ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนขึ้นเป็นองค์การมหาชน โดยการยุบรวมโครงการพัฒนาคนจนในเมือง และสำนักงานกองทุนพัฒนาชนบท และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า "สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน" เรียกโดยย่อว่า "พอช." มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่ใดในราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขา หรือตัวแทนต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีก่อน
2. ให้ "พอช." มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
2.1 สนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนทั้งในเมืองและชนบท ทั้งนี้ โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณการและหลักการพัฒนาที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ
2.2 สนับสนุนและให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน
2.3 สนับสนุนและให้การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน ตลอดจนประสานงานการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือดังกล่าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนและสร้างความร่วมมือขององค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นระดับจังหวัด และระดับประเทศ
3. ให้ พอช. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ และให้มีอำนาจตามที่กำหนดไว้
4. รายได้ของ พอช. ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และทรัพย์สินของ พอช. ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
5. ให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่ง พอช. ได้มาจากการให้หรือจากการซื้อด้วยเงินรายได้ของ พอช. เป็นกรรมสิทธิ์ของ พอช. 6. ให้มีคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 4 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 2 คน และกรรมการจากผู้แทนชุมชน จำนวน 3 คน โดยมีคุณสมบัติและอำนาจตามที่กำหนดไว้ เป็นผู้บริหารและดำเนินกิจการขององค์การ โดยประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษาอนุกรรมการ และคณะทำงานให้ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
7. ให้ พอช. มีผู้อำนวยการคนหนึ่งโดยคณะกรรมการเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีเมื่อครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งรวมกันได้ไม่เกิน 8 ปี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ระบุไว้
8. ให้ พอช. จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการ ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของ พอช. และให้ทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรีทุกสิ้นปีงบประมาณภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
9. ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ พอช. เพื่อเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามควรแก่กรณี
10. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของ พอช. ให้เป็นไปตามกฎหมายและให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง พอช. นโยบายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับ พอช. เพื่อการนี้ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ พอช. ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำของ พอช. ที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง พอช. นโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับ พอช. ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของ พอช. ได้
11. เมื่อได้มีการจัดตั้ง พอช. เรียบร้อยแล้วให้ยุบเลิกโครงการพัฒนาคนจนในเมือง การเคหะแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนพัฒนาชนบท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สินและหนี้สินของโครงการพัฒนาคนจนในเมือง การเคหะแห่งชาติ และของกองทุนพัฒนาชนบท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเป็นของ พอช.
12. ให้ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างตามข้อ 11 ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามตำแหน่งอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง ตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งได้รับสวัสดิการและประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน หรือสวัสดิการ และประโยชน์อย่างอื่นที่ลูกจ้างผู้นั้นเคยได้รับอยู่เดิม
การเปลี่ยนจากลูกจ้างของสำนักงานดังกล่าวไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของ พอช. ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการ เพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง โดยไม่มีความผิดและให้ได้รับบำเหน็จหรือค่าชดเชยแล้วแต่กรณี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนขึ้นเป็นองค์การมหาชน โดยการยุบรวมโครงการพัฒนาคนจนในเมือง และสำนักงานกองทุนพัฒนาชนบท และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า "สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน" เรียกโดยย่อว่า "พอช." มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่ใดในราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสำนักงานสาขา หรือตัวแทนต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีก่อน
2. ให้ "พอช." มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
2.1 สนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนทั้งในเมืองและชนบท ทั้งนี้ โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณการและหลักการพัฒนาที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ
2.2 สนับสนุนและให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน
2.3 สนับสนุนและให้การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน ตลอดจนประสานงานการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือดังกล่าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนและสร้างความร่วมมือขององค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นระดับจังหวัด และระดับประเทศ
3. ให้ พอช. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ และให้มีอำนาจตามที่กำหนดไว้
4. รายได้ของ พอช. ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และทรัพย์สินของ พอช. ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
5. ให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่ง พอช. ได้มาจากการให้หรือจากการซื้อด้วยเงินรายได้ของ พอช. เป็นกรรมสิทธิ์ของ พอช. 6. ให้มีคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 4 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 2 คน และกรรมการจากผู้แทนชุมชน จำนวน 3 คน โดยมีคุณสมบัติและอำนาจตามที่กำหนดไว้ เป็นผู้บริหารและดำเนินกิจการขององค์การ โดยประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษาอนุกรรมการ และคณะทำงานให้ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
7. ให้ พอช. มีผู้อำนวยการคนหนึ่งโดยคณะกรรมการเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีเมื่อครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งรวมกันได้ไม่เกิน 8 ปี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ระบุไว้
8. ให้ พอช. จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการ ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของ พอช. และให้ทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรีทุกสิ้นปีงบประมาณภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
9. ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ พอช. เพื่อเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามควรแก่กรณี
10. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของ พอช. ให้เป็นไปตามกฎหมายและให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง พอช. นโยบายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับ พอช. เพื่อการนี้ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ พอช. ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำของ พอช. ที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง พอช. นโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับ พอช. ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของ พอช. ได้
11. เมื่อได้มีการจัดตั้ง พอช. เรียบร้อยแล้วให้ยุบเลิกโครงการพัฒนาคนจนในเมือง การเคหะแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนพัฒนาชนบท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สินและหนี้สินของโครงการพัฒนาคนจนในเมือง การเคหะแห่งชาติ และของกองทุนพัฒนาชนบท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเป็นของ พอช.
12. ให้ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างตามข้อ 11 ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามตำแหน่งอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง ตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งได้รับสวัสดิการและประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน หรือสวัสดิการ และประโยชน์อย่างอื่นที่ลูกจ้างผู้นั้นเคยได้รับอยู่เดิม
การเปลี่ยนจากลูกจ้างของสำนักงานดังกล่าวไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของ พอช. ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการ เพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง โดยไม่มีความผิดและให้ได้รับบำเหน็จหรือค่าชดเชยแล้วแต่กรณี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--