ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทระดับหมู่บ้าน พ.ศ. 2539 - 2541 ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2543 ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ระบบอุปกรณ์ที่แล้วเสร็จ
1.1 ระบบดาวเทียม จำนวน 8,906 แห่ง ทศท. และบริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จ จำนวน 8,906 แห่ง และเปิดให้บริการแล้วจำนวน 17,812 เลขหมาย
1.2 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz (Cellular Mobile 470 MHz) จำนวน 1,000 แห่ง ได้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 1,000 แห่ง และเปิดให้บริการแล้ว จำนวน 1,000 เลขหมาย
1.3 ระบบข่ายสาย/เคเบิลจากชุมสายใกล้เคียง (ข่ายสายท้องถิ่น) จำนวน 4,428 แห่ง ขณะนี้ ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 4,428 แห่ง และเปิดให้บริการแล้วจำนวน 4,996 เลขหมาย
2. ระบบอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
2.1 ระบบ TDMA Repeat Order จำนวน 15,045 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 14,807 แห่ง และเปิดให้บริการแล้วจำนวน 14,395 เลขหมาย ส่วนที่เหลือ 238 แห่ง อยู่ระหว่างการจัดหาอุปกรณ์และสำรวจจุดติดตั้ง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2543
2.2 ระบบ CDAM/TDMA และ WLL จำนวน 15,621 แห่ง ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์เมื่อ 27 สิงหาคม 2542 ระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน นับจากวันลงนามสัญญา ดังนี้
1) Zone 1 ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยดำเนินการเอง โดยพิจารณานำระบบ 470 MHz และเลขหมายที่เหลือจากระบบ TDMA ของโครงการเดิมมาใช้ประโยชน์ให้เต็มขีดความสามารถ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาอุปกรณ์และสำรวจจุดติดตั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2544
2) Zone 2 จ้างเหมา 17,898 เลขหมาย กับบริษัท Joint Venture of Loxley International Co., Ltd : Bejaravudh Co.,Ltd. And Japan Radio Co.,Ltd. ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จ 5,101 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกุมภาพันธ์ 2544
3) Zone 3 จ้างเหมา 17,718 เลขหมาย กับบริษัท Rural Telephone Service Co.,Ltd. ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จ 1,967 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกุมภาพันธ์ 2544
3. อุปกรณ์ที่ดำเนินการแล้วเสร็จและอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดหา
3.1 อุปกรณ์เครื่องชุมสาย
1) ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย EWSD จากบริษัท Siemens จำกัด จำนวน 12 ชุมสาย (32,157 เลขหมาย) ติดตั้งแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2542
2) ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย AXE-10 จากบริษัท Ericsson (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 52 ชุมสาย (60,558 เลขหมาย) ติดตั้งแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2543
3) ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย NEAX-61 จากบริษัท NEC (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 39 ชุมสาย (32,157 เลขหมาย) ติดตั้งแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2543
3.2 อุปกรณ์ปลายทาง
1) ซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz สาธารณะ จำนวน 500 เครื่อง ติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว
2) ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 12,000 เครื่อง ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ (Closed Bid) คณะกรรมการฯ เห็นควรซื้อจาก บริษัท ฟิวเจอร์ ไฮเทค จำกัด ลงนามในสัญญาวันที่ 27 ตุลาคม 2542 และต่อมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ได้เพิ่มเติมเงื่อนไขท้ายสัญญาและกำหนดส่งมอบระหว่างตุลาคม 2543 - กุมภาพันธ์ 2544
3) ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 8,000 เครื่อง โดยวิธีพิเศษ (Closed Bid) เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 กำหนดส่งมอบระหว่างมกราคม 2544 - มีนาคม 2544
4. ผลการดำเนินงานโดยรวม เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจำนวน 45,000 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64.76 โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จ จำนวน 29,141 แห่ง และเปิดให้บริการแล้ว 28,729 แห่ง รวมเป็นเลขหมายทั้งสิ้น 38,203 เลขหมาย คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกันยายน 2544
5. ปัญหาอุปสรรค คือ ขาดแคลนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ (Coin Box) เพื่อเปิดบริการซึ่งเป็นสาเหตุให้มีตู้โทรศัพท์ไปติดตั้งโดยไม่มีเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ
6. แนวทางแก้ไข โดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เปิดบริการโดยใช้เครื่องโทรศัพท์แบบธรรมดา (ที่มีผู้ดูแล) เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเร่งรัดการจัดหา และส่งมอบเครื่องโทรศัพท์สาธารณะแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทระดับหมู่บ้าน พ.ศ. 2539 - 2541 ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2543 ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ระบบอุปกรณ์ที่แล้วเสร็จ
1.1 ระบบดาวเทียม จำนวน 8,906 แห่ง ทศท. และบริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จ จำนวน 8,906 แห่ง และเปิดให้บริการแล้วจำนวน 17,812 เลขหมาย
1.2 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz (Cellular Mobile 470 MHz) จำนวน 1,000 แห่ง ได้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 1,000 แห่ง และเปิดให้บริการแล้ว จำนวน 1,000 เลขหมาย
1.3 ระบบข่ายสาย/เคเบิลจากชุมสายใกล้เคียง (ข่ายสายท้องถิ่น) จำนวน 4,428 แห่ง ขณะนี้ ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 4,428 แห่ง และเปิดให้บริการแล้วจำนวน 4,996 เลขหมาย
2. ระบบอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
2.1 ระบบ TDMA Repeat Order จำนวน 15,045 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 14,807 แห่ง และเปิดให้บริการแล้วจำนวน 14,395 เลขหมาย ส่วนที่เหลือ 238 แห่ง อยู่ระหว่างการจัดหาอุปกรณ์และสำรวจจุดติดตั้ง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2543
2.2 ระบบ CDAM/TDMA และ WLL จำนวน 15,621 แห่ง ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์เมื่อ 27 สิงหาคม 2542 ระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน นับจากวันลงนามสัญญา ดังนี้
1) Zone 1 ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยดำเนินการเอง โดยพิจารณานำระบบ 470 MHz และเลขหมายที่เหลือจากระบบ TDMA ของโครงการเดิมมาใช้ประโยชน์ให้เต็มขีดความสามารถ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาอุปกรณ์และสำรวจจุดติดตั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2544
2) Zone 2 จ้างเหมา 17,898 เลขหมาย กับบริษัท Joint Venture of Loxley International Co., Ltd : Bejaravudh Co.,Ltd. And Japan Radio Co.,Ltd. ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จ 5,101 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกุมภาพันธ์ 2544
3) Zone 3 จ้างเหมา 17,718 เลขหมาย กับบริษัท Rural Telephone Service Co.,Ltd. ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จ 1,967 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกุมภาพันธ์ 2544
3. อุปกรณ์ที่ดำเนินการแล้วเสร็จและอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดหา
3.1 อุปกรณ์เครื่องชุมสาย
1) ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย EWSD จากบริษัท Siemens จำกัด จำนวน 12 ชุมสาย (32,157 เลขหมาย) ติดตั้งแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2542
2) ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย AXE-10 จากบริษัท Ericsson (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 52 ชุมสาย (60,558 เลขหมาย) ติดตั้งแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2543
3) ซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย NEAX-61 จากบริษัท NEC (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 39 ชุมสาย (32,157 เลขหมาย) ติดตั้งแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2543
3.2 อุปกรณ์ปลายทาง
1) ซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz สาธารณะ จำนวน 500 เครื่อง ติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว
2) ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 12,000 เครื่อง ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ (Closed Bid) คณะกรรมการฯ เห็นควรซื้อจาก บริษัท ฟิวเจอร์ ไฮเทค จำกัด ลงนามในสัญญาวันที่ 27 ตุลาคม 2542 และต่อมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ได้เพิ่มเติมเงื่อนไขท้ายสัญญาและกำหนดส่งมอบระหว่างตุลาคม 2543 - กุมภาพันธ์ 2544
3) ซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ จำนวน 8,000 เครื่อง โดยวิธีพิเศษ (Closed Bid) เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 กำหนดส่งมอบระหว่างมกราคม 2544 - มีนาคม 2544
4. ผลการดำเนินงานโดยรวม เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจำนวน 45,000 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64.76 โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จ จำนวน 29,141 แห่ง และเปิดให้บริการแล้ว 28,729 แห่ง รวมเป็นเลขหมายทั้งสิ้น 38,203 เลขหมาย คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดเดือนกันยายน 2544
5. ปัญหาอุปสรรค คือ ขาดแคลนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอดเหรียญ (Coin Box) เพื่อเปิดบริการซึ่งเป็นสาเหตุให้มีตู้โทรศัพท์ไปติดตั้งโดยไม่มีเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ
6. แนวทางแก้ไข โดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เปิดบริการโดยใช้เครื่องโทรศัพท์แบบธรรมดา (ที่มีผู้ดูแล) เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเร่งรัดการจัดหา และส่งมอบเครื่องโทรศัพท์สาธารณะแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-