ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในส่วนที่รัฐบาลรับภาระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในส่วนที่รัฐบาลรับภาระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงิน จำนวน 9,218 ล้านบาท และองค์การรถไฟฟ้ามหานครกู้เงิน จำนวน 2,000 ล้านบาท จากตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
2. อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
3. อนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่สำนักงบประมาณได้แจ้งข้อสรุปจากการประชุมพิจารณากำหนดวงเงินและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ว่าจำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระต้นเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้ปรับลดเฉพาะต้นเงินเป็นจำนวนรวม 11,218 ล้านบาทโดยแยกเป็นในส่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 9,218.0 ล้านบาท และองค์การรถไฟฟ้ามหานคร จำนวน2,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 1 จำนวน 2,218 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 4 พฤศจิกายน 2543
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 1 จำนวน 3,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 จำนวน 3,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 8 ธันวาคม 2543
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 2 จำนวน 1,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 29 มกราคม 2544
- พันธบัตรองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 จำนวน 2,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 8 สิงหาคม 2544
ซึ่งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ได้ผ่านการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปด้วยดี สำนักงบประมาณจึงเสนอเรื่องดังกล่าวข้างต้นมาเพื่อกระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 1 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดใช้เงินยืมในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป รวมทั้งดอกเบี้ยที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องจ่ายไป 2. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 1 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ในส่วนที่ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 4,363.40 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณเป็นเงินยืมให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำไปชำระเป็นค่าต้นเงินและดอกเบี้ยของพันธบัตรดังกล่าวเมื่อครบกำหนด ทั้งนี้ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยใช้คืนเงินยืมให้แก่รัฐบาลเมื่อฐานะการเงินดีขึ้นหรือเมื่อได้รับคืนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการคืนจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานฯ
3. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกู้เงินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเอง
4. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 2 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนที่ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่จ่ายจริงหรือไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการเป็นเงิน 24,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ
5. เงินกู้จากการออกพันธบัตรองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 เป็นภาระหนี้ที่องค์การรถไฟฟ้ามหานครได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรก ในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2537 ในวงเงิน 8,453 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 โดยให้สำนักงบประมาณชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในส่วนที่รัฐบาลรับภาระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในส่วนที่รัฐบาลรับภาระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงิน จำนวน 9,218 ล้านบาท และองค์การรถไฟฟ้ามหานครกู้เงิน จำนวน 2,000 ล้านบาท จากตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
2. อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
3. อนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่สำนักงบประมาณได้แจ้งข้อสรุปจากการประชุมพิจารณากำหนดวงเงินและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ว่าจำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระต้นเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้ปรับลดเฉพาะต้นเงินเป็นจำนวนรวม 11,218 ล้านบาทโดยแยกเป็นในส่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 9,218.0 ล้านบาท และองค์การรถไฟฟ้ามหานคร จำนวน2,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 1 จำนวน 2,218 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 4 พฤศจิกายน 2543
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 1 จำนวน 3,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 จำนวน 3,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 8 ธันวาคม 2543
- พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 2 จำนวน 1,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 29 มกราคม 2544
- พันธบัตรองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 จำนวน 2,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 8 สิงหาคม 2544
ซึ่งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ได้ผ่านการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปด้วยดี สำนักงบประมาณจึงเสนอเรื่องดังกล่าวข้างต้นมาเพื่อกระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 1 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดใช้เงินยืมในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป รวมทั้งดอกเบี้ยที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องจ่ายไป 2. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 1 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ในส่วนที่ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 4,363.40 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณเป็นเงินยืมให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำไปชำระเป็นค่าต้นเงินและดอกเบี้ยของพันธบัตรดังกล่าวเมื่อครบกำหนด ทั้งนี้ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยใช้คืนเงินยืมให้แก่รัฐบาลเมื่อฐานะการเงินดีขึ้นหรือเมื่อได้รับคืนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการคืนจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานฯ
3. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกู้เงินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเอง
4. เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 2 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนที่ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่จ่ายจริงหรือไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการเป็นเงิน 24,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ
5. เงินกู้จากการออกพันธบัตรองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 เป็นภาระหนี้ที่องค์การรถไฟฟ้ามหานครได้กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรก ในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2537 ในวงเงิน 8,453 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 โดยให้สำนักงบประมาณชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-