คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบ และนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2544 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามมติที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอ ซึ่งการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบ และนมพร้อมดื่ม ตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก ปี 2544 มีดังนี้
1. เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยปริมาณโควตา จำนวน 55,000 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 5และนอกโควตาร้อยละ 223.2
2. เปิดตลาดนำเข้าน้ำนมดิบ ปริมาณโควตา จำนวน 2,335.16 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 และนอกโควตาร้อยละ 42.5
3. เปิดตลาดนำเข้านมพร้อมดื่มปริมาณโควตา 26.84 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 และนอกโควตาร้อยละ 86.7
ทั้งนี้ เนื่องจากการเปิดตลาดนำเข้านมผงและน้ำนมดิบตามปริมาณโควตาที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอน่าจะเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว แต่ควรมีมาตรการและการบริหารจัดการที่ดี เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายน้ำนมดิบภายในประเทศ รวมทั้งปัญหาของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนม ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมนมโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนม ซึ่งจะเป็นแนวทางการสร้างอาชีพที่มีรายได้มั่นคงประการหนึ่งฉะนั้น เพื่อให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนมทั้งระบบ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ครบวงจร ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สำหรับปัญหาคุณภาพนมซึ่งมีการใช้หางนม (Whey) เป็นส่วนผสมในการผลิตนมเพื่อบริโภค จะต้องมีมาตรการในการแก้ไข ควบคุม โดยกำหนดให้มีกาารติดฉลากแสดงส่วนผสมในการผลิต เพื่อผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้โดยกรมปศุสัตว์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะต้องร่วมกันตรวจสอบ รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ควรเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย และหากปริมาณโควตานำเข้าตามที่กำหนดไม่เพียงพอ ควรมีการพิจารณาทบทวนความจำเป็นอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-
1. เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยปริมาณโควตา จำนวน 55,000 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 5และนอกโควตาร้อยละ 223.2
2. เปิดตลาดนำเข้าน้ำนมดิบ ปริมาณโควตา จำนวน 2,335.16 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 และนอกโควตาร้อยละ 42.5
3. เปิดตลาดนำเข้านมพร้อมดื่มปริมาณโควตา 26.84 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 และนอกโควตาร้อยละ 86.7
ทั้งนี้ เนื่องจากการเปิดตลาดนำเข้านมผงและน้ำนมดิบตามปริมาณโควตาที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอน่าจะเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว แต่ควรมีมาตรการและการบริหารจัดการที่ดี เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายน้ำนมดิบภายในประเทศ รวมทั้งปัญหาของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนม ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมนมโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนม ซึ่งจะเป็นแนวทางการสร้างอาชีพที่มีรายได้มั่นคงประการหนึ่งฉะนั้น เพื่อให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนมทั้งระบบ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ครบวงจร ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สำหรับปัญหาคุณภาพนมซึ่งมีการใช้หางนม (Whey) เป็นส่วนผสมในการผลิตนมเพื่อบริโภค จะต้องมีมาตรการในการแก้ไข ควบคุม โดยกำหนดให้มีกาารติดฉลากแสดงส่วนผสมในการผลิต เพื่อผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้โดยกรมปศุสัตว์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะต้องร่วมกันตรวจสอบ รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ควรเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย และหากปริมาณโควตานำเข้าตามที่กำหนดไม่เพียงพอ ควรมีการพิจารณาทบทวนความจำเป็นอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-