คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของการจัดโครงสร้างส่วนราชการในระดับกระทรวงเป็น 17 กระทรวง และ 1 ทบวง ดังนี้
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี ในบทบาทของศูนย์บัญชาการการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี
1.2 กระทรวงกลาโหม บริหารกองป้องกันประเทศ
1.3 กระทรวงการขนส่ง พัฒนาและออกแบบให้ประเทศไทยมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงและนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการขนส่งของภูมิภาค
1.4 กระทรวงการคลัง กำหนดและดำเนินนโยบายการคลัง และกำกับดูแลนโยบายการเงิน
1.5 กระทรวงการค้า การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางการค้าของเอเชีย ส่งเสริมให้มีการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม
1.6 กระทรวงการต่างประเทศ การเจริญความสัมพันธ์ในทุกด้านกับนานาประเทศ
1.7 กระทรวงการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ
1.8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การจัดระเบียบสังคมและระบบสวัสดิการสังคม คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิและหน้าที่ของประชาชน สร้างความเป็นธรรมทางสังคม ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต
1.9 กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พัฒนาและส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.10 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้ส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโลก
1.11 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1.12 กระทรวงพัฒนาอาชีพและการทำงาน พัฒนากำลังแรงงาน ปกป้อง คุ้มครองและสร้างหลักประกันความมั่นคง ขยายโอกาสการมีงานทำ
1.13 กระทรวงมหาดไทย เสริมสร้างความสงบสุขในสังคม ความมั่นคงภายในและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสามารถปกครองตนเองได้ รวมทั้งเสริมสร้างวงจรเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
1.14 กระทรวงยุติธรรม ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทำผิด พัฒนากฎหมายและบริหารจัดการงานในกระบวนการยุติธรรม
1.15 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใหม่เป็นสังคมแห่งความรู้ คิดและทำอย่างวิทยาศาสตร์
1.16 กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาประชากรให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
1.17 กระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความได้เปรียบในการแข่งขัน
1.18 ทบวงพลังงาน พัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
2. รับทราบการมอบหมายงานของนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับเป็นผู้บัญชาการนำเรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติ ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีช่วยดูแลรับผิดชอบการจัดรายละเอียดแต่ละกระทรวง ดังนี้
2.1 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) รับผิดชอบ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย
2.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง กระทรวงการค้ากระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทบวงพลังงาน
2.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) รับผิดชอบ กระทรวงพัฒนาอาชีพและการทำงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) รับผิดชอบ กระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2.5 รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) รับผิดชอบ กระทรวงการขนส่ง
ทั้งนี้ การปฏิรูประบบราชการในด้านการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ เป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล โดยสำนักงาน ก.พ. ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความเห็นระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ โดยให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ได้มีการทดลองปฏิบัติและมีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็น รวม 3 ครั้ง โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดกลุ่มภารกิจหลักสำคัญของภาครัฐเป็น 11 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาประเทศ การบริหารราชการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลสัมฤทธิ์ ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร และทราบความคืบหน้าการบริหารงานภาครัฐ
กลุ่มที่ 2 จัดให้มีมาตรการสนับสนุน และพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
กลุ่มที่ 3 จัดให้มีการสนับสนุนกิจการส่วนพระองค์ และโครงการตามพระราชดำริ
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมการผลิตเพื่อสร้างรายได้ และสร้างเสริมศักยภาพการแข่งขัน และปกป้องผลประโยชน์ของชาติในสังคมโลก
กลุ่มที่ 5 ดูแล พัฒนา การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต เกิดความสมดุลในการพัฒนาและเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศอย่างยั่งยืน
กลุ่มที่ 6 พัฒนาองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและการแข่งขัน
กลุ่มที่ 7 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคม และขนส่งให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต ความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการคมนาคมขนส่งของภูมิภาค
กลุ่มที่ 8 บริหารรายได้รายจ่ายของรัฐ จัดสรรทรัพยากรและบริหารทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพเพื่อความมีเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง และความมั่งคั่งอันยั่งยืนของประเทศ
กลุ่มที่ 9 พัฒนาประชากรให้มีสุขภาพ มีความรู้ ความคิดกว้างไกล มีพลานามัยและศักยภาพด้านกีฬามีวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ เป็นสังคมแห่งความรู้คู่คุณธรรมพร้อมนำประเทศชาติไปสู่ความมั่งคั่ง มีชื่อเสียง มีเกียรติ และมีศักดิ์ศรี สามารถดำรงตนร่วมกับสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
กลุ่มที่ 10 จัดระเบียบสังคม สร้างความเป็นธรรมในการดำรงชีวิต พัฒนาบรรทัดฐานทางสังคม คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้มีงานทำและมีรายได้เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาสังคม เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิต มีสวัสดิการที่เหมาะสม มีเกียรติภูมิ รู้เท่าทันโลก มุ่งประโยชน์ส่วนรวม เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้สังคมมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
กลุ่มที่ 11 กำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติ การักษาอธิปไตย การจัดระเบียบสังคม และอำนวยความยุติธรรม การเสริมสร้างความสงบสุขของสังคม ตลอดจนการส่งเสริมความเข้มแข็งของสังคม เพื่อให้ประชาชนมีความมั่งคั่งและประเทศชาติมีความมั่นคง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
1. เห็นชอบในหลักการของการจัดโครงสร้างส่วนราชการในระดับกระทรวงเป็น 17 กระทรวง และ 1 ทบวง ดังนี้
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี ในบทบาทของศูนย์บัญชาการการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี
1.2 กระทรวงกลาโหม บริหารกองป้องกันประเทศ
1.3 กระทรวงการขนส่ง พัฒนาและออกแบบให้ประเทศไทยมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงและนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการขนส่งของภูมิภาค
1.4 กระทรวงการคลัง กำหนดและดำเนินนโยบายการคลัง และกำกับดูแลนโยบายการเงิน
1.5 กระทรวงการค้า การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางการค้าของเอเชีย ส่งเสริมให้มีการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม
1.6 กระทรวงการต่างประเทศ การเจริญความสัมพันธ์ในทุกด้านกับนานาประเทศ
1.7 กระทรวงการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ
1.8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การจัดระเบียบสังคมและระบบสวัสดิการสังคม คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิและหน้าที่ของประชาชน สร้างความเป็นธรรมทางสังคม ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต
1.9 กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พัฒนาและส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.10 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้ส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโลก
1.11 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1.12 กระทรวงพัฒนาอาชีพและการทำงาน พัฒนากำลังแรงงาน ปกป้อง คุ้มครองและสร้างหลักประกันความมั่นคง ขยายโอกาสการมีงานทำ
1.13 กระทรวงมหาดไทย เสริมสร้างความสงบสุขในสังคม ความมั่นคงภายในและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสามารถปกครองตนเองได้ รวมทั้งเสริมสร้างวงจรเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
1.14 กระทรวงยุติธรรม ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทำผิด พัฒนากฎหมายและบริหารจัดการงานในกระบวนการยุติธรรม
1.15 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใหม่เป็นสังคมแห่งความรู้ คิดและทำอย่างวิทยาศาสตร์
1.16 กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาประชากรให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
1.17 กระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความได้เปรียบในการแข่งขัน
1.18 ทบวงพลังงาน พัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
2. รับทราบการมอบหมายงานของนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับเป็นผู้บัญชาการนำเรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติ ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีช่วยดูแลรับผิดชอบการจัดรายละเอียดแต่ละกระทรวง ดังนี้
2.1 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) รับผิดชอบ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย
2.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง กระทรวงการค้ากระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทบวงพลังงาน
2.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) รับผิดชอบ กระทรวงพัฒนาอาชีพและการทำงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) รับผิดชอบ กระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2.5 รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) รับผิดชอบ กระทรวงการขนส่ง
ทั้งนี้ การปฏิรูประบบราชการในด้านการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ เป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล โดยสำนักงาน ก.พ. ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความเห็นระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ โดยให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ได้มีการทดลองปฏิบัติและมีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็น รวม 3 ครั้ง โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดกลุ่มภารกิจหลักสำคัญของภาครัฐเป็น 11 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาประเทศ การบริหารราชการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลสัมฤทธิ์ ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร และทราบความคืบหน้าการบริหารงานภาครัฐ
กลุ่มที่ 2 จัดให้มีมาตรการสนับสนุน และพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
กลุ่มที่ 3 จัดให้มีการสนับสนุนกิจการส่วนพระองค์ และโครงการตามพระราชดำริ
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมการผลิตเพื่อสร้างรายได้ และสร้างเสริมศักยภาพการแข่งขัน และปกป้องผลประโยชน์ของชาติในสังคมโลก
กลุ่มที่ 5 ดูแล พัฒนา การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต เกิดความสมดุลในการพัฒนาและเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศอย่างยั่งยืน
กลุ่มที่ 6 พัฒนาองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและการแข่งขัน
กลุ่มที่ 7 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคม และขนส่งให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต ความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการคมนาคมขนส่งของภูมิภาค
กลุ่มที่ 8 บริหารรายได้รายจ่ายของรัฐ จัดสรรทรัพยากรและบริหารทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพเพื่อความมีเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง และความมั่งคั่งอันยั่งยืนของประเทศ
กลุ่มที่ 9 พัฒนาประชากรให้มีสุขภาพ มีความรู้ ความคิดกว้างไกล มีพลานามัยและศักยภาพด้านกีฬามีวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ เป็นสังคมแห่งความรู้คู่คุณธรรมพร้อมนำประเทศชาติไปสู่ความมั่งคั่ง มีชื่อเสียง มีเกียรติ และมีศักดิ์ศรี สามารถดำรงตนร่วมกับสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
กลุ่มที่ 10 จัดระเบียบสังคม สร้างความเป็นธรรมในการดำรงชีวิต พัฒนาบรรทัดฐานทางสังคม คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้มีงานทำและมีรายได้เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาสังคม เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิต มีสวัสดิการที่เหมาะสม มีเกียรติภูมิ รู้เท่าทันโลก มุ่งประโยชน์ส่วนรวม เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้สังคมมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
กลุ่มที่ 11 กำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติ การักษาอธิปไตย การจัดระเบียบสังคม และอำนวยความยุติธรรม การเสริมสร้างความสงบสุขของสังคม ตลอดจนการส่งเสริมความเข้มแข็งของสังคม เพื่อให้ประชาชนมีความมั่งคั่งและประเทศชาติมีความมั่นคง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-