ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ตามที่คณะอนุกรรมการแรงงานต่างด้าวเสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือมติคณะรัฐมนตรีเป็นแนวปฏิบัติต่อไป ดังนี้
1. ให้จังหวัดใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญาชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ทำงานได้เฉพาะอาชีพกรรมกรในท้องที่37 จังหวัด 18 กิจการ จำนวนรวม 106,684 คน ได้ 1 ปี จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ในพื้นที่ กิจการ และจำนวนเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2542 โดยมีระยะเวลาการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543
2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศจังหวัด แจ้งให้คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายมารายงานตัว และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจัดทำทะเบียนประวัติ ออกคำสั่งส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.35) ในกรณีที่ยังไม่สามารถส่งกลับได้อนุญาตให้ประกันตัวเพื่อขออยู่ในราชอาณาจักรระหว่างรอการส่งกลับ ตามมาตรา 54 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (ตม.69)
3. ให้จัดหางานจังหวัดพิจารณาอนุญาตการทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรตามงาน กิจการ พื้นที่และจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศกำหนดตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 โดยมีเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาต ดังนี้
3.1 ให้ทำงานเฉพาะงานกรรมกร
3.2 ให้ทำงานในประเภทกิจการและจำนวนที่แต่ละจังหวัดได้รับอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2542 ทั้งนี้ ให้จังหวัดพิจารณาจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวในแต่ละประเภทกิจการได้ โดยให้สิทธินายจ้างเดิมก่อน
3.3 อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ 1 ปี โดยสิ้นสุดการอนุญาตในวันที่ 31 สิงหาคม 2544
3.4 แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานนั้นต่องไม่มีสมาชิกในครอบครัวติดตามมาด้วย หากเป็นหญิงถ้ามีการตั้งครรภ์จะต้องส่งตัวกลับ
4. มอบให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาทำงานได้ 1 ปี สิ้นสุดการอนุญาตวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ในอาชีพกรรมกร ท้องที่ 37 จังหวัด 18 กิจการ จำนวนรวม 106,684 คน
5. เมื่อพ้นระยะเวลาดำเนินการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 แล้ว มอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ไม่ได้รับการประกันตัวและรับใบอนุญาตทำงานส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อบังคับใช้กฎหมายที่รับผิดชอบอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการสนับสนุนดำเนินภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ตามที่คณะอนุกรรมการแรงงานต่างด้าวเสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือมติคณะรัฐมนตรีเป็นแนวปฏิบัติต่อไป ดังนี้
1. ให้จังหวัดใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญาชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ทำงานได้เฉพาะอาชีพกรรมกรในท้องที่37 จังหวัด 18 กิจการ จำนวนรวม 106,684 คน ได้ 1 ปี จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ในพื้นที่ กิจการ และจำนวนเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2542 โดยมีระยะเวลาการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543
2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศจังหวัด แจ้งให้คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายมารายงานตัว และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจัดทำทะเบียนประวัติ ออกคำสั่งส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.35) ในกรณีที่ยังไม่สามารถส่งกลับได้อนุญาตให้ประกันตัวเพื่อขออยู่ในราชอาณาจักรระหว่างรอการส่งกลับ ตามมาตรา 54 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (ตม.69)
3. ให้จัดหางานจังหวัดพิจารณาอนุญาตการทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรตามงาน กิจการ พื้นที่และจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศกำหนดตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 โดยมีเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาต ดังนี้
3.1 ให้ทำงานเฉพาะงานกรรมกร
3.2 ให้ทำงานในประเภทกิจการและจำนวนที่แต่ละจังหวัดได้รับอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2542 ทั้งนี้ ให้จังหวัดพิจารณาจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวในแต่ละประเภทกิจการได้ โดยให้สิทธินายจ้างเดิมก่อน
3.3 อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ 1 ปี โดยสิ้นสุดการอนุญาตในวันที่ 31 สิงหาคม 2544
3.4 แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานนั้นต่องไม่มีสมาชิกในครอบครัวติดตามมาด้วย หากเป็นหญิงถ้ามีการตั้งครรภ์จะต้องส่งตัวกลับ
4. มอบให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาทำงานได้ 1 ปี สิ้นสุดการอนุญาตวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ในอาชีพกรรมกร ท้องที่ 37 จังหวัด 18 กิจการ จำนวนรวม 106,684 คน
5. เมื่อพ้นระยะเวลาดำเนินการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 แล้ว มอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ไม่ได้รับการประกันตัวและรับใบอนุญาตทำงานส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อบังคับใช้กฎหมายที่รับผิดชอบอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการสนับสนุนดำเนินภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-