แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
รัฐวิสาหกิจ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนองบประมาณประจำปี 2545
ของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมและรายรัฐวิสาหกิจ จำนวน 50 แห่ง แล้วมีมติให้ความเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 5 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์
อินทรวิทยนันท์) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาพรวมข้อเสนอ
1.1 งบประมาณทำการ
ประมาณการรายได้ 1,289,530 ล้านบาท
ประมาณการรายจ่าย 1,225,794 ล้านบาท
ประมาณการกำไรสุทธิ 63,736 ล้านบาท
1.2 งบประมาณลงทุน
งบลงทุนเพื่อดำเนินงานปกติ 108,904 ล้านบาท
รวม 239,922 ล้านบาท
ประมาณจ่าย 189,046 ล้านบาท
หรือร้อยละ 78.8
1.3 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income:RI)
รัฐวิสาหกิจ 50 แห่ง มี RI รวมทั้งสิ้น 144,684 ล้านบาท
2. สาระสำคัญโดยสรุป
2.1 งบประมาณทำการ
ในปี 2545 การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 63,736 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปี 2544 จำนวน 5,660 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 ซึ่งเป็นประมาณการบนพื้นฐานของการคาดการณ์ว่า
สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2545 จะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนกว่าปี 2544
อนึ่ง การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ก่อนหัก
ดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ของปีที่ผ่านมา หนี้สินต่อส่วนทุน 1.5 ต่อ 1 ลดลงจาก 1.7 ต่อ 1 ในปี 2544 และมีค่าใช้จ่าย
บุคคลต่อใช้จ่ายรวมร้อยละ 7.0 ลดลงจากร้อยละ 7.3 ของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
ให้รัฐวิสาหกิจพยายามลดพนักงานและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
2.2 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income : RI)
ผลจากฐานะการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประมาณได้ว่า ในภาพรวมรัฐวิสาหกิจจะสามารถ
จัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) ได้ 144,684 ล้านบาท ลดจากที่คาดว่าจะจัดหาได้ในปี 2544 (173,275 ล้านบาท) ประมาณร้อยละ
16.5 ทั้งนี้เนื่องจาก RI ในปี 2544 สูงมากกว่าปกติ เพราะมีรายรับจากการขายหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะจัดตั้งขึ้นในปลายปี
2544 ประมาณ 20,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายรับจากการขายโรงไฟฟ้าราชบุรี 49,700 ล้านบาท ในขณะที่
คาดว่าในปี 2545 จะมีรายรับส่วนนี้เพียง 9,000 ล้านบาท
2.3 งบประมาณลงทุน
จากงบประมาณที่รัฐวิสาหกิจเสนอ เห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ 204,899
ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 160,505 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้พิจารณาโดยยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนประจำปี 2545
ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศตามแผนการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งสนับสนุนแนวทางการพัฒนา
ประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และความพร้อมของรัฐวิสาหกิจที่จะสามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้จริงในปีนี้
อนุมัติให้เบิกจ่ายดังกล่าวจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 15,821 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.3 ของ GDP โดยมีสัดส่วนการจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่อรัฐบาลเท่ากับ 0.7 ต่อ 1 ทั้งนี้ วงเงินที่อนุมัติให้
เบิกจ่ายในปี 2545 จำนวน 160,505 ล้านบาท นั้น ลดลงจากวงเงินที่คาดว่าจะจ่ายจริงในปี 2544 ประมาณ 17,832 ล้านบาท หรือลดลง
ร้อยละ 10
อนึ่ง การจัดทำงบลงทุนปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจนั้น มีพื้นฐานอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า มีอัตราแลกเปลี่ยนโดย
เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากใช้อัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับงบประมาณประจำปี 2545 ของภาคราชการที่ใช้อัตรา
แลกเปลี่ยน 41 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ แล้ววงเงินเบิกจ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 161,775
ล้านบาท
2.4 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุน เนื่องจากขณะนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดเบิกจ่ายลงทุนของ
รัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรเสนอมาตรการสนับสนุน ดังนี้
- ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้วงเงินใช้จ่ายในรูปเงินบาท
เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอนุมัติไว้ โดยที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ก็ให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นตาม
ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่ให้รายงาน สศช. ทราบทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นดังกล่าว เพื่อ
รวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
- กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง จะต้องเบิกจ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของวงเงิน
ที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่าย
- เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหาพัสดุจากต่างประเทศ
ตามรายการที่เสนอมาในงบประมาณปี 2545 ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีต้นสังกัดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544
- ในกรณีที่การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมควรให้องค์กร
ที่มีความเป็นกลางทำหน้าที่แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการในการว่าจ้างและกำกับดูแลการศึกษาผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม
- รัฐวิสาหกิจควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ
ลงทุนขนาดใหญ่
2) การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และส่งเสริมให้
รัฐวิสาหกิจมีการบริหารงานเชิงรุก เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่าง
จริงจัง ดังนี้
- ให้รัฐวิสาหกิจดำเนินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทุกด้านอย่างเป็นระบบ
(Productivity Movement) ทั้งนี้ ให้กำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจน และมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง
เป็นเวลา 3 ปี (2545-2547)
- เนื่องจากระบบข้อมูลทางด้านบัญชี การเงิน และต้นทุนการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างมาก
ต่อการบริหารการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ การขอรับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ และการกำหนดอัตราค่าบริการ
รัฐวิสาหกิจจึงควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการปรับปรุงระบบข้อมูลดังกล่าวให้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ควรมีการพิจารณาให้มีการปรับอัตราค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อ
มิให้เป็นภาระแก่รัฐบาลมากเกินไป
- สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะรายรัฐวิสาหกิจนั้น เห็นควรให้
รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่ปรากฏในเอกสารประกอบงบประมาณปี 2545 ของ
รัฐวิสาหกิจต่อไป
3) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายชัดเจนต้องการให้รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรหลัก
ในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ จึงเห็นควรเสนอ
- ให้รัฐวิสาหกิจที่มีกำหนดจะต้องนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วง 3 ปีนี้ เร่งเตรียม
ความพร้อมของตนเองในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กำหนด
- สำหรับรัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนในการแปรรูป ก็ควรเร่งรัด
ให้มีข้อยุติที่ชัดเจนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1. กรอบนโยบายงบประมาณของภาครัฐ ในปี 2545 คือ ขาดดุลที่ร้อยละ 4.2 ของ GDP โดยแบ่งเป็น
ขาดดุลของราชการ ร้อยละ 3.6 และขาดดุลภาครัฐวิสาหกิจร้อยละ 0.6 เมื่อพิจารณาจากวงเงินงบประมาณปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจที่จะ
อนุมัติให้เบิกจ่าย ซึ่งขาดดุลเพียงร้อยละ 0.3 จึงค่อนข้างต่ำ ประกอบกับผลการดำเนินงานและรัฐวิสาหกิจในปีที่ผ่านมา ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
จึงควรให้มีการดูแลติดตามให้รัฐวิสาหกิจดำเนินงานและเบิกจ่ายตามแผนอย่าง
ใกล้ชิด เพื่อให้แผนงบประมาณเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนที่เสนอให้รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหาพัสดุจาก
ต่างประเทศตามรายการที่เสนอมาในงบประมาณปี 2544 ได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีต้นสังกัดตามมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ 13 มีนาคม 2544 นั้น แม้จะช่วยให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น แต่อาจเป็นการไม่สนับสนุน
ผู้ประกอบการในประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตพัสดุที่รัฐวิสาหกิจสามารถนำไปใช้ได้ รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อความโปร่งใสและประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ จึงควรหากลไกรองรับในเรื่องนี้ด้วย
3. เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รัฐวิสาหกิจจึงควรมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการ
ในประเทศให้ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศได้ เช่น โดยการปรับการกำหนด
คุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ของพัสดุที่ใช้ให้เปิดกว้างแก่
ผู้ประกอบการในประเทศด้วย เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
ของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมและรายรัฐวิสาหกิจ จำนวน 50 แห่ง แล้วมีมติให้ความเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 5 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์
อินทรวิทยนันท์) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาพรวมข้อเสนอ
1.1 งบประมาณทำการ
ประมาณการรายได้ 1,289,530 ล้านบาท
ประมาณการรายจ่าย 1,225,794 ล้านบาท
ประมาณการกำไรสุทธิ 63,736 ล้านบาท
1.2 งบประมาณลงทุน
งบลงทุนเพื่อดำเนินงานปกติ 108,904 ล้านบาท
รวม 239,922 ล้านบาท
ประมาณจ่าย 189,046 ล้านบาท
หรือร้อยละ 78.8
1.3 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income:RI)
รัฐวิสาหกิจ 50 แห่ง มี RI รวมทั้งสิ้น 144,684 ล้านบาท
2. สาระสำคัญโดยสรุป
2.1 งบประมาณทำการ
ในปี 2545 การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 63,736 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปี 2544 จำนวน 5,660 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 ซึ่งเป็นประมาณการบนพื้นฐานของการคาดการณ์ว่า
สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2545 จะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนกว่าปี 2544
อนึ่ง การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ก่อนหัก
ดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ของปีที่ผ่านมา หนี้สินต่อส่วนทุน 1.5 ต่อ 1 ลดลงจาก 1.7 ต่อ 1 ในปี 2544 และมีค่าใช้จ่าย
บุคคลต่อใช้จ่ายรวมร้อยละ 7.0 ลดลงจากร้อยละ 7.3 ของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
ให้รัฐวิสาหกิจพยายามลดพนักงานและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
2.2 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income : RI)
ผลจากฐานะการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประมาณได้ว่า ในภาพรวมรัฐวิสาหกิจจะสามารถ
จัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) ได้ 144,684 ล้านบาท ลดจากที่คาดว่าจะจัดหาได้ในปี 2544 (173,275 ล้านบาท) ประมาณร้อยละ
16.5 ทั้งนี้เนื่องจาก RI ในปี 2544 สูงมากกว่าปกติ เพราะมีรายรับจากการขายหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะจัดตั้งขึ้นในปลายปี
2544 ประมาณ 20,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายรับจากการขายโรงไฟฟ้าราชบุรี 49,700 ล้านบาท ในขณะที่
คาดว่าในปี 2545 จะมีรายรับส่วนนี้เพียง 9,000 ล้านบาท
2.3 งบประมาณลงทุน
จากงบประมาณที่รัฐวิสาหกิจเสนอ เห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ 204,899
ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 160,505 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้พิจารณาโดยยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนประจำปี 2545
ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศตามแผนการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งสนับสนุนแนวทางการพัฒนา
ประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และความพร้อมของรัฐวิสาหกิจที่จะสามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้จริงในปีนี้
อนุมัติให้เบิกจ่ายดังกล่าวจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 15,821 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.3 ของ GDP โดยมีสัดส่วนการจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่อรัฐบาลเท่ากับ 0.7 ต่อ 1 ทั้งนี้ วงเงินที่อนุมัติให้
เบิกจ่ายในปี 2545 จำนวน 160,505 ล้านบาท นั้น ลดลงจากวงเงินที่คาดว่าจะจ่ายจริงในปี 2544 ประมาณ 17,832 ล้านบาท หรือลดลง
ร้อยละ 10
อนึ่ง การจัดทำงบลงทุนปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจนั้น มีพื้นฐานอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า มีอัตราแลกเปลี่ยนโดย
เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากใช้อัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับงบประมาณประจำปี 2545 ของภาคราชการที่ใช้อัตรา
แลกเปลี่ยน 41 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ แล้ววงเงินเบิกจ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 161,775
ล้านบาท
2.4 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุน เนื่องจากขณะนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดเบิกจ่ายลงทุนของ
รัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรเสนอมาตรการสนับสนุน ดังนี้
- ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้วงเงินใช้จ่ายในรูปเงินบาท
เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับอนุมัติไว้ โดยที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ก็ให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นตาม
ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่ให้รายงาน สศช. ทราบทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นดังกล่าว เพื่อ
รวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
- กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง จะต้องเบิกจ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของวงเงิน
ที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่าย
- เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหาพัสดุจากต่างประเทศ
ตามรายการที่เสนอมาในงบประมาณปี 2545 ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีต้นสังกัดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544
- ในกรณีที่การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมควรให้องค์กร
ที่มีความเป็นกลางทำหน้าที่แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการในการว่าจ้างและกำกับดูแลการศึกษาผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม
- รัฐวิสาหกิจควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ
ลงทุนขนาดใหญ่
2) การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และส่งเสริมให้
รัฐวิสาหกิจมีการบริหารงานเชิงรุก เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่าง
จริงจัง ดังนี้
- ให้รัฐวิสาหกิจดำเนินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทุกด้านอย่างเป็นระบบ
(Productivity Movement) ทั้งนี้ ให้กำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจน และมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง
เป็นเวลา 3 ปี (2545-2547)
- เนื่องจากระบบข้อมูลทางด้านบัญชี การเงิน และต้นทุนการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างมาก
ต่อการบริหารการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ การขอรับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ และการกำหนดอัตราค่าบริการ
รัฐวิสาหกิจจึงควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการปรับปรุงระบบข้อมูลดังกล่าวให้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ควรมีการพิจารณาให้มีการปรับอัตราค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อ
มิให้เป็นภาระแก่รัฐบาลมากเกินไป
- สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะรายรัฐวิสาหกิจนั้น เห็นควรให้
รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่ปรากฏในเอกสารประกอบงบประมาณปี 2545 ของ
รัฐวิสาหกิจต่อไป
3) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายชัดเจนต้องการให้รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรหลัก
ในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ จึงเห็นควรเสนอ
- ให้รัฐวิสาหกิจที่มีกำหนดจะต้องนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วง 3 ปีนี้ เร่งเตรียม
ความพร้อมของตนเองในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กำหนด
- สำหรับรัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนในการแปรรูป ก็ควรเร่งรัด
ให้มีข้อยุติที่ชัดเจนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1. กรอบนโยบายงบประมาณของภาครัฐ ในปี 2545 คือ ขาดดุลที่ร้อยละ 4.2 ของ GDP โดยแบ่งเป็น
ขาดดุลของราชการ ร้อยละ 3.6 และขาดดุลภาครัฐวิสาหกิจร้อยละ 0.6 เมื่อพิจารณาจากวงเงินงบประมาณปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจที่จะ
อนุมัติให้เบิกจ่าย ซึ่งขาดดุลเพียงร้อยละ 0.3 จึงค่อนข้างต่ำ ประกอบกับผลการดำเนินงานและรัฐวิสาหกิจในปีที่ผ่านมา ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
จึงควรให้มีการดูแลติดตามให้รัฐวิสาหกิจดำเนินงานและเบิกจ่ายตามแผนอย่าง
ใกล้ชิด เพื่อให้แผนงบประมาณเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนที่เสนอให้รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหาพัสดุจาก
ต่างประเทศตามรายการที่เสนอมาในงบประมาณปี 2544 ได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีต้นสังกัดตามมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ 13 มีนาคม 2544 นั้น แม้จะช่วยให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น แต่อาจเป็นการไม่สนับสนุน
ผู้ประกอบการในประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตพัสดุที่รัฐวิสาหกิจสามารถนำไปใช้ได้ รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อความโปร่งใสและประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ จึงควรหากลไกรองรับในเรื่องนี้ด้วย
3. เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รัฐวิสาหกิจจึงควรมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการ
ในประเทศให้ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศได้ เช่น โดยการปรับการกำหนด
คุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ของพัสดุที่ใช้ให้เปิดกว้างแก่
ผู้ประกอบการในประเทศด้วย เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-