คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เกี่ยวกับการปรับปรุงแผนวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาคุณภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพของการให้บริการการขนส่งทางอากาศ สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาผลการดำเนินงาน และผลประกอบการของบริษัท การบินไทยฯ แล้วพบว่ามีปัญหาที่สำคัญ ดังนี้
1.1 บริษัท การบินไทยฯ มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt-Equity Ratio) ที่ในปัจจุบันสูงถึง 11 : 1และหากรวมภาระผูกพันภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบินด้วยแล้ว สัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะสูงมากถึง 17 : 1 ซึ่งต่างจากการดำเนินธุรกิจการบินชั้นนำโดยทั่วไป ที่อยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 1.5 : 1 ถึง 2 : 1
1.2 บริษัท การบินไทยฯ มีหนี้สินสุทธิ 105,810 ล้านบาท (ไม่รวมภาระผูกพันมูลค่าปัจจุบันภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบิน ซึ่งมีมูลค่า 56,373 ล้านบาท) ในขณะที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นเพียง 9,547 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงเกินไป และเป็นจุดด้อยที่ทำให้การพัฒนาวิสาหกิจ และขีดความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทการบินไทยฯ อ่อนแอตามไปด้วย
1.3 ผลประกอบการในปีปัจจุบันของบริษัท การบินไทยฯ ลดลงจากปี 2543 กล่าวคือ ผลประกอบการ6 เดือนแรก ขาดทุนสุทธิ 935 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 9,689 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้วทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นลดลงอีกเหลือเพียง 8,688 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2544
2. ด้วยปัญหาดังกล่าว กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริษัท การบินไทยฯ ดำเนินการปรับปรุงแผนวิสาหกิจและดำเนินการตามมาตราการต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ปรับปรุงตลาดเป้าหมาย โดยขยายการให้บริการรองรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจให้มากขึ้นรวมทั้งให้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้โดยสารมากขึ้น
2.2 จัดทำแผนและมาตรการในการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการซ่อมและบำรุงรักษา เนื่องจากบริษัท การบินไทยฯ มีเครื่องบิน และเครื่องยนต์หลายชนิดมากเกินไปทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และซ่อมแซมสูง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการสำรองอะไหล่มากขึ้นตามชนิดของเครื่องบิน และเครื่องยนต์
2.3 จัดทำแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องบิน (Aircraft Utilization) ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทการบินไทยฯ ยังใช้งานเครื่องบินน้อยกว่าคู่แข่งขัน ในขณะที่บริษัท การบินไทยฯ มีจำนวนพนักงานมากกว่า
2.4 เร่งรัดการจัดทำแผนเพื่อตระเตรียมการการบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจ (Business Unit) ทั้งธุรกิจการบิน (Airline) และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Non-Airline) ให้สอดคล้องกับการแข่งขันของธุรกิจแต่ละแขนงในภาวะปัจจุบันสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งการผ่อนปรนการปฏิบัติตามระเบียบบังคับของทางราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
2.5 กำหนดกรอบและสร้างกระบวนการต่อรองผลประโยชน์จากการบริหารกลุ่มพันธมิตร (BusinessAlliance) ให้สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท การบินไทยฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2.6 จัดทำแผนการลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิ ให้มีความชัดเจน เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับงบการลงทุนของบริษัท การบินไทยฯ ในระยะอันใกล้นี้ และเป็นประเด็นหนึ่งที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจ
2.7 ให้มีการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เช่นเดียวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจโดยทั่วไป
2.8 ให้นำ E - Commerce Technology ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินวิสาหกิจทั้งในเรื่องของรายได้ การจัดซื้อ และการให้บริการลูกค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-
1. กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาผลการดำเนินงาน และผลประกอบการของบริษัท การบินไทยฯ แล้วพบว่ามีปัญหาที่สำคัญ ดังนี้
1.1 บริษัท การบินไทยฯ มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt-Equity Ratio) ที่ในปัจจุบันสูงถึง 11 : 1และหากรวมภาระผูกพันภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบินด้วยแล้ว สัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะสูงมากถึง 17 : 1 ซึ่งต่างจากการดำเนินธุรกิจการบินชั้นนำโดยทั่วไป ที่อยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 1.5 : 1 ถึง 2 : 1
1.2 บริษัท การบินไทยฯ มีหนี้สินสุทธิ 105,810 ล้านบาท (ไม่รวมภาระผูกพันมูลค่าปัจจุบันภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบิน ซึ่งมีมูลค่า 56,373 ล้านบาท) ในขณะที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นเพียง 9,547 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงเกินไป และเป็นจุดด้อยที่ทำให้การพัฒนาวิสาหกิจ และขีดความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทการบินไทยฯ อ่อนแอตามไปด้วย
1.3 ผลประกอบการในปีปัจจุบันของบริษัท การบินไทยฯ ลดลงจากปี 2543 กล่าวคือ ผลประกอบการ6 เดือนแรก ขาดทุนสุทธิ 935 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 9,689 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้วทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นลดลงอีกเหลือเพียง 8,688 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2544
2. ด้วยปัญหาดังกล่าว กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริษัท การบินไทยฯ ดำเนินการปรับปรุงแผนวิสาหกิจและดำเนินการตามมาตราการต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ปรับปรุงตลาดเป้าหมาย โดยขยายการให้บริการรองรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจให้มากขึ้นรวมทั้งให้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้โดยสารมากขึ้น
2.2 จัดทำแผนและมาตรการในการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการซ่อมและบำรุงรักษา เนื่องจากบริษัท การบินไทยฯ มีเครื่องบิน และเครื่องยนต์หลายชนิดมากเกินไปทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และซ่อมแซมสูง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการสำรองอะไหล่มากขึ้นตามชนิดของเครื่องบิน และเครื่องยนต์
2.3 จัดทำแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องบิน (Aircraft Utilization) ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทการบินไทยฯ ยังใช้งานเครื่องบินน้อยกว่าคู่แข่งขัน ในขณะที่บริษัท การบินไทยฯ มีจำนวนพนักงานมากกว่า
2.4 เร่งรัดการจัดทำแผนเพื่อตระเตรียมการการบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจ (Business Unit) ทั้งธุรกิจการบิน (Airline) และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Non-Airline) ให้สอดคล้องกับการแข่งขันของธุรกิจแต่ละแขนงในภาวะปัจจุบันสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งการผ่อนปรนการปฏิบัติตามระเบียบบังคับของทางราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
2.5 กำหนดกรอบและสร้างกระบวนการต่อรองผลประโยชน์จากการบริหารกลุ่มพันธมิตร (BusinessAlliance) ให้สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท การบินไทยฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2.6 จัดทำแผนการลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิ ให้มีความชัดเจน เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับงบการลงทุนของบริษัท การบินไทยฯ ในระยะอันใกล้นี้ และเป็นประเด็นหนึ่งที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจ
2.7 ให้มีการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เช่นเดียวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจโดยทั่วไป
2.8 ให้นำ E - Commerce Technology ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินวิสาหกิจทั้งในเรื่องของรายได้ การจัดซื้อ และการให้บริการลูกค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-