คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานผลการดำเนินการอนุมัติกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2543 ว่า ในปี 2543 การอนุญาตให้คนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 117 ตอนพิเศษ 128 ง วันที่ 18 ธันวาคม2543 ปรากฏว่า มีคนต่างด้าวรวม 49 สัญชาติ ได้มายื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร รวม 1,050 คน ได้รับการพิจารณาอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว และอยู่ระหว่างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาลงนามให้ความเห็นชอบ จำนวน 105 คน ไม่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ จำนวน 286 คน อยู่ระหว่างการพิจารณา 659 คน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2544 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งได้ประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2544 ดังนี้
1. หนึ่งร้อยคน สำหรับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ
บรรดาอาณานิคมของประเทศหนึ่งรวมกัน หรือแต่ละอาณาจักรซึ่งมีการปกครองตนเอง ให้ถือเป็นประเทศหนึ่ง
2. ห้าสิบคน สำหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และทางรัฐบาลได้มีนโยบายในการแก้ปัญหา โดยดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อเป็นการสร้างงาน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ดังนั้น การกำหนดจำนวนคนต่างด้าวที่จะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปีจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับคนต่างด้าวในการนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ ประกอบกับคนต่างด้าวบางคนมีคู่สมรส บิดา หรือบุตร ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย และเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมและเศรษฐกิจดังกล่าว จึงสมควรกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2544 ต่อไปเช่นเดียวกับปีที่แล้วมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2544 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งได้ประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2544 ดังนี้
1. หนึ่งร้อยคน สำหรับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ
บรรดาอาณานิคมของประเทศหนึ่งรวมกัน หรือแต่ละอาณาจักรซึ่งมีการปกครองตนเอง ให้ถือเป็นประเทศหนึ่ง
2. ห้าสิบคน สำหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และทางรัฐบาลได้มีนโยบายในการแก้ปัญหา โดยดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อเป็นการสร้างงาน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ดังนั้น การกำหนดจำนวนคนต่างด้าวที่จะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปีจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับคนต่างด้าวในการนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ ประกอบกับคนต่างด้าวบางคนมีคู่สมรส บิดา หรือบุตร ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย และเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมและเศรษฐกิจดังกล่าว จึงสมควรกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2544 ต่อไปเช่นเดียวกับปีที่แล้วมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-