แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วิสัยทัศน์
ทำเนียบรัฐบาล--11 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ได้จัดประชุมระดมความเห็นระหว่างภาครัฐและเอกชนในการหาแนวคิดและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจะรับไปพิจารณาประกอบการประมวลจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. ขาดแคลนผู้นำทางปัญญาที่มีคุณภาพที่จะสร้างวิสัยทัศน์ร่วมในทุกระดับ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ตลอดจนสื่อมวลชน องค์กรเอกชน ฯลฯ ในการสร้างโอกาส วิเคราะห์ปัญหา วางแนวทาง และนำการปฏิบัติในการปรับตัวแบบก้าวกระโดดเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต่อเนื่อง
2. ประชากรยังด้อยคุณภาพทางการศึกษา และยังไม่พร้อมในด้านความรู้ ทักษะ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง ระบบและคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาทักษะต่อเนื่องในวัยทำงานยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังไม่สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงความต้องการของสังคมทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ การร่วมรับผิดชอบการปฏิรูป การศึกษายังไม่ชัดเจน ขาดการพัฒนาทักษะ ขาดการพัฒนาทัศนคติและจริยธรรมพื้นฐานอย่างถูกต้อง ขาดระบบจูงใจให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. การบริหารจัดการยังไม่เข้มแข็ง ขาดเอกภาพ ขาดการคิดแบบองค์รวม ขาดความต่อเนื่อง การบริหารไม่เป็นระบบ มักแก้ปัญหาเป็นส่วน ๆ ขาดกลยุทธ์ ขาดการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4. ขาดความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจเชิงความรู้ (Knowledge-based Economy) บุคลากรขาดทักษะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และยังให้ความสำคัญไม่พอเพียงในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีทุกระดับ Infrastructure ยังปรับระบบไม่ทันท่วงทีต่อการเปลี่ยนแปลง อาทิ กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ/Internet/E-commerce องค์ความรู้ กลไกทางการเงิน ระบบขนส่งและกระจายสินค้า ฯลฯ กฎหมายที่มีอยู่ไม่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
5. สังคมยังให้ความสำคัญน้อยในการมองประโยชน์ส่วนรวมเหนือกว่าองค์กรและประโยชน์ส่วนตน ขาดจริยธรรม ความโปร่งใส ค่านิยมของสังคมที่เอื้อต่อส่วนรวม วินัยและความรับผิดชอบ องค์กรสาธารณะยังขาดความเข้มแข็งในการแสวงหาจุดยืนร่วมที่จะประสานประโยชน์ส่วนรวมและเป็นที่ยอมรับของสังคม
6. ความยากจน การกระจายรายได้ และการว่างงาน ยังเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สงบในสังคมได้ สืบเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างภาคเกษตร - อุตสาหกรรมยังไม่คืบหน้าอย่างเหมาะสม
7. ผลิตผล ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งของภาครัฐและเอกชน ยังขาดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลโครงสร้างและระบบเชื่อมโยงผู้ประกอบการในระดับต่าง ๆ ของการส่งออกและการบริการยังไม่มีศักยภาพในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก รวมถึงระบบศุลกากรและระบบขนส่ง (รถบรรทุก รถไฟ พาณิชย์นาวี) ในระดับประเทศและระดับอนุภูมิภาค
8. การปฏิรูประบบราชการยังไม่คืบหน้าไปสู่การทำงานและการคิดร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้แก่ อบต./รัฐบาลมีบทบาทในการชี้นำมากเกินไป และการชี้นำไม่สอดล้องกับ Comparative Advantage ที่แท้จริง
9. ขาดความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการจัดสรรงบประมาณ การติดตามและการประเมินผลที่เป็นระบบยังไม่ดีพอ ทำให้ไม่ตระหนักในสถานการณ์ และไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขให้ถูกจุดและทันท่วงที
นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้มีข้อสังเกต ดังนี้
1. การพัฒนาสู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ซึ่งได้แก่ สังคมคุณภาพ สังคม แห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน โดยเสนอแนะให้เชิดชูคนเก่ง คนดี เป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย มีกติกาสังคม มีความต้องการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและมีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย ตลอดจนให้ความสำคัญกับแนวคิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตของคนทุกวัยทุกกลุ่ม และเพิ่มพูนทักษะในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
2. ควรมีการจัดลำดับความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศภายในเวลา 5 ปี โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และมีการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้ชัดเจน
3. ควรให้ความสำคัญกับการติดตามประเมินผลและการมีดัชนีชี้วัดการพัฒนา รวมทั้งมีการพัฒนากลไกการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
4. สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง และการเกษตรเชิงพาณิชย์ควบคู่กันไป เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ได้จัดประชุมระดมความเห็นระหว่างภาครัฐและเอกชนในการหาแนวคิดและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจะรับไปพิจารณาประกอบการประมวลจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. ขาดแคลนผู้นำทางปัญญาที่มีคุณภาพที่จะสร้างวิสัยทัศน์ร่วมในทุกระดับ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ตลอดจนสื่อมวลชน องค์กรเอกชน ฯลฯ ในการสร้างโอกาส วิเคราะห์ปัญหา วางแนวทาง และนำการปฏิบัติในการปรับตัวแบบก้าวกระโดดเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต่อเนื่อง
2. ประชากรยังด้อยคุณภาพทางการศึกษา และยังไม่พร้อมในด้านความรู้ ทักษะ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง ระบบและคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาทักษะต่อเนื่องในวัยทำงานยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังไม่สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงความต้องการของสังคมทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ การร่วมรับผิดชอบการปฏิรูป การศึกษายังไม่ชัดเจน ขาดการพัฒนาทักษะ ขาดการพัฒนาทัศนคติและจริยธรรมพื้นฐานอย่างถูกต้อง ขาดระบบจูงใจให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. การบริหารจัดการยังไม่เข้มแข็ง ขาดเอกภาพ ขาดการคิดแบบองค์รวม ขาดความต่อเนื่อง การบริหารไม่เป็นระบบ มักแก้ปัญหาเป็นส่วน ๆ ขาดกลยุทธ์ ขาดการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4. ขาดความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจเชิงความรู้ (Knowledge-based Economy) บุคลากรขาดทักษะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และยังให้ความสำคัญไม่พอเพียงในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีทุกระดับ Infrastructure ยังปรับระบบไม่ทันท่วงทีต่อการเปลี่ยนแปลง อาทิ กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ/Internet/E-commerce องค์ความรู้ กลไกทางการเงิน ระบบขนส่งและกระจายสินค้า ฯลฯ กฎหมายที่มีอยู่ไม่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
5. สังคมยังให้ความสำคัญน้อยในการมองประโยชน์ส่วนรวมเหนือกว่าองค์กรและประโยชน์ส่วนตน ขาดจริยธรรม ความโปร่งใส ค่านิยมของสังคมที่เอื้อต่อส่วนรวม วินัยและความรับผิดชอบ องค์กรสาธารณะยังขาดความเข้มแข็งในการแสวงหาจุดยืนร่วมที่จะประสานประโยชน์ส่วนรวมและเป็นที่ยอมรับของสังคม
6. ความยากจน การกระจายรายได้ และการว่างงาน ยังเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สงบในสังคมได้ สืบเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างภาคเกษตร - อุตสาหกรรมยังไม่คืบหน้าอย่างเหมาะสม
7. ผลิตผล ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งของภาครัฐและเอกชน ยังขาดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลโครงสร้างและระบบเชื่อมโยงผู้ประกอบการในระดับต่าง ๆ ของการส่งออกและการบริการยังไม่มีศักยภาพในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก รวมถึงระบบศุลกากรและระบบขนส่ง (รถบรรทุก รถไฟ พาณิชย์นาวี) ในระดับประเทศและระดับอนุภูมิภาค
8. การปฏิรูประบบราชการยังไม่คืบหน้าไปสู่การทำงานและการคิดร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้แก่ อบต./รัฐบาลมีบทบาทในการชี้นำมากเกินไป และการชี้นำไม่สอดล้องกับ Comparative Advantage ที่แท้จริง
9. ขาดความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการจัดสรรงบประมาณ การติดตามและการประเมินผลที่เป็นระบบยังไม่ดีพอ ทำให้ไม่ตระหนักในสถานการณ์ และไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขให้ถูกจุดและทันท่วงที
นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้มีข้อสังเกต ดังนี้
1. การพัฒนาสู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ซึ่งได้แก่ สังคมคุณภาพ สังคม แห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน โดยเสนอแนะให้เชิดชูคนเก่ง คนดี เป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย มีกติกาสังคม มีความต้องการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและมีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย ตลอดจนให้ความสำคัญกับแนวคิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตของคนทุกวัยทุกกลุ่ม และเพิ่มพูนทักษะในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
2. ควรมีการจัดลำดับความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศภายในเวลา 5 ปี โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และมีการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้ชัดเจน
3. ควรให้ความสำคัญกับการติดตามประเมินผลและการมีดัชนีชี้วัดการพัฒนา รวมทั้งมีการพัฒนากลไกการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
4. สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง และการเกษตรเชิงพาณิชย์ควบคู่กันไป เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ก.ค. 2543--
-สส-