คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้เป็นไปตามหลักการกลาง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2546 และในแนวทางเดียวกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐฉบับอื่นๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการแล้ว ซึ่งต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อหลักการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา และให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงบประมาณ และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายการศึกษาและการสาธารณสุข) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน เกี่ยวกับร่างมาตรา 6 ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าไม่ควรบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัติ แต่จะเหมาะสมหรือไม่หากจะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการร่วมกัน หรือไม่สามารถจะกระทำได้ ทั้งนี้ ให้พิจารณาให้มีความเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับสถาบันตามหลักการกลางไปประกอบการพิจารณาแล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป และอนุมัติให้สำนักงบประมาณร่วมพิจารณาเงื่อนไขในรายละเอียดที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และร่วมชี้แจงในขั้นตอนการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้สถาบันมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระที่เป็นส่วนราชการพิเศษมีระบบการบริหารงานของ
ตนเอง ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
2. กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วย
แรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และบุคลากรของสถาบันต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
3. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถาบัน เช่น ครอบครองและใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุได้ หรือกู้ยืม และให้กู้ยืม โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นต้น
4. รายได้ของสถาบัน โดยรัฐบาลพึงจัดสรรให้แก่สถาบันโดยตรง เป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และรายได้ของสถาบันไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. ทรัพย์สินของสถาบันที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาและการวิจัยโดยตรงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครอง
6. ให้มีสภาสถาบัน ประกอบด้วย นายกสภาสถาบัน ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบคนและกรรมการอื่นอีก จำนวน 10 คน นายกสภาสถาบัน และกรรมการสภาสถาบัน มีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี การพ้นจากตำแหน่งของนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบัน และอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบัน
7. กำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบการบริหารงานของสถาบัน มีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ การพ้นจากตำแหน่งของอธิการบดี และอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี
8. กำหนดให้สถาบันต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน
9. ให้อธิการบดีจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนงานและผู้ปฏิบัติงานสถาบัน ตามที่กำหนดในข้อบังคับสถาบัน
10. สถาบันต้องจัดทำงบดุลและงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีของสถาบันภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี ทั้งนี้ ต้องได้รับการตรวจสอบและความเห็นชอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และรายงานต่อสภาสถาบันภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นบัญชีเพี่อให้สภาสถาบันเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและให้โฆษณารายงานประจำปีภายใน
หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
11. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบันให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันเป็นการเฉพาะ
12. กำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ประสงค์จะเป็นข้าราชการสถาบันแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่ออธิการบดีภายใน 2 ปี เมื่อแสดงความจำนงแล้วจะถอนมิได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. กำหนดให้สถาบันมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระที่เป็นส่วนราชการพิเศษมีระบบการบริหารงานของ
ตนเอง ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
2. กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วย
แรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และบุคลากรของสถาบันต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
3. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถาบัน เช่น ครอบครองและใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุได้ หรือกู้ยืม และให้กู้ยืม โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นต้น
4. รายได้ของสถาบัน โดยรัฐบาลพึงจัดสรรให้แก่สถาบันโดยตรง เป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และรายได้ของสถาบันไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. ทรัพย์สินของสถาบันที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาและการวิจัยโดยตรงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครอง
6. ให้มีสภาสถาบัน ประกอบด้วย นายกสภาสถาบัน ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบคนและกรรมการอื่นอีก จำนวน 10 คน นายกสภาสถาบัน และกรรมการสภาสถาบัน มีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี การพ้นจากตำแหน่งของนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบัน และอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบัน
7. กำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบการบริหารงานของสถาบัน มีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ การพ้นจากตำแหน่งของอธิการบดี และอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี
8. กำหนดให้สถาบันต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน
9. ให้อธิการบดีจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนงานและผู้ปฏิบัติงานสถาบัน ตามที่กำหนดในข้อบังคับสถาบัน
10. สถาบันต้องจัดทำงบดุลและงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีของสถาบันภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี ทั้งนี้ ต้องได้รับการตรวจสอบและความเห็นชอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และรายงานต่อสภาสถาบันภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นบัญชีเพี่อให้สภาสถาบันเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและให้โฆษณารายงานประจำปีภายใน
หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
11. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบันให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันเป็นการเฉพาะ
12. กำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ประสงค์จะเป็นข้าราชการสถาบันแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่ออธิการบดีภายใน 2 ปี เมื่อแสดงความจำนงแล้วจะถอนมิได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--