คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ รายงานสรุปการทำประชาพิจารณ์ประจำปี 2543 และให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. สรุปการจัดทำประชาพิจารณ์พร้อมข้อสังเกต
1.1 ส่วนราชการได้ดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ในปี พ.ศ. 2543 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จำนวน 6 โครงการ
1.2 จัดทำประชาพิจารณ์แต่ไม่ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จำนวน 15 โครงการ การจัดทำประชาพิจารณ์ดังกล่าว เป็นเพียงการเรียกชื่อเท่านั้น แต่ขั้นตอนการปฏิบัติและการแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ แต่ประการใด
1.3 ประเภทของโครงการหรือกิจกรรมที่จัดทำประชาพิจารณ์มีหลายลักษณะและไม่ชัดเจน
1.4 การมีส่วนร่วมของประชาชนมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับขอบเขต ขั้นตอน และวิธีการในการเข้าไปมีส่วนร่วม
1.5 การแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์โครงการต่าง ๆ ประสบปัญหาการคัดค้านกรรมการในเรื่องของความเป็นกลางหรือมีส่วนได้เสียกับโครงการ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะประชาพิจารณ์
1.6 ไม่ยอมรับหลักการของประชาพิจารณ์ว่าเป็นวิธีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
1.7 การทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีข้อจำกัดในเรื่องฐานะของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เนื่องจากส่วนราชการที่มีพระราชบัญญัติกำหนดให้ดำเนินการในเรื่องใดสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดทำโครงการที่เข้าข่ายต้องทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยไม่ต้องทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด นอกจากนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นนโยบายของฝ่ายบริหารใช้บังคับกับส่วนราชการ ไม่มีผลใช้บังคับกับภาคเอกชน จึงไม่สามารถสั่งการให้ภาคเอกชนจัดทำประชาพิจารณ์โครงการที่เข้าข่ายต้องทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ดังกล่าว
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 การทำประชาพิจารณ์ ควรดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 59 ที่ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ"โดยการทำประชาพิจารณ์ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย 2 ประการ คือ
ประการแรก สิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินการหรือกิจกรรมใด
ประการที่สอง สิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว
2.2 การทำประชาพิจารณ์ควรเปลี่ยนเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และใช้แทนการทำประชาพิจารณ์ในทุกกรณี รวมทั้งชื่อร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 59 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ควรใช้คำว่า "ร่างพระราชบัญญัติการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ...."
2.3 ร่างพระราชบัญญัติการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. .... ควรเตรียมการเพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและกฎ กติกา โดยให้ส่วนราชการ นักวิชาการ และองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา เพื่อให้เป็นที่รับรู้และยอมรับในสังคมร่วมกัน
2.4 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องมีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถดำเนินการโดยมุ่งถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ยุ่งยาก หรือขั้นตอนมาก
2.5 การตัดสินใจดำเนินการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้เป็นอำนาจของผู้รับผิดชอบส่วนราชการนั้น ๆ โดยอาจแต่งตั้งกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดรับผิดชอบดำเนินการ
2.6 ประเภทโครงการหรือกิจกรรมให้ใช้กรอบที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ คือ "โครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น" และให้เป็นอำนาจของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น
2.7 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องคำนึงว่าเป็นกระบวนการที่ใช้กับประชาชนต้องมุ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนมากกว่าความสะดวกของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ การใช้ทัศนคติด้านบวกเกี่ยวกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวสนับสนุนประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมรับฟังข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในโครงการหรือกิจกรรมที่จัดขึ้น
2.8 การจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการใช้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ
2.9 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ โดยประชาชนที่เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นมีความรู้เกี่ยวกับโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการ ขณะเดียวกันหน่วยงานที่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น ทั้งจากนักวิชาการและประชาชนที่มีความเห็นต่อโครงการและกิจกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานในการนำเอาข้อห่วงใยหรือผลที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการประกอบการตัดสินใจดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-
1. สรุปการจัดทำประชาพิจารณ์พร้อมข้อสังเกต
1.1 ส่วนราชการได้ดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ในปี พ.ศ. 2543 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จำนวน 6 โครงการ
1.2 จัดทำประชาพิจารณ์แต่ไม่ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ จำนวน 15 โครงการ การจัดทำประชาพิจารณ์ดังกล่าว เป็นเพียงการเรียกชื่อเท่านั้น แต่ขั้นตอนการปฏิบัติและการแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ แต่ประการใด
1.3 ประเภทของโครงการหรือกิจกรรมที่จัดทำประชาพิจารณ์มีหลายลักษณะและไม่ชัดเจน
1.4 การมีส่วนร่วมของประชาชนมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับขอบเขต ขั้นตอน และวิธีการในการเข้าไปมีส่วนร่วม
1.5 การแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์โครงการต่าง ๆ ประสบปัญหาการคัดค้านกรรมการในเรื่องของความเป็นกลางหรือมีส่วนได้เสียกับโครงการ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะประชาพิจารณ์
1.6 ไม่ยอมรับหลักการของประชาพิจารณ์ว่าเป็นวิธีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
1.7 การทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีข้อจำกัดในเรื่องฐานะของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เนื่องจากส่วนราชการที่มีพระราชบัญญัติกำหนดให้ดำเนินการในเรื่องใดสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดทำโครงการที่เข้าข่ายต้องทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยไม่ต้องทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด นอกจากนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นนโยบายของฝ่ายบริหารใช้บังคับกับส่วนราชการ ไม่มีผลใช้บังคับกับภาคเอกชน จึงไม่สามารถสั่งการให้ภาคเอกชนจัดทำประชาพิจารณ์โครงการที่เข้าข่ายต้องทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ดังกล่าว
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 การทำประชาพิจารณ์ ควรดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 59 ที่ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ"โดยการทำประชาพิจารณ์ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย 2 ประการ คือ
ประการแรก สิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินการหรือกิจกรรมใด
ประการที่สอง สิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว
2.2 การทำประชาพิจารณ์ควรเปลี่ยนเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และใช้แทนการทำประชาพิจารณ์ในทุกกรณี รวมทั้งชื่อร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 59 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ควรใช้คำว่า "ร่างพระราชบัญญัติการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ...."
2.3 ร่างพระราชบัญญัติการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. .... ควรเตรียมการเพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและกฎ กติกา โดยให้ส่วนราชการ นักวิชาการ และองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา เพื่อให้เป็นที่รับรู้และยอมรับในสังคมร่วมกัน
2.4 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องมีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถดำเนินการโดยมุ่งถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ยุ่งยาก หรือขั้นตอนมาก
2.5 การตัดสินใจดำเนินการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้เป็นอำนาจของผู้รับผิดชอบส่วนราชการนั้น ๆ โดยอาจแต่งตั้งกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดรับผิดชอบดำเนินการ
2.6 ประเภทโครงการหรือกิจกรรมให้ใช้กรอบที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ คือ "โครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น" และให้เป็นอำนาจของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น
2.7 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องคำนึงว่าเป็นกระบวนการที่ใช้กับประชาชนต้องมุ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนมากกว่าความสะดวกของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ การใช้ทัศนคติด้านบวกเกี่ยวกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวสนับสนุนประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมรับฟังข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในโครงการหรือกิจกรรมที่จัดขึ้น
2.8 การจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการใช้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ
2.9 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ โดยประชาชนที่เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นมีความรู้เกี่ยวกับโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการ ขณะเดียวกันหน่วยงานที่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น ทั้งจากนักวิชาการและประชาชนที่มีความเห็นต่อโครงการและกิจกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานในการนำเอาข้อห่วงใยหรือผลที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการประกอบการตัดสินใจดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-