ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้นำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากมีปัญหาหนี้สินและมีผลต่อการที่เกษตรกรจะสามารถยึดอาชีพทางการเกษตรในการดำรงชีพต่อไปได้ หากมิได้มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและยากจนที่ไม่สามารถปลอดเปลื้องหนี้สินโดยลำพังตัวเอง และได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในชนบท สามารถยึดอาชีพทางการเกษตรเพื่อดำรงชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชบัญญัติเพื่อให้อำนาจรัฐในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องหนี้สินของเกษตรกร และส่งเสริมระบบการออมของเกษตรกรที่เป็นธรรม ที่เอื้อให้ระบบสินเชื่อและการเงินในภาคเกษตร สามารถเกื้อหนุนแก่เกษตรกรรายย่อยในการทำการเกษตรตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ และเนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสค์และแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรไว้อย่างชัดเจนทำให้เกษตรกรไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรทั้งในระบบและนอกระบบ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กำหนดนโยบายและออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รวมทั้งกำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกร
2. ให้มีคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรในการพิจารณาแผนและโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
3. แยกบัญชีกองทุนออกเป็น 2 บัญชี ได้แก่ บัญชีที่ 1 ชื่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และบัญชีที่ 2ชื่อ กองทุนจัดการหนี้ของเกษตรกร
4. ให้จัดตั้งสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด
5. กรณีหนี้ในระบบ ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรตามประกาศที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด
6. กรณีหนี้นอกระบบ ให้ยื่นคำขอขี้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนด
7. กำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยกำหนดให้เกษตรกรต้องมาขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติบังคับใช้ การดำเนินการตรวจสอบและจำแนกประเภทหนี้ให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ให้แล้วเสร็จภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับการส่งมอบข้อมูลพร้อมรายละเอียด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้นำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากมีปัญหาหนี้สินและมีผลต่อการที่เกษตรกรจะสามารถยึดอาชีพทางการเกษตรในการดำรงชีพต่อไปได้ หากมิได้มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและยากจนที่ไม่สามารถปลอดเปลื้องหนี้สินโดยลำพังตัวเอง และได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในชนบท สามารถยึดอาชีพทางการเกษตรเพื่อดำรงชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชบัญญัติเพื่อให้อำนาจรัฐในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องหนี้สินของเกษตรกร และส่งเสริมระบบการออมของเกษตรกรที่เป็นธรรม ที่เอื้อให้ระบบสินเชื่อและการเงินในภาคเกษตร สามารถเกื้อหนุนแก่เกษตรกรรายย่อยในการทำการเกษตรตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ และเนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสค์และแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรไว้อย่างชัดเจนทำให้เกษตรกรไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรทั้งในระบบและนอกระบบ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กำหนดนโยบายและออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รวมทั้งกำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกร
2. ให้มีคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรในการพิจารณาแผนและโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
3. แยกบัญชีกองทุนออกเป็น 2 บัญชี ได้แก่ บัญชีที่ 1 ชื่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และบัญชีที่ 2ชื่อ กองทุนจัดการหนี้ของเกษตรกร
4. ให้จัดตั้งสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด
5. กรณีหนี้ในระบบ ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรตามประกาศที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด
6. กรณีหนี้นอกระบบ ให้ยื่นคำขอขี้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนด
7. กำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยกำหนดให้เกษตรกรต้องมาขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติบังคับใช้ การดำเนินการตรวจสอบและจำแนกประเภทหนี้ให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ให้แล้วเสร็จภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับการส่งมอบข้อมูลพร้อมรายละเอียด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-