ทำเนียบรัฐบาล--1 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุม สรุปได้ดังนี้
1. เรื่อง การปรับปรุงกรรมการในคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบการปรับปรุงกรรมการในคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 70/2543 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2543 โดยแต่งตั้ง รองนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) เป็นรองประธานกรรมการ แทน พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ และศาตราจารย์ชวนชม สกนธวัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นกรรมกรเพิ่มเติม และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวิรัช ดำรงผล) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการแทน นายพิเชต สุนทรพิพิธ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543
2. เรื่อง ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นจำนวนทั้งสิ้น 40,203,000 บาท ประกอบด้วยแผนงานที่มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน 3 แผนงานหลัก คือ
1. แผนงานสร้างชุมชนให้มีเศรษฐกิจพอเพียงและเข้มแข็ง
มุ่งตรวจสอบให้แน่ชัดว่าศักยภาพของสังคมไทยมีอยู่ที่ใดเพื่อที่จะนำเอาทรัพยากรและทุนทางสังคมเหล่านั้นมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดศักยภาพชุมชนและประชาคมแข้มแข็ง และจัดทำเป็นแผนที่ศักยภาพภาพรายจังหวัด
2. แผนงานสนับสนุนการพัฒนานโยบายและปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม มุ่งสนับสนุนให้มีการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับสายงานกระทรวงหลักและวิชาชีพหลัก รวมทั้งการค้นหาและพัฒนากลุ่มแกนประสานงานระดับภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเคลื่อนไหวและพัฒนาประชาคมจังหวัดที่ยังไม่เข้มแข็ง
3. แผนงานบริหาร ติดตาม ประเมินผลและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งสนับสนุนการให้มีข้อมูลที่จำเป็นทั้งในระดับหมู่บ้านและภาพรวมรายจังหวัด ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มาตรฐานและนำมาใช้ประโยชน์ในแง่การติดตามและพัฒนานโยบายการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมในระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อให้ทุกฝ่ายทำงานบนข้อเท็จจริงร่วมกัน
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
สถาบันที่มาร่วมดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมมีจำนวน 14 สถาบัน ดำเนินการรวม 18 โครงการ มีความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 คิดเป็นเงิน 28.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.70 จากงบประมาณที่ได้รับสนับสนุน 40.203 ล้านบาท
หลังจากได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมไปสู่การปฏิบัติ ประมาณ 1 ปีเศษ มูลนิธิพัฒนาไทได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ขึ้น ระหว่างวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2543 และที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมของมูลนิธิพัฒนาไทปรากฏชัดเจนว่า ได้ค้นพบศักยภาพทั้งทางด้านบุคคลและองค์กรชุมชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมให้กับประชาชนในระดับพื้นที่ และพบว่ามีหน่วยงานต่าง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะของหน่วยงานนั้น ๆ จึงเห็นสมควรที่จะให้มีการบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับการกำหนดนโยบายและการวางแผนในช่วงแผนฯ 9 ซึ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคม
2. จากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ทั่วประเทศพบว่า มีข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปร่วมคิด ร่วมทำ กับองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นจำนวนมากพอสมควร ซึ่งหากมีการพัฒนาแนวทางและวิธีปฏิบัติให้เอื้อต่อการที่จะเกลี่ยข้าราชการไปร่วมดำเนินการพัฒนาประเทศร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ อย่างเหมาะสมแล้ว คาดว่าการใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อการพัฒนาประเทศจะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าระบบในปัจจุบัน
3. เรื่อง การประเมินโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเห็นชอบรายงานผลการประเมินโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
โครงการนำร่องดังกล่าว มีกรอบแนวคิดหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ปรัชญาในการส่งเสริมให้คนเป็นคนดี
2. กลุ่มเป้าหมายให้เริ่มต้นที่เด็กและเยาวชน
3. การพัฒนาเน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคม
4. การกำหนดเครื่องชี้วัดที่เป็นรูปธรรม
ผลของการประเมินโครงการนำร่องดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. ด้านคุณสมบัติของเยาวชน
เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในทุกเป้าหมาย โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ คุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ได้แก่การมีวินัยในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของสถานศึกษาและกลุ่ม รู้จักเข้าแถวรับบริการและปฏิบัติตามกฎจราจร การหลีกเลี่ยงและไม่พัวพันสิ่งเสพติด การมีจิตสำนึกอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประหยัดอดออม และนิยมไทย
2. ด้านการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการโครงการ ประสบความสำเร็จในระดับปานกลางค่อนข้างมากแม้ว่าในการดำเนินงานจะมีนโยบายและองค์กรบริหารงานที่เหมาะสมและชัดเจนทุกฝ่าย ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติงานและมีกิจกรรมหลากหลายซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ปัญหาต่าง ๆ ยังคงเกิดขึ้นเนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ความไม่เพียงพอของผู้ปฏิบัติงาน ความไม่ต่อเนื่องในการติดตามประเมินผล และขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างจริงจัง
3. ด้านการมีส่วนร่วมของโครงการ
ผู้จัด ผู้รับผิดชอบ และครูอาจารย์มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในระดับปานกลางค่อนข้างมาก สำหรับผู้ปกครอง ประชาชน และพระ เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ สาเหตุเนื่องมาจากสถานศึกษาขาดงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานและขาดรูปแบบกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
4. ด้านผลกระทบของโครงการที่มีต่อชุมชน
โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ เป็นโครงการที่ดีให้ผลคุ้มค่าในการลงทุน เพราะจะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง และมีสายใยผูกพันกับสมาชิกในครัวเรือนในระดับมากจนถึงมากที่สุด รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนร่วมมือกับชุมชนในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมส่วนรวม นอกจากนี้ยังทำให้ผู้นำชุมชนตระหนักถึงปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5. ด้านการส่งเสริมให้มีโครงการต่อไป
ผู้จัด ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ประชาชน พระ เด็ก และเยาวชน ต้องการให้มีโครงการต่อไปถึงร้อยละ 96.22 เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักเห็นความสำคัญและสร้างสรรค์ทำสิ่งที่ดีงาม อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป
6. ข้อเสนอแนะ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาโครงการในแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านบริหารจัดการ
- ควรจัดงบประมาณและบุคลากรสนับสนุนการดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโครงการให้มากยิ่งขึ้น
- ควรมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง
ด้านคุณสมบัติเยาวชน
- ส่งเสริมกิจกรรมให้เยาวชนนิยมความเป็นไทยที่เป็นรูปธรรม และรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดกับนักเรียน นักศึกษาทุกระดับพร้อมกัน
ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ
- ให้วัดเป็นศูนย์กลางเริ่มต้นโครงการและขยายผลต่อไปยังวัดอื่น ๆ
ด้านผลกระทบของโครงการ
- เน้นการจัดกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยให้เยาวชนเข้ามีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนให้มากกว่านี้
4. เรื่อง ผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในประเด็นตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 2
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบรายงานผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในประเด็นตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนการดำเนินงานของภาครัฐที่สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งขุมชน การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน การปฏิรูปสังคมไทย แล้วมีมติ ดังนี้
1. เร่งรัดให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ชุมชนมีศักยภาพและขีดความสามารถที่จะบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมเพียงพอที่จะช่วยเป็นภาคีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณที่จะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. ขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 ในปีงบประมาณ 2544 และในระยะต่อไป
2. ให้แต่ละหน่วยงานจัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับทัศนคติการทำงานของข้าราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานภายใต้ระบบการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ที่ต้องปฏิบัติตามความใกล้ชิดกับชุมชน เพื่อให้ข้าราชการในพื้นที่เป็นส่วนเสริมในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งสามารถแนะนำให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่ชุมชนได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
3. สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานดำเนินการติดตามประเมินผลงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
ส่วนข้อเสนอแนะของฝ่ายเลขานุการ มีดังนี้
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนที่ดำเนินการในพื้นที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป สามารถสร้างความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมให้แก่คนในชุมชนได้พอสมควร แต่การดำเนินการยังไม่สามารถกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวและมีความคิดริเริ่มในการพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างเต็มที่ เพราะชุมชนยังคงมีทัศนคติในการพึ่งภาครัฐและผู้นำชุมชนยังขาดความรู้ความสามารถที่จะช่วยผลักดันให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้
2. การปรับทัศนคติในการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังเป็นไปได้ช้า ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อชุมชน
3. การประเมินผลการดำเนินงานยังไม่ชัดเจน ที่ผ่านมาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังขาดการประเมินผลในภาพรวมที่เป็นรูปธรรม หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินโครงการในพื้นที่โดยขาดการประเมินผลในระดับกระทรวง ที่จะช่วยให้รู้ถึงสถานการณ์และการปรับปรุงเพื่อให้แนวทางดำเนินการที่เป็นอยู่เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
5. เรื่อง ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยมอบให้ส่วนราชการภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และคณะอนุกรรมการทุกชุดที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและประสานแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ยึดหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" เน้นการพึ่งตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลกเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย โดยผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่าย
สำหรับวัตถุประสงค์หลัก คือ ปรับทิศทางการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่การพัฒนาที่สมดุล โดยมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของคนจนในการแก้ไขปัญหาความยากจนบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง แก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง และปรับปรุงระบบกลไกต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในเมืองและในชนบทแบบองค์รวม ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้ 2 ระยะ คือ ระยะสั้น - ระยะปานกลาง จะลดภาวะความยากจนให้บรรลุผลภายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) และ ระยะยาว มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างคนจนและกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม โดยการปฏิรูปแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างและปรับปรุงระบบกลไกต่าง ๆ ที่เป็นปัญหากับคนจน
ส่วนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน มีดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ระยะสั้น - ระยะปานกลาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนจำนวน 9.9 ล้านคน ให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมภายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยจัดทำแผนปฏิบัติการโดยใช้หลักการประสานพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 6 แนวทาง คือ
1) การพัฒนาศักยภาพของคนจน ในการประกอบอาชีพ โดยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาความรู้และทักษะเพื่อการประกอบอาชีพ
2) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองของชุมชน
3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม
4) การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นการลงทุนด้านการพัฒนาคน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ให้สมดุลกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
5) การส่งเสริมด้านบริการพื้นฐานและสวัสดิการสังคมสำหรับคนยากจน
6) การปรับปรุงระบบและกลไกของภาครัฐ ทั้งในด้านการปรับทัศนคติในการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาระบบข้อมูล และการปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณ
2. ยุทธศาสตร์ระยะยาว เพื่อปฏิรูปการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วยแนวทางหลัก 4 แนวทางหลัก
1) การปฏิรูปกลไกทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนหรือเป็นปัญหากับคนจน โดยใช้นโยบายด้านภาษีภายใต้แนวคิดผู้มีรายได้มากเสียภาษีมาก ผู้มีรายได้น้อยเสียภาษีน้อย
2) การปฏิรูประบบบริการพื้นฐานทางสังคมและสวัสดิการสังคม เช่น ระบบบริการสาธารณสุขและการศึกษา เป็นต้น
3) การปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นหลักประกันของการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร โดยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4) การปฏิรูปกฎหมายเพื่อคนจน โดยการออกกฎหมายที่ส่งเสริมการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และคุ้มครองสิทธิของคนจน
ส่วนการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติจะใช้แนวทางในการจัดตั้งกลไกหรือองค์กรประสานงานขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ประสานความร่วมมือระหว่างพหุภาคีและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.)เป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และแปลงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการประเมินผลโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค (โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ) ซึ่งพบว่าช่วยให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในทุกเป้าหมาย ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ก.ค. 2543--
-สส-
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุม สรุปได้ดังนี้
1. เรื่อง การปรับปรุงกรรมการในคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบการปรับปรุงกรรมการในคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 70/2543 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2543 โดยแต่งตั้ง รองนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) เป็นรองประธานกรรมการ แทน พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ และศาตราจารย์ชวนชม สกนธวัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นกรรมกรเพิ่มเติม และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวิรัช ดำรงผล) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการแทน นายพิเชต สุนทรพิพิธ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543
2. เรื่อง ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นจำนวนทั้งสิ้น 40,203,000 บาท ประกอบด้วยแผนงานที่มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน 3 แผนงานหลัก คือ
1. แผนงานสร้างชุมชนให้มีเศรษฐกิจพอเพียงและเข้มแข็ง
มุ่งตรวจสอบให้แน่ชัดว่าศักยภาพของสังคมไทยมีอยู่ที่ใดเพื่อที่จะนำเอาทรัพยากรและทุนทางสังคมเหล่านั้นมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดศักยภาพชุมชนและประชาคมแข้มแข็ง และจัดทำเป็นแผนที่ศักยภาพภาพรายจังหวัด
2. แผนงานสนับสนุนการพัฒนานโยบายและปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม มุ่งสนับสนุนให้มีการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับสายงานกระทรวงหลักและวิชาชีพหลัก รวมทั้งการค้นหาและพัฒนากลุ่มแกนประสานงานระดับภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเคลื่อนไหวและพัฒนาประชาคมจังหวัดที่ยังไม่เข้มแข็ง
3. แผนงานบริหาร ติดตาม ประเมินผลและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งสนับสนุนการให้มีข้อมูลที่จำเป็นทั้งในระดับหมู่บ้านและภาพรวมรายจังหวัด ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มาตรฐานและนำมาใช้ประโยชน์ในแง่การติดตามและพัฒนานโยบายการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมในระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อให้ทุกฝ่ายทำงานบนข้อเท็จจริงร่วมกัน
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
สถาบันที่มาร่วมดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมมีจำนวน 14 สถาบัน ดำเนินการรวม 18 โครงการ มีความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 คิดเป็นเงิน 28.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.70 จากงบประมาณที่ได้รับสนับสนุน 40.203 ล้านบาท
หลังจากได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมไปสู่การปฏิบัติ ประมาณ 1 ปีเศษ มูลนิธิพัฒนาไทได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ขึ้น ระหว่างวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2543 และที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมของมูลนิธิพัฒนาไทปรากฏชัดเจนว่า ได้ค้นพบศักยภาพทั้งทางด้านบุคคลและองค์กรชุมชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมให้กับประชาชนในระดับพื้นที่ และพบว่ามีหน่วยงานต่าง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะของหน่วยงานนั้น ๆ จึงเห็นสมควรที่จะให้มีการบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับการกำหนดนโยบายและการวางแผนในช่วงแผนฯ 9 ซึ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคม
2. จากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ทั่วประเทศพบว่า มีข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปร่วมคิด ร่วมทำ กับองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นจำนวนมากพอสมควร ซึ่งหากมีการพัฒนาแนวทางและวิธีปฏิบัติให้เอื้อต่อการที่จะเกลี่ยข้าราชการไปร่วมดำเนินการพัฒนาประเทศร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ อย่างเหมาะสมแล้ว คาดว่าการใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อการพัฒนาประเทศจะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าระบบในปัจจุบัน
3. เรื่อง การประเมินโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเห็นชอบรายงานผลการประเมินโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
โครงการนำร่องดังกล่าว มีกรอบแนวคิดหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ปรัชญาในการส่งเสริมให้คนเป็นคนดี
2. กลุ่มเป้าหมายให้เริ่มต้นที่เด็กและเยาวชน
3. การพัฒนาเน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคม
4. การกำหนดเครื่องชี้วัดที่เป็นรูปธรรม
ผลของการประเมินโครงการนำร่องดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. ด้านคุณสมบัติของเยาวชน
เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในทุกเป้าหมาย โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ คุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ได้แก่การมีวินัยในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของสถานศึกษาและกลุ่ม รู้จักเข้าแถวรับบริการและปฏิบัติตามกฎจราจร การหลีกเลี่ยงและไม่พัวพันสิ่งเสพติด การมีจิตสำนึกอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประหยัดอดออม และนิยมไทย
2. ด้านการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการโครงการ ประสบความสำเร็จในระดับปานกลางค่อนข้างมากแม้ว่าในการดำเนินงานจะมีนโยบายและองค์กรบริหารงานที่เหมาะสมและชัดเจนทุกฝ่าย ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติงานและมีกิจกรรมหลากหลายซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ปัญหาต่าง ๆ ยังคงเกิดขึ้นเนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ความไม่เพียงพอของผู้ปฏิบัติงาน ความไม่ต่อเนื่องในการติดตามประเมินผล และขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างจริงจัง
3. ด้านการมีส่วนร่วมของโครงการ
ผู้จัด ผู้รับผิดชอบ และครูอาจารย์มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในระดับปานกลางค่อนข้างมาก สำหรับผู้ปกครอง ประชาชน และพระ เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ สาเหตุเนื่องมาจากสถานศึกษาขาดงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานและขาดรูปแบบกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
4. ด้านผลกระทบของโครงการที่มีต่อชุมชน
โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ เป็นโครงการที่ดีให้ผลคุ้มค่าในการลงทุน เพราะจะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง และมีสายใยผูกพันกับสมาชิกในครัวเรือนในระดับมากจนถึงมากที่สุด รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนร่วมมือกับชุมชนในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมส่วนรวม นอกจากนี้ยังทำให้ผู้นำชุมชนตระหนักถึงปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5. ด้านการส่งเสริมให้มีโครงการต่อไป
ผู้จัด ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ประชาชน พระ เด็ก และเยาวชน ต้องการให้มีโครงการต่อไปถึงร้อยละ 96.22 เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักเห็นความสำคัญและสร้างสรรค์ทำสิ่งที่ดีงาม อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป
6. ข้อเสนอแนะ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาโครงการในแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านบริหารจัดการ
- ควรจัดงบประมาณและบุคลากรสนับสนุนการดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโครงการให้มากยิ่งขึ้น
- ควรมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง
ด้านคุณสมบัติเยาวชน
- ส่งเสริมกิจกรรมให้เยาวชนนิยมความเป็นไทยที่เป็นรูปธรรม และรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดกับนักเรียน นักศึกษาทุกระดับพร้อมกัน
ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ
- ให้วัดเป็นศูนย์กลางเริ่มต้นโครงการและขยายผลต่อไปยังวัดอื่น ๆ
ด้านผลกระทบของโครงการ
- เน้นการจัดกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยให้เยาวชนเข้ามีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนให้มากกว่านี้
4. เรื่อง ผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในประเด็นตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 2
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบรายงานผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในประเด็นตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนการดำเนินงานของภาครัฐที่สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งขุมชน การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน การปฏิรูปสังคมไทย แล้วมีมติ ดังนี้
1. เร่งรัดให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ชุมชนมีศักยภาพและขีดความสามารถที่จะบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมเพียงพอที่จะช่วยเป็นภาคีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณที่จะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. ขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 ในปีงบประมาณ 2544 และในระยะต่อไป
2. ให้แต่ละหน่วยงานจัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับทัศนคติการทำงานของข้าราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานภายใต้ระบบการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ที่ต้องปฏิบัติตามความใกล้ชิดกับชุมชน เพื่อให้ข้าราชการในพื้นที่เป็นส่วนเสริมในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งสามารถแนะนำให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่ชุมชนได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
3. สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานดำเนินการติดตามประเมินผลงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
ส่วนข้อเสนอแนะของฝ่ายเลขานุการ มีดังนี้
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนที่ดำเนินการในพื้นที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป สามารถสร้างความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมให้แก่คนในชุมชนได้พอสมควร แต่การดำเนินการยังไม่สามารถกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวและมีความคิดริเริ่มในการพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างเต็มที่ เพราะชุมชนยังคงมีทัศนคติในการพึ่งภาครัฐและผู้นำชุมชนยังขาดความรู้ความสามารถที่จะช่วยผลักดันให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้
2. การปรับทัศนคติในการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังเป็นไปได้ช้า ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อชุมชน
3. การประเมินผลการดำเนินงานยังไม่ชัดเจน ที่ผ่านมาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังขาดการประเมินผลในภาพรวมที่เป็นรูปธรรม หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินโครงการในพื้นที่โดยขาดการประเมินผลในระดับกระทรวง ที่จะช่วยให้รู้ถึงสถานการณ์และการปรับปรุงเพื่อให้แนวทางดำเนินการที่เป็นอยู่เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
5. เรื่อง ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยมอบให้ส่วนราชการภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และคณะอนุกรรมการทุกชุดที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและประสานแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ยึดหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" เน้นการพึ่งตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลกเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย โดยผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่าย
สำหรับวัตถุประสงค์หลัก คือ ปรับทิศทางการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่การพัฒนาที่สมดุล โดยมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของคนจนในการแก้ไขปัญหาความยากจนบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง แก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง และปรับปรุงระบบกลไกต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในเมืองและในชนบทแบบองค์รวม ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้ 2 ระยะ คือ ระยะสั้น - ระยะปานกลาง จะลดภาวะความยากจนให้บรรลุผลภายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) และ ระยะยาว มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างคนจนและกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม โดยการปฏิรูปแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างและปรับปรุงระบบกลไกต่าง ๆ ที่เป็นปัญหากับคนจน
ส่วนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน มีดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ระยะสั้น - ระยะปานกลาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนจำนวน 9.9 ล้านคน ให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมภายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยจัดทำแผนปฏิบัติการโดยใช้หลักการประสานพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 6 แนวทาง คือ
1) การพัฒนาศักยภาพของคนจน ในการประกอบอาชีพ โดยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาความรู้และทักษะเพื่อการประกอบอาชีพ
2) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองของชุมชน
3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม
4) การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นการลงทุนด้านการพัฒนาคน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ให้สมดุลกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
5) การส่งเสริมด้านบริการพื้นฐานและสวัสดิการสังคมสำหรับคนยากจน
6) การปรับปรุงระบบและกลไกของภาครัฐ ทั้งในด้านการปรับทัศนคติในการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาระบบข้อมูล และการปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณ
2. ยุทธศาสตร์ระยะยาว เพื่อปฏิรูปการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วยแนวทางหลัก 4 แนวทางหลัก
1) การปฏิรูปกลไกทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนหรือเป็นปัญหากับคนจน โดยใช้นโยบายด้านภาษีภายใต้แนวคิดผู้มีรายได้มากเสียภาษีมาก ผู้มีรายได้น้อยเสียภาษีน้อย
2) การปฏิรูประบบบริการพื้นฐานทางสังคมและสวัสดิการสังคม เช่น ระบบบริการสาธารณสุขและการศึกษา เป็นต้น
3) การปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นหลักประกันของการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร โดยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4) การปฏิรูปกฎหมายเพื่อคนจน โดยการออกกฎหมายที่ส่งเสริมการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และคุ้มครองสิทธิของคนจน
ส่วนการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติจะใช้แนวทางในการจัดตั้งกลไกหรือองค์กรประสานงานขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ประสานความร่วมมือระหว่างพหุภาคีและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.)เป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และแปลงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการประเมินผลโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค (โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ) ซึ่งพบว่าช่วยให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในทุกเป้าหมาย ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ก.ค. 2543--
-สส-