คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ประกอบกับกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า "หน่วยงานของรัฐ" และ "ข้อพิพาท"
2. ถ้าสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนมีข้อกำหนดให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท เมื่อเกิดข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นและหน่วยงานของรัฐได้ยินยอมให้ใช้อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาท หน่วยงานของรัฐพึงต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว เว้นแต่คำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใด หรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ
3. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้หน่วยงานของรัฐปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น และแจ้งการปฏิเสธพร้อมด้วยเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นให้คู่กรณีทราบภายใน 15 วัน
4. ในกรณีหน่วยงานของรัฐมีเหตุสงสัยในคำชี้ขาดนั้น ให้ส่งคำชี้ขาดดังกล่าว พร้อมคำชี้แจงให้กระทรวงการคลังภายใน 15 วัน เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการพิจารณาทำความเห็นต่อไป
5. คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ คณะกรรมการฯต้องประชุมพิจารณาให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอความเห็นจากหน่วยงานของรัฐและให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการฯ แล้วมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรภายใน 30 วัน
6. ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า "หน่วยงานของรัฐ" และ "ข้อพิพาท"
2. ถ้าสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนมีข้อกำหนดให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท เมื่อเกิดข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นและหน่วยงานของรัฐได้ยินยอมให้ใช้อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาท หน่วยงานของรัฐพึงต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว เว้นแต่คำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใด หรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ
3. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้หน่วยงานของรัฐปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น และแจ้งการปฏิเสธพร้อมด้วยเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นให้คู่กรณีทราบภายใน 15 วัน
4. ในกรณีหน่วยงานของรัฐมีเหตุสงสัยในคำชี้ขาดนั้น ให้ส่งคำชี้ขาดดังกล่าว พร้อมคำชี้แจงให้กระทรวงการคลังภายใน 15 วัน เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการพิจารณาทำความเห็นต่อไป
5. คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ คณะกรรมการฯต้องประชุมพิจารณาให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอความเห็นจากหน่วยงานของรัฐและให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการฯ แล้วมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรภายใน 30 วัน
6. ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-