ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดชนิดของโรคระบาดเพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ กำหนดโรคซัลโมเนลโลซีส (Salmonellosis) วัณโรค (Tuberculosis) โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) และโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy) เป็นโรคระบาด ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
ทั้งนี้ เนื่องจากโรคซัลโมเนลโลซีส (Salmonellosis) วัณโรค (Tuberculosis) โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) เป็นโรคระบาดที่สามารถติดต่อหรือแพร่ระบาดไปยังสัตว์ด้วยกันเอง และยังสามารถติดต่อไปยังคน (Zoonosis) ทำให้ผู้ได้รับเชื้อแสดงอาการป่วยหรือเสียชีวิต ซึ่งโรคระบาดดังกล่าวมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถส่งสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศได้ จึงก่อให้เกิดผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy) นั้น จัดว่าเป็นโรคชนิดแปลกถิ่น (Exotic disease) ที่ยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดกับโคนมซึ่งจะแสดงอาการทางระบบประสาทและตายในที่สุด โดยมีอัตราการตาย 100% นอกจากนี้โรคดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสมองฝ่อ (Creutzfeldt - Jakob Disease) ในคนได้ เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันโรคระบาดให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ และสามารถควบคุมโรคระบาดในกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างทันท่วงที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดชนิดของโรคระบาดเพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ กำหนดโรคซัลโมเนลโลซีส (Salmonellosis) วัณโรค (Tuberculosis) โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) และโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy) เป็นโรคระบาด ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
ทั้งนี้ เนื่องจากโรคซัลโมเนลโลซีส (Salmonellosis) วัณโรค (Tuberculosis) โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) เป็นโรคระบาดที่สามารถติดต่อหรือแพร่ระบาดไปยังสัตว์ด้วยกันเอง และยังสามารถติดต่อไปยังคน (Zoonosis) ทำให้ผู้ได้รับเชื้อแสดงอาการป่วยหรือเสียชีวิต ซึ่งโรคระบาดดังกล่าวมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถส่งสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศได้ จึงก่อให้เกิดผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy) นั้น จัดว่าเป็นโรคชนิดแปลกถิ่น (Exotic disease) ที่ยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดกับโคนมซึ่งจะแสดงอาการทางระบบประสาทและตายในที่สุด โดยมีอัตราการตาย 100% นอกจากนี้โรคดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสมองฝ่อ (Creutzfeldt - Jakob Disease) ในคนได้ เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันโรคระบาดให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ และสามารถควบคุมโรคระบาดในกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างทันท่วงที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-