ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานกิจการและงบการเงินสำหรับ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่31 มีนาคม 2543 ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. งบการเงินสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2543
สินทรัพย์รวม 3,974.64 ล้านบาท หนี้สินรวม 1,942.09 ล้านบาท ส่วนของทุน 2,032.55 ล้านบาทรายได้รวม 279.14 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 104.11 ล้านบาท รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 175.03 ล้านบาท
2. รายงานกิจการ
2.1 ปรส. ได้นำสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการทั้ง 56 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามบัญชีของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2540 ประมาณ 851,000 ล้านบาท ออกประมูลขาย ซึ่งมีรายละเอียด ณ วันที่ 30 เมษายน 2543 ดังนี้
- สินทรัพย์หลักที่มีมูลค่าตามบัญชีทั้งสิ้น 600,243.70 ล้านบาท สามารถประมูลขายได้เป็นเงิน150,026.27 ล้านบาท
- สินทรัพย์รองที่มีมูลค่าตามบัญชีทั้งสิ้น 73,609.33 ล้านบาท สามารถประมูลขายได้เป็นเงิน34,864.21 ล้านบาท
2.2 ในการประมูลขายสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อธุรกิจ เป็นการประมูลขายภายใต้โครงการแบ่งปันผลกำไรในอนาคต จำนวน 21,458.46 ล้านบาท ซึ่งได้รับเงินค่าขายสินทรัพย์แล้ว จำนวน 19,544.37 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะรอรับผลกำไรที่ได้จากการบริหารสินเชื่อต่อไป และเป็นการประมูลขายภายใต้โครงการแบ่งปันกระแสเงินสด จำนวน19,934.80 ล้านบาท ซึ่งได้รับเงินค่าขายแล้ว จำนวน 19,867.17 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะรอรับกระแสเงินสดสุทธิที่ได้จากการบริหารสินเชื่อต่อไป
2.3 ปรส. ได้นำเงินส่งคืนสถาบันการเงินไปแล้วเป็นจำนวน 131,562.46 ล้านบาท
2.4 ปัจจุบันเหลือสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของ ปรส. เพียง 52 แห่ง ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ และจะได้ดำเนินการเพื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลายต่อไป เนื่องจากมีสถาบันการเงิน 4 แห่ง ที่ได้มีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ บริษัทเงินทุน เอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นครหลวงเครดิตจำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
2.5 เมื่อ ปรส. ได้ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว คระกรรมการ ปรส. จะต้องรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติยุบเลิก ปรส. ต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ปรส. ก็ได้ทำการลดขนาดองค์กรลงอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมยุบเลิกกิจการ และในงวดนี้ ปรส. ก็ได้ลดค่าใช้จ่ายลง โดยการลดหน่วยงานที่ภาระกิจเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีการคืนพื้นที่อาคารบางส่วน ลดจำนวนพนักงาน ประมูลขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ไม่ได้ใช้งาน และได้มีการบริจาคสินทรัพย์ให้ส่วนราชการที่แจ้งความจำนงค์ขอรับบริจาค ตลอดจนตัดจ่ายค่าสินทรัพย์ที่ไม่สามารถรื้อถอนหรือจำหน่ายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานกิจการและงบการเงินสำหรับ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่31 มีนาคม 2543 ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. งบการเงินสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2543
สินทรัพย์รวม 3,974.64 ล้านบาท หนี้สินรวม 1,942.09 ล้านบาท ส่วนของทุน 2,032.55 ล้านบาทรายได้รวม 279.14 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 104.11 ล้านบาท รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 175.03 ล้านบาท
2. รายงานกิจการ
2.1 ปรส. ได้นำสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการทั้ง 56 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามบัญชีของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2540 ประมาณ 851,000 ล้านบาท ออกประมูลขาย ซึ่งมีรายละเอียด ณ วันที่ 30 เมษายน 2543 ดังนี้
- สินทรัพย์หลักที่มีมูลค่าตามบัญชีทั้งสิ้น 600,243.70 ล้านบาท สามารถประมูลขายได้เป็นเงิน150,026.27 ล้านบาท
- สินทรัพย์รองที่มีมูลค่าตามบัญชีทั้งสิ้น 73,609.33 ล้านบาท สามารถประมูลขายได้เป็นเงิน34,864.21 ล้านบาท
2.2 ในการประมูลขายสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อธุรกิจ เป็นการประมูลขายภายใต้โครงการแบ่งปันผลกำไรในอนาคต จำนวน 21,458.46 ล้านบาท ซึ่งได้รับเงินค่าขายสินทรัพย์แล้ว จำนวน 19,544.37 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะรอรับผลกำไรที่ได้จากการบริหารสินเชื่อต่อไป และเป็นการประมูลขายภายใต้โครงการแบ่งปันกระแสเงินสด จำนวน19,934.80 ล้านบาท ซึ่งได้รับเงินค่าขายแล้ว จำนวน 19,867.17 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะรอรับกระแสเงินสดสุทธิที่ได้จากการบริหารสินเชื่อต่อไป
2.3 ปรส. ได้นำเงินส่งคืนสถาบันการเงินไปแล้วเป็นจำนวน 131,562.46 ล้านบาท
2.4 ปัจจุบันเหลือสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของ ปรส. เพียง 52 แห่ง ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ และจะได้ดำเนินการเพื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลายต่อไป เนื่องจากมีสถาบันการเงิน 4 แห่ง ที่ได้มีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ บริษัทเงินทุน เอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นครหลวงเครดิตจำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
2.5 เมื่อ ปรส. ได้ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว คระกรรมการ ปรส. จะต้องรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติยุบเลิก ปรส. ต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ปรส. ก็ได้ทำการลดขนาดองค์กรลงอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมยุบเลิกกิจการ และในงวดนี้ ปรส. ก็ได้ลดค่าใช้จ่ายลง โดยการลดหน่วยงานที่ภาระกิจเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีการคืนพื้นที่อาคารบางส่วน ลดจำนวนพนักงาน ประมูลขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ไม่ได้ใช้งาน และได้มีการบริจาคสินทรัพย์ให้ส่วนราชการที่แจ้งความจำนงค์ขอรับบริจาค ตลอดจนตัดจ่ายค่าสินทรัพย์ที่ไม่สามารถรื้อถอนหรือจำหน่ายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-