คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเห็นชอบด้วย
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมายที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกแรงงานใหม่ ยกระดับฝีมือที่มีอยู่ให้ทันเทคโนโลยี หรือการฝึกเพื่อเปลี่ยนอาชีพ อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจ มีการยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และได้รับสิทธิการหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาที่ได้เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้ให้เอกชนที่ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อเป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกพัฒนาแรงงาน และมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานซึ่งจะทำให้การพัฒนาแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537
2. พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐ และองค์การของรัฐ
3. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดสาขาอาชีพที่จะส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
4. ให้ผู้ซึ่งจัดให้มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานตามสาขาอาชีพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเสนอต่อนายทะเบียน
5. ให้ผู้ดำเนินการฝึกจัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึก
6. ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และส่งเสริมให้มีผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
7. จัดให้มีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
8. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมายที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกแรงงานใหม่ ยกระดับฝีมือที่มีอยู่ให้ทันเทคโนโลยี หรือการฝึกเพื่อเปลี่ยนอาชีพ อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจ มีการยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และได้รับสิทธิการหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาที่ได้เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้ให้เอกชนที่ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อเป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกพัฒนาแรงงาน และมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานซึ่งจะทำให้การพัฒนาแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537
2. พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐ และองค์การของรัฐ
3. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดสาขาอาชีพที่จะส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
4. ให้ผู้ซึ่งจัดให้มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานตามสาขาอาชีพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเสนอต่อนายทะเบียน
5. ให้ผู้ดำเนินการฝึกจัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึก
6. ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และส่งเสริมให้มีผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
7. จัดให้มีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
8. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-