แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการโครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอ และให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. อนุมัติหลักการให้ใช้ผลการศึกษาโครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นกรอบแผน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. ให้สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในลุ่มน้ำ และจัดทำแผนโดยละเอียดเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานว่า
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาการเกษตร การพัฒนาชนบท และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กำหนดให้มี "โครงการ ธ ประสงค์ใด" ขึ้นเพื่อดำเนินงานดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยได้แต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินโครงการ
2. โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการ ธ ประสงค์ใด ซึ่งดำเนินการโดยคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องน้ำ โดยการรวบรวมผลการศึกษาและแผนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไว้แล้ว และมีแผนที่จะดำเนินต่อไปในด้านต่าง ๆ เช่นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการน้ำผิวดิน การบริหารจัดการน้ำใต้ดิน การบริหารจัดการน้ำท่วม และการบริหารจัดการน้ำเสีย นำมาสรุปและจัดกรอบแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมต่อไป
3. โดยที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาขาเป็นลุ่มน้ำใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 157,925ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ประเทศ การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ และมีการดำเนินการพัฒนาตามแผนเริ่มจากการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา และก่อสร้างระบบชลประทานในโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7.5 ล้านไร่ จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางมีความสามารถในการรองรับเก็บกักน้ำได้มากกว่า 24,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ชลประทานประมาณ 11 ล้านไร่ โดยปริมาณน้ำที่เก็บกักได้และสภาพการใช้น้ำในปัจจุบันเริ่มมีสภาพไม่สมดุล กล่าวคือ เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาคุณภาพน้ำในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นทุกปี เริ่มมีปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินทำกินมากขึ้น เป็นผลให้มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการตื้นเขินของทางน้ำ
4. ปัจจุบันได้มีการศึกษาแผนหลักและศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากและหลายโครงการ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นหลัก ซึ่งในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวยังขาดการประสานแผนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้หลายโครงการมีลักษณะซ้ำซ้อนและไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ในทุกประเด็น และไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการได้ชัดเจน รวมทั้งรายงานการศึกษาบางโครงการมีผลการศึกษาสรุปว่ามีความเหมาะสมดำเนินโครงการต่อไป แต่ยังไม่มีการนำไปสู่การปฏิบัติ
5. ผลการศึกษาโครงการจัดทำกรอบฯ ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปภาพปัญหาหลัก 3 ประการคือ การขาดแคลนน้ำ การบรรเทาอุทกภัย และการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ รวมทั้งได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำเป็นแผนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ทั้งมาตรการที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างและมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างบนพื้นฐานของการบริหารจัดการแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดการประสานแผนระหว่างหน่วยงาน ซึ่งรูปแบบและแนวทางจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำอื่นๆ ของประเทศต่อไป
6. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2 /2544 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม2544 และเห็นว่า การศึกษาโครงการดังกล่าวเป็นรูปแบบและแนวทางที่ดีที่จะทำให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นเอกภาพในลักษณะผสมผสานเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกันแบบบูรณาการ อันจะนำไปสู่ระบบการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ แต่จะต้องมีขั้นตอนในการจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบผลการศึกษาโครงการและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติในหลักการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
1. อนุมัติหลักการให้ใช้ผลการศึกษาโครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นกรอบแผน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. ให้สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในลุ่มน้ำ และจัดทำแผนโดยละเอียดเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานว่า
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาการเกษตร การพัฒนาชนบท และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กำหนดให้มี "โครงการ ธ ประสงค์ใด" ขึ้นเพื่อดำเนินงานดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยได้แต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินโครงการ
2. โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการ ธ ประสงค์ใด ซึ่งดำเนินการโดยคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องน้ำ โดยการรวบรวมผลการศึกษาและแผนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไว้แล้ว และมีแผนที่จะดำเนินต่อไปในด้านต่าง ๆ เช่นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการน้ำผิวดิน การบริหารจัดการน้ำใต้ดิน การบริหารจัดการน้ำท่วม และการบริหารจัดการน้ำเสีย นำมาสรุปและจัดกรอบแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมต่อไป
3. โดยที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาขาเป็นลุ่มน้ำใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 157,925ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ประเทศ การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ และมีการดำเนินการพัฒนาตามแผนเริ่มจากการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา และก่อสร้างระบบชลประทานในโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7.5 ล้านไร่ จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางมีความสามารถในการรองรับเก็บกักน้ำได้มากกว่า 24,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ชลประทานประมาณ 11 ล้านไร่ โดยปริมาณน้ำที่เก็บกักได้และสภาพการใช้น้ำในปัจจุบันเริ่มมีสภาพไม่สมดุล กล่าวคือ เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาคุณภาพน้ำในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นทุกปี เริ่มมีปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินทำกินมากขึ้น เป็นผลให้มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการตื้นเขินของทางน้ำ
4. ปัจจุบันได้มีการศึกษาแผนหลักและศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากและหลายโครงการ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นหลัก ซึ่งในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวยังขาดการประสานแผนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้หลายโครงการมีลักษณะซ้ำซ้อนและไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ในทุกประเด็น และไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการได้ชัดเจน รวมทั้งรายงานการศึกษาบางโครงการมีผลการศึกษาสรุปว่ามีความเหมาะสมดำเนินโครงการต่อไป แต่ยังไม่มีการนำไปสู่การปฏิบัติ
5. ผลการศึกษาโครงการจัดทำกรอบฯ ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปภาพปัญหาหลัก 3 ประการคือ การขาดแคลนน้ำ การบรรเทาอุทกภัย และการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ รวมทั้งได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำเป็นแผนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ทั้งมาตรการที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างและมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างบนพื้นฐานของการบริหารจัดการแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดการประสานแผนระหว่างหน่วยงาน ซึ่งรูปแบบและแนวทางจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำอื่นๆ ของประเทศต่อไป
6. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2 /2544 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม2544 และเห็นว่า การศึกษาโครงการดังกล่าวเป็นรูปแบบและแนวทางที่ดีที่จะทำให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นเอกภาพในลักษณะผสมผสานเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกันแบบบูรณาการ อันจะนำไปสู่ระบบการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ แต่จะต้องมีขั้นตอนในการจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบผลการศึกษาโครงการและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติในหลักการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-