อกระจายเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาให้ถึงสถานศึกษาทุกระดับอย่างกว้างขวางและเป็นธรรม
2. เพื่อให้สถานศึกษาและชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศทางการศึกษาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อจัดโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นให้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ปัจจุบันทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการต่างพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาและมุ่งขยายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมสถานศึกษาของแต่ละสังกัด จึงเกิดความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณและขาดประสิทธิภาพ ประกอบกับการจัดตั้งกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 จึงจำเป็นต้องเร่งจัดระบบการบริหารเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็นระบบเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-